ณัฐ ยนตรรักษ์ (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2497) เป็นนักเปียโนและนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงของไทย มีผลงานการเล่นเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เป็นผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาคีตศิลป์ จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2549

ณัฐ ยนตรรักษ์
ชื่อเกิดณัฐ ยนตรรักษ์
เกิด6 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงดนตรีคลาสสิก
อาชีพ
  • นักเปียโน
  • นักประพันธ์เพลง
เครื่องดนตรีเปียโน
ช่วงปีพ.ศ. 2531–ปัจจุบัน
คู่สมรสวงเดือน อินทราวุธ
เว็บไซต์http://www.nat-studio.com

ณัฐ ยนตรรักษ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เคยร่วมคณะนักร้องประสานเสียง BCC Boys' Choir จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [1] เป็นนรุ่นที่ 15 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( CU15 ) และไปศึกษาต่อด้านดนตรี ที่ Goldsmiths' College ประเทศอังกฤษ และได้รับทุนศึกษาต่อด้านเปียโนที่มหาวิทยาลัยรีดดิง [2] สมรสกับวงเดือน อินทราวุธ (บุตรีในเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ) อดีตนักแสดงหญิง มีบุตร 3 คนมีศักดิ์เป็นลุงของมินนี่ (นักร้อง)

ณัฐ มีผลงานแสดงดนตรีคลาสสิก และประพันธ์เพลงคลาสสิกที่นำเสนอความเป็นไทยไว้หลายเพลง รวมทั้งเพลง "สยามโซนาต้า" ที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2542 [3] ได้รับการยกย่องเป็นนักเปียโนฝีมือเลิศ (Piano Virtuoso) เป็นนักเปียโนชาวไทยคนแรกที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น Steinway Artist [4] และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินร่วมสมัย รางวัลศิลปาธร สาขาคีตศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2549

ณัฐ ยนตรรักษ์ และภรรยา เป็นคริสเตียน [5] ปัจจุบันเปิดโรงเรียนสอนเปียโน ชื่อ ณัฐ สตูดิโอ ( Nat Studio )

ผลงานเปียโนโซนาตาของณัฐ ชื่อ "Glory to Our Great Kings" ซึ่งแสดงเป็นครั้งแรกในคอนเสิร์ตเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในปี พ.ศ. 2537 และได้รับการบรรเลงในงานประชุมสหประชาชาติที่นิวยอร์กในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 [2][6]

อัลบั้มเพลง

อัลบั้ม : คนเดียวในดวงใจ (2526)

1. คนเดียวในดวงใจ

2. ฝันถึงเธอ

3. ทะเลชีวิต

4. ตาแสนกลม

5. ในฝัน

6. ดอกไม้

7. จันทร์เอ๋ย

8. ยวนย่าเหล่

9. ใครจะร้องไห้เพื่อฉัน

10. บัวขาว

ผลงานเพลงบรรเลง

แก้
  • อัลบั้ม พ-วงเดือน (2529)
  • อัลบั้ม เปียโนกับปลายนิ้ว (2531)
  • อัลบั้ม เงียบ ๆ คนเดียว (2535)
  • อัลบั้ม พักตรงนี้ (2535)

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติ CU Chorus
  2. 2.0 2.1 ประวัติศิลปิน จาก naxos.com[ลิงก์เสีย]
  3. รางวัลศิลปาธร พ.ศ. 2549[ลิงก์เสีย]
  4. “ถวายชัยคีตมหาราชา” ( Glory to Our Great Kings ) แสดงเดี่ยวเปียโน โดย ณัฐ ยนตรรักษ์
  5. "ณัฐ ยนตรรักษ์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-22. สืบค้นเมื่อ 2007-06-22.
  6. Glory To Our Great kings: album reviews

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้