ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมการรักษาดินแดน[1]
ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ | |
---|---|
เจ้ากรมการรักษาดินแดน | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2523 | |
ก่อนหน้า | พลโท เอื้อม จิระพงศ์ |
ถัดไป | พลโท เทียนชัย สิริสัมพันธ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ประสมศรี มหารักขกะ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (86 ปี) |
คู่สมรส | สุรางค์ สวัสดี |
บุตร | 4 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2524 |
ยศ | พลโท |
บังคับบัญชา | กรมการรักษาดินแดน |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเซียบูรพา สงครามเวียดนาม |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ เกิดวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ณ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของขุนชำนาญสัตว์รักษ์ (ช่วง มหารักขกะ) และถนอมศรี มหารักขกะ (สกุลเดิม คราประยูร)[2]
พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ สมรสกับสุรางค์ มหารักขกะ (สกุลเดิม สวัสดี) มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ
- พ.อ.พิเศษ นเรนทร์ฤทธิ์ มหารักขกะ
- พ.ต.อ. นรินทร์ฤทธิ์ มหารักขกะ
- วรรษมน มหารักขกะ
- พ.อ.พิเศษ นิรันดร์ฤทธิ์ มหารักขกะ
การศึกษา
แก้ก่อนรับราชการ
แก้พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ในปี พ.ศ. 2481 และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2483
หลังรับราชการ
แก้พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ จบการศึกษาดังนี้[2]
- พ.ศ. 2493 – โรงเรียนทหารราบ ชั้นผู้บังคับการกองร้อย
- พ.ศ. 2496 – โรงเรียนทหารราบกองทัพบกสหรัฐอเมริกา หลักสูตรนายทหารราบเบื้องสูง, ค่ายเบ็นนิ่ง รัฐจอร์เจีย
- พ.ศ. 2508 – โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลัดสูตรเร่งรัด ชุดที่ 4
- พ.ศ. 2511 – วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 8
- พ.ศ. 2518 – วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 17
การทำงาน
แก้ราชการสงคราม
แก้สงครามเวียดนาม
แก้28 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ (ยศในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 กองพลทหารอาสาสมัคร เข้าเหยียบแผ่นดินเวียดนามใต้ครั้งแรก และมีวีรกรรมการรบในช่วงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2512 พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปอำนวยการรบ สั่งการให้ปืนใหญ่ทำการยิง และสั่งให้เครื่องบินโจมตีทางอากาศ ต่อฝ่ายข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ซึ่งพยายามที่จะโจมตีทหารราบ 2 กองร้อย ที่อยู่ในการบังคับบัญชา หลังจากเสร็จสิ้นการโจมตีทางอากาศ พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ ได้ลงจากเฮลิคอปเตอร์ และนำหน่วยทหารภาคพื้นดินของตัวเองเข้าโจมตี และสามารถจับเชลยศึกได้ 3 คน ทั้งนี้ พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ มีความกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อศัตรู ทำให้ พ.อ.พิเศษ ณรงค์ฤทธิ์ ได้รับเหรียญซิลเวอร์สตาร์ จากกองทัพสหรัฐ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512[2]
ตำแหน่งราชการ
แก้พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่อไปนี้[2]
ราชการทหาร
แก้- 4 เมษายน พ.ศ. 2512 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 2 ส่วนที่ 1
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – ผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ[3] และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบุรี
- 15 มีนาคม พ.ศ. 2520 – ผู้บัญชาการศูนย์การฝึกกำลังทดแทน
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – เจ้ากรมการรักษาดินแดน[1][4]
ราชการพิเศษ
แก้- 4 มิถุนายน พ.ศ. 2519 – ราชองครักษ์เวร[5]
- 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 – สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน[6]
- 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[7]
- 21 เมษายน พ.ศ. 2523 : ราชองครักษ์พิเศษ[8]
- พ.ศ. 2524 : กรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2528 : กรรมการธนาคารกสิกรไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พล.ท. ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 23.30 น. ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลับ สิริอายุได้ 86 ปี 304 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[13]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เวียดนามใต้ :
- สหรัฐอเมริกา :
- พ.ศ. 2514 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[16]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญซิลเวอร์สตาร์
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. ผู้บังคับบัญชา
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 (2551). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ ป.ช., ป.ม. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2551. ม.ป.พ.
- ↑ ศูนย์การทหารราบ. อดีตผู้บังคับบัญชา[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๑๗๘๕, ๖ กรกฎาคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๔๕ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๑๔ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๓๗, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๒, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๔๖, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๓ ง หน้า ๓๕๕๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS