ฐานบินนครพนม
ฐานบินนครพนม[1] (อังกฤษ: Nakhon Phanom Air Force Base) เป็นฐานบินและที่ตั้งทางทหารของฝูงบิน 238 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 587 กิโลเมตร (365 ไมล์) และห่างจากเมืองฮานอย ประเทศเวียดนามประมาณ 411 กิโลเมตร (255 ไมล์) และอยู่ติดกับประเทศลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ ปัจจุบันบางส่วนถูกใช้งานเป็นพื้นที่สนามบินพลเรือน
ฐานบินนครพนม | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย | |||||||
นครพนม | |||||||
ฐานบินนครพนม ราวทศวรรษ พ.ศ. 2500 มองจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ | |||||||
พิกัด | 17°23′02″N 104°38′35″E / 17.38389°N 104.64306°E | ||||||
ประเภท | ฐานทัพอากาศ | ||||||
ข้อมูล | |||||||
ผู้ดำเนินการ | กองทัพอากาศไทย | ||||||
ควบคุมโดย | สงครามกลางเมืองลาว กองทัพอากาศสหรัฐ (พ.ศ. 2504–2518) กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 238 กองบิน 23 (พ.ศ. 2518–ปัจจุบัน) | ||||||
สภาพ | ฐานทัพอากาศและท่าอากาศยานพลเรือน | ||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||
สร้าง | พ.ศ. 2506 | ||||||
สร้างโดย | กองพันก่อสร้างเคลื่อนที่ที่ 3 | ||||||
การใช้งาน | พ.ศ. 2506–ปัจจุบัน | ||||||
การต่อสู้/สงคราม | สงครามเวียดนาม | ||||||
ข้อมูลสถานี | |||||||
กองทหารรักษาการณ์ | ฝูงบิน 238 กองบิน 23 | ||||||
ข้อ��ูลลานบิน | |||||||
ข้อมูลระบุ | IATA: KOP, ICAO: VTUW | ||||||
ความสูง | 587 ฟุต (179 เมตร) เหนือระดับ น้ำทะเล | ||||||
|
ประวัติ
แก้ฐานบินนครพนมก่อตั้งขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1950 เพื่อเป็นฐานทัพอากาศไทย
สงครามกลางเมืองในลาวและความกลัวว่าสงครามจะลุกลามเข้ามาสู่ไทย ทำให้รัฐบาลไทยยอมให้สหรัฐ ใช้ฐานบินของไทย 5 แห่งอย่างลับ ๆ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เพื่อป้องกันภัยทางอากาศของไทยและทำการบินลาดตระเวนทั่วประเทศลาว โดยฐานบินนครพนมเป็นหนึ่งในฐานเหล่านั้น
ภายใต้ "ข้อตกลงสุภาพบุรุษ" ของไทยกับสหรัฐ ฐานทัพอากาศไทยที่กองทัพอากาศสหรัฐใช้งานจะได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ไทย ตำรวจอากาศของไทยจะคอยควบคุมการเข้าถึงฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยตำรวจรักษาความปลอดภัยของกองทัพสหรัฐ ซึ่งช่วยเหลือพวกเขาในการป้องกันฐานโดยใช้สุนัขเฝ้ายาม หอสังเกตการณ์ และบังเกอร์ปืนกล เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐทุกคนไม่ได้ติดอาวุธ เนื่องจากอาวุธมีไม่เพียงพอ และลักษณะภารกิจที่ฐานบินนครพนม บ่อยครั้งมีการให้คำแนะนำก่อนเจ้าหน้าที่จะออกไปนอกฐานเพื่อหลีกเลี่ยงการตอบคำถามต่าง ๆ ที่สื่อมวลชนได้ตั้งคำถาม
กองกำลังทหารอากาศสหรัฐที่นครพนมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของทัพอากาศแปซิฟิก (PACAF)
รหัสที่ทำการไปรษณีย์กองทัพบกสหรัฐ (Army Post Office: APO) สำหรับฐานบินนครพนม คือ "APO San Francisco, 96310"
กองทัพอากาศสหรัฐที่นครพนม
แก้ในช่วงสงครามเวียดนามฐานบินนครพนมเป็นฐานบินแนวหน้าของกองทัพอากาศไทย ถูกใช้งานโดยสหรัฐในความพยายามที่จะปกป้องเวียดนามใต้จากการก่อความไม่สงบโดยเวียดนามเหนือและกองโจรปะเทดลาวในลาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2518
ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 เวียดนามเหนือเริ่มเคลื่อนทัพไปยังพื้นที่ทางตะวันออกของลาวเพื่อสนับสนุนปะเทดลาว และยังเป็นมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงการก่อความไม่สงบในเวียดนามใต้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 เวียดนามเหนือได้จัดตั้งกลุ่ม 959 ในลาว โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างปะเทดลาวให้มีกำลังที่แข็งแกร่งขึ้นในสงครามกองโจรซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลลาว กลุ่ม 959 จัดหาการฝึกอบรม และสนับสนุนทางการทหารปะเทดลาวอย่างเปิดเผย
เนื่องจากประเทศไทยมีพรมแดนร่วมกันอันยาวนานกับลาวตามแม่น้ำโขง รัฐบาลไทยจึงมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการแพร่กระจายของการก่อความไม่สงบของพรรคคอมมิวนิสต์เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งกำลังเผชิญกับการก่อความไม่สงบที่เพิ่มมากขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอยู่แล้ว รัฐบาลไทยมีความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงเปิดกว้างต่อแนวคิดที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐใช้อาณาเขตของไทยเพื่อปฏิบัติการสนับสนุนรัฐบาลลาว และสนับสนุนเวียดนามใต้
เจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันกลุ่มแรกที่มาถึงฐานบินนครพนมในปี พ.ศ. 2505 คือกองพันก่อสร้างเคลื่อนที่ที่ 3 ของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งรับหน้าที่สร้างทางวิ่งและก่อสร้างอาคารชุดแรกที่ฐานทัพใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันของสหรัฐอเมริกาภายใต้องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต) ด้วยการก่อสร้างทางวิ่งความยาว 6,000 ฟุต (1,800 เมตร) ด้วยวัสดุมาร์สตัน แมท เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506[2][3]
ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เครื่องบิน HH-43B 2 ลำของฝูงบินกู้ภัยทางอากาศที่ 33 และทีมงานถูกส่งไปยังฐานบินนครพนมเพื่อทำการค้นหาและช่วยเหลือทางตะวันตกของลาวสำหรับเครื่องบินของสหรัฐที่เข้าร่วมในภารกิจของทีมแยงกี อย่างไรก็ตาม ระยะพิสัยใกล้การปฏิบัติการของพวกเขาทำได้เพียงใกล้ ๆ เท่านั้น[3]: 50–1 เงื่อนไขการใช้งานที่ฐานบินนครพนมในช่วงแรกเป็นแบบเรียบง่ายโดยไม่มีการก่อสร้างห้องน้ำหรือระบบไฟฟ้า กระทั่งปลายเดือนมิถุนายน ได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเริ่มสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย[3]: 51
ฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 507 เดินทางมาถึงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 โดยมีบุคลากรจำนวนมากติดตามมาถึงในปี พ.ศ. 2507
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507 หน่วยแยกที่ 1 (ชั่วคราว) ประจำการ HH-43F ที่ปรับปรุงแล้ว และนำเข้ามาแทนที่ HH-43B จำนวน 2 ลำที่ฐานบินนครพนม[3]: 60
กลุ่มควบคุมทางยุทธวิธีที่ 5 ใช้อำนาจสั่งการเหนือฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 507 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2508 เมื่อมีการจัดตั้งฝูงบินฐานทัพอากาศที่ 6235 จากนั้นจึงส่งมอบการควบคุมโดยรวมของกองทัพอากาศสหรัฐให้กับกลุ่มยุทธวิธีที่ 35 ที่ฐานทัพอากาศดอนเมือง ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2509 ฝูงบินฐานทัพอากาศที่ 6235 ถูกยกเลิก และกลุ่มสนับสนุนการต่อสู้ที่ 634 พร้อมด้วยฝูงบินรองก็ได้เริ่มปฏิบัติการ[4]
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เครื่องบิน CH-3C จำนวน 2 ลำที่ได้รับมอบหมายให้ประจำที่หน่วยแยกที่ 1 ของฝูงบินกู้ภัยทางอากาศที่ 38 เดินทางมาถึงฐานบินนครพนมเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการช่วยเหลือที่นั่น[3]: 69
เนื่องจากสหรัฐได้เริ่มการปฏิบัติการสงครามนอกแบบจากฐานบิน ทำให้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 รัฐบาลไทยจึงอนุมัติการจัดตั้งหน่วยคอมมานโดทางอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย โดยใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของกองทัพอากาศสหรัฐที่มีอยู่ที่ในฐานบินนครพนม เพื่อให้ดูเหมือนว่าสหรัฐไม่ได้นำอีกหน่วยเข้ามาเสริมกำลังในประเทศไทย กองกำลังทหารอากาศที่ฐานบินนครพนมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของทัพอากาศแปซิฟิก (PACAF)
ฐานบินนครพนมเดิมเป็นที่ตั้งกองกำลังค้นหาและช่วยเหลือของกองทัพอากาศสหรัฐ และคอยรักษาขีดความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อสนับสนุนภารกิจของกองทัพอากาศสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฐานบินนครพนมเป็นที่ตั้งของสถานี TACAN "ช่อง 89" และอ้างอิงโดยตัวระบุในการสื่อสารด้วยเสียงระหว่างปฏิบัติภารกิจทางอากาศ ต่อมากลุ่มสนับสนุนการรบที่ 634 ยุติการปฏิบัติงาน และกองบินคอมมานโดอากาศที่ 56 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2510[5] ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 606 โดยมีระบบงานในการปฏิบัติงานของกองบินใหม่ และกลุ่มสนับสนุนการรบที่ 56 เข้ามารับหน้าที่สนับสนุนหลัก กองบินคอมมานโดที่ 56 เปลี่ยนชื่อเป็นกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511[5]: 90
พร้อมด้วยหน่วยคอมมานโดอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐ และกองกำลังปฏิบัติการพิเศษ หน่วย MACV-SOG ปฏิบัติการโดยใช้ฐานบินนครพนม พร้อมด้วยแอร์อเมริกา, เอคโค 31 และองค์กรลับอื่นๆ ที่ใช้ฐานบินนครพนมเป็นฐานปฏิบัติการสำหรับกิจกรรมของพวกเขาในลาว, กัมพูชา และเวียดนามเหนือ
มีเพียงเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยใบพัดรุ่นเก่าและเครื่องบินเฉพาะทางเท่านั้นที่ปฏิบัติการจากที่ตั้งทางทหารแห่งนี้ เครื่องบินบางลำที่ปฏิบัติการจากฐานบินนครพนมติดเครื่องหมายพลเรือนหรือไม่มีการทำเครื่องหมาย นอกจากนี้ กองพันปฏิบัติการพิเศษที่ 56 เอช ยังปฏิบัติงานใกล้ชิดกับสถานทูตสหรัฐในลาวและไทยเพื่อจัดการฝึกสำหรับหน่วยสงครามพิเศษทางอากาศ
ฝูงบินของกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56
แก้ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษ
แก้- ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 1 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 1 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 สัญญาณเรียกขาน โฮโบ Hobo (เอ-1อี/จี/เอช/เจ, รหัสแพนหาง: TC)[5]: 90
- ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 18: ประจำการ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2514 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2515 สัญญาณเรียกขาน สตริงเจอร์ Stinger (เอซี-119, รหัสแพนทาง: EH)[5]: 90
- ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ที่ 21 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 27 พฤศจิกายน 2510 - 30 มิถุนายน 2518 สัญญาณเรียกขาน ดัสตี้ แอนด์ ไนท์ Dusty & Knife (ซีเอช-3ซี/อี, ซีเอช-53อี)[5]: 90
- ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 22 ดี: ประจำการ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2511 - 30 กันยายน พ.ศ. 2513 สัญญาณเรียกขาน โซโร Zorro (เอ-1อี/จี/เอช/เจ, รหัสแพนหาง TS)[5]: 90
- ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 602 ดี (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 602 ดี เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 8 เมษายน พ.ศ. 2510 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2513 สัญญาณเรียกขาน แซนดี้/ไฟร์ฟลาย Sandy/Firefly (เอ-1อี/เอช/เจ, รหัสแพนหาง: TT)[5]: 90
- ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 606 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 606 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 8 เมษายน พ.ศ. 2510 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2514 สัญญาณเรียกขาน แคนเดิลสติ๊ก Candlesticks (ซี-123) และ ลาวด์เมาท์/ลิตเตอบัค Loudmouth/Litterbugs (ยู-10ดี, ซี-123, ที-28ดี, รหัสแพนหาง TO)[5]: 90
- ฝูงบินคอมมานโดอากาศที่ 609 (เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 609 เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511): ประจำการ 15 กันยายน พ.ศ. 2510 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2512 สัญญาณเรียกขาน นิมโรด Nimrod (เอ-26เอ/เค, ที-28ดี, ยูซี/ซี-123, รหัสแพนหาง: TA)[5]: 90
ฝูงบินควบคุมอากาศยานหน้า
แก้- ฝูงบินสนับสนุนยุทธวิธีทางอากาศที่ 23 ดี: ประจำการ 15 เมษายน พ.ศ. 2509 - 22 กันยายน พ.ศ. 2518 สัญญาณเรียกขาน เนล Nail (โอ-1, โอ-2, โอวี-10)[5]: 90
ฝูงบินอื่น ๆ ของกองทัพอากาศสหรัฐ
แก้- ฝูงบินลาดตระเวนที่ 460: ประจำการ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515 (อีซี-47เอ็น/พี)
- ฝูงบินลาดตระเวนที่ 554: ประจำการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515 สัญญาณเรียกขาน แวมไพร์ (คิวยู-22บี)[5]: 90
- ฝูงบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทางยุทธวิธีที่ 361: ประจำการ 1 กันยายน พ.ศ. 2515 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (อีซี-47)[5]: 90
กองทัพเรือสหรัฐ
แก้- ฝูงบินสังเกตการณ์ 67: ประจำการ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 - กรกฎาคม พ.ศ. 2511 ใช้งานเครื่องบิน โอพี-2อี โดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการฝังเซ็นเซอร์ระดับต่ำในปฏิบัติการอิกลูไวท์รหัสแพนหาง MR (Mud River แม่น้ำโคลน)[6]
หน่วยอื่น ๆ ที่ใช้ฐานบิน
แก้- ฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 38 (ฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 38 ได้รับการจัดหน่วยใหม่เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2509): 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 สัญญาณเรียกขาน จอลลี่ กรีน Jolly Green ปฏิบัติการด้วยเฮลิคอปเตอร์ CH-3C/E, HH-3E และ HH-53E[3]: 69
- ฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 40: ประจำการ 18 มีนาคม พ.ศ. 2511 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ปฏิบัติการด้วย HH-3s, HH-43s, HH-53B/C และ HC-130Ps[3]: 114
- ฝูงบินสื่อสารที่ 1987, กลุ่มสื่อสารที่ 1974, บริการสื่อสารกองทัพอากาศ ประจำการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2509
- ฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 621 หน่วยแยกที่ 5 ผกผัน
- กองกำลังเฉพาะกิจอัลฟ่า (ศูนย์ประมวลผลสัญญาณปฏิบัติการอิกลูไวท์)[7]
- ฝูงบินสภาพอากาศที่ 10 กองบัญชาการขนส่งทหารทางอากาศ (MAC)
- กลุ่มสนับสนุนการรบที่ 56
- ฝูงบินซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ 456
- ฝูงบินรักษาความปลอดภัยที่ 6994
- ฝูงบินรักษาความปลอดภัยที่ 6908
- ฝูงบินท่าเรือทางอากาศที่ 6 (MAC) หน่วยแยกที่ 4
- ฝูงบินควบคุมทางยุทธวิธีที่ 621 (หน่วยแยก)
- ฝูงบินเรดฮอร์ส
เครื่องอิสริยาภรณ์กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56
แก้- เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (Presidential Unit Citation) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512; 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 – 30 เมษายน พ.ศ. 2513; 1 เมษายน พ.ศ. 2515 – 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516[5]: 91
- แอร์ฟอร์ซ เอาสแทนดิง ยูนิท (Air Force Outstanding Unit Award) พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่อสู้ "V": 1 ธันวาคม พ.ศ. 2513 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514: 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514 – 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515; 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517; 23 มกราคม พ.ศ. 2518 - 30 เมษายน พ.ศ. 2518[5]: 91
- แกลแลนทรี่ครอสแห่งเวียดนามใต้ ประดับใบปาร์ม: 8 เมษายน พ.ศ. 2510 – 28 มกราคม พ.ศ. 2516[5]: 91
กลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7
แก้ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาสันติภาพปารีส กองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) และกองกำลังอเมริกันและประเทศที่สามทั้งหมดจะต้องถูกถอนออกจากเวียดนามใต้ภายใน 60 วันหลังจากการหยุดยิง องค์กรที่ให้บริการหลากหลายจำเป็นต้องวางแผนสำหรับการใช้กำลังทางอากาศและทางเรือของสหรัฐในเวียดนามเหนือหรือใต้ กัมพูชา หรือลาว หากจำเป็นและสั่งการ เรียกว่ากลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7th AF) โดยจะตั้งอยู่ที่ฐานบินนครพนม[8] : 18 นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีกองบัญชาการทหารขนาดเล็กของสหรัฐเพื่อดำเนินโครงการช่วยเหลือทางทหารต่อไปสำหรับกองทัพเวียดนามใต้ และกำกับดูแลความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่ยังคงจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายของการขยายประเทศเวียดนาม และรายงานข่าวกรองด้านปฏิบัติการและทางการทหารผ่านช่องทางทางทหารไปยังหน่วยงานกระทรวงกลาโหม สำนักงานใหญ่นี้ ต่อไปจะกลายเป็นสำนักงานผู้ช่วยทูตกลาโหม ไซ่ง่อน[9]: 48
ส่วนของกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7AF) ย้ายจากฐานทัพอากาศเตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhut Air Base) ไปยังนครพนมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516 การถ่ายโอนโครงสร้างหลักของหน่วยซึ่งส่วนใหญ่มาจากส่วนปฏิบัติการและข่าวกรองของกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) แลทัพอากาศที่ 7 เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ USSAG เข้าประจำการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาของกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) แต่ในเวลา 08:00 น. ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พลเอก จอห์น ดับเบิลยู. โวกต์ จูเนียร์ ของกองทัพอากาศสหรัฐในฐานะผู้บัญชาการกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7AF) ได้เข้ามารับช่วงต่อจากการควบคุมกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) ของการปฏิบัติการของแอร์อเมริกา[10]: 397 [9]: 48 ปฏิบัติการสนับสนุนทางอากาศของสหรัฐในกัมพูชายังคงดำเนินต่อไปภายใต้กลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7th AF) จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2516[8]: 18 DAO ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนบัญชาการย่อยของกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) และยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) จนกระทั่งการยุติการปฏิบัติงานกองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารเวียดนาม (MACV) ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2516 เวลา ซึ่งคราวนั้นได้ส่งต่อภารกิจไปยังผู้บังคับการกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 ที่ฐานบินนครพนม[9]: 52
การปฏิบัติการหลักที่เกี่ยวข้องกับฐานบิน
แก้ปฏิบัติการบาเรลโรลล์
แก้ปฏิบัติการบาเรลโรลล์ เป็นปฏิบัติการลับของกองพลอากาศที่ 2 ของกองทัพอากาศสหรัฐ (ต่อมาคือทัพอากาศที่ 7) และกองกำลังเฉพาะกิจกองทัพเรือสหรัฐ 77 ปฏิบัติการขัดขวางและสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดที่ดำเนินการในประเทศลาวระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2516 พร้อมกันกับสงครามเวียดนาม วัตถุประสงค์เริ่มแรกของปฏิบัติการคือเพื่อใช้เป็นการส่งสัญญาณไปยังเวียดนามเหนือเพื่อยุติการสนับสนุนการก่อความไม่สงบของเวียดกงในเวียดนามใต้ ปฏิบัติการดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้นในการให้การสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดแก่กองทัพราชอาณาจักรลาว กองกำลังม้งที่ได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอ และส่วนแยกของกองทัพไทยในสงครามลับภาคพื้นดินในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว สหรัฐถอนตัวออกจากลาวเมื่อต้นปี พ.ศ. 2516 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพปารีส และการแก้ไขกรณี-คริสตจักรในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2516 ขัดขวางไม่ให้ดำเนินกิจกรรมทางทหารของสหรัฐในลาว กัมพูชา และเวียดนามต่อไปโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา
ปฏิบัติการไอวอรีโคสต์
แก้ฐานบินนครพนม เป็นหนึ่งในฐานปฏิบัติการสำหรับภารกิจช่วยเหลือนักโทษเชลยศึกค่ายกักกันเซินเตย์ที่ล้มเหลวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2513 วัตถุประสงค์คือการช่วยเหลือเชลยศึกชาวอเมริกันประมาณ 90 คนจากค่าย การพยายามช่วยเหลือนั้นล้มเหลวเนื่องจากนักโทษถูกเคลื่อนย้ายเมื่อหลายเดือนก่อน[3]: 112
กรณีมายาเกวซ
แก้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 พลโท จอห์น เจ. เบิร์นส์ ผู้บัญชาการทัพอากาศที่ 7 ของสหรัฐ และเจ้าหน้าที่ของเขาได้จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อยึดเรือ เอสเอส มายาเกวซ กลับคืนโดยใช้กองกำลังจู่โจมที่ประกอบด้วยกำลังพลจากฝูงบินตำรวจรักษาความปลอดภัยที่ 56 นครพนม อาสาสมัครเจ็ดสิบห้าคนจากฝูงบิน 56 จะถูกปล่อยลงบนตู้คอนเทนเนอร์บนดาดฟ้าเรือ มายาเกวซในเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม เพื่อเตรียมการสำหรับการโจมตีครั้งนี้ ประกอบด้วย HH-53 จำนวน 5 ลำ และ CH-53 จำนวน 7 ลำ ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปยังสนามบินกองทัพเรืออู่ตะเภาเพื่อปฏิบัติการ[11] เมื่อเวลาประมาณ 21:30 น. หนึ่งในเครื่องบิน CH-53 ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21 (หมายเลข 68-10933 สัญญาณเรียก ขานไนท์ 13) เกิดอุบัติเหตุ ส่งผลให้ตำรวจรักษาความปลอดภัย 18 นาย และลูกเรือ 5 นายเสียชีวิต[12]
พาเลซไลต์นิง - การถอนกำลังของกองทัพอากาศสหรัฐ
แก้ด้วยการล่มสลายในลาว การล่มสลายของทั้งกัมพูชาและเวียดนามใต้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 และผลพวงของการใช้ฐานทัพไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงกรณีมายาเกวซ บรรยากาศทางการเมืองระหว่างวอชิงตันและกรุงเทพเริ่มเลวร้าย และรัฐบาลไทยเรียกร้องให้สหรัฐถอนกำลังทหารออกจากไทยภายในสิ้นปี ภายใต้ปฏิบัติการพาเลซไลต์นิง (Palace Lightning) กองทัพอากาศสหรัฐเริ่มถอนกำลังเครื่องบินและบุคลากรออกจากประเทศไทย ตามคำสั่งของเสนาธิการร่วม CINCPAC เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้สั่งการให้ยุบกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 (USSAG/7th AF) การถอนกำลังมีผลเมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน ด้วยการยกเลิกการจัดตั้งการควบคุม กลุ่มสนับสนุนกิจกรรมสหรัฐ และทัพอากาศที่ 7 ของชุดกำลังทหารร่วม 4 ฝ่ายที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลงสันติภาพปารีส ศูนย์แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุร่วมและสำนักงานผู้ช่วยทูตด้านกลาโหมที่เหลือจึงเปลี่ยนกลับเป็น CINCPAC[13] ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2518 กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 56 ถูกยุติใช้งานและกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 656 เริ่มปฏิบัติงานเป็นหน่วยปฏิบัติการที่ฐานบินนครพนมจนกว่ากองทัพอากาศสหรัฐจะสามารถถอนกำลังออกได้เสร็จสิ้น หน่วยค้นหาและกู้ภัยเป็นหนึ่งในหน่วยสุดท้ายที่เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 หน่วยสุดท้ายของกองทัพอากาศสหรัฐได้ออกจากฐานบินนครพนมพร้อมกับฝูงบินกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 40 และย้ายไปปฏิบัติการที่ฐานบินโคราช และกลุ่มกู้ภัยและกู้คืนการบินและอวกาศที่ 3 ���ี ได้ย้ายไปยังสนามบินทหรเรืออู่ตะเภา[3]: 154
อุบัติเหตุและเหตุการณ์ต่าง ๆ
แก้- เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 เครื่องบิน Douglas EC-47Q, AF Ser หมายเลข 43-49771 ของฝูงบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทางยุทธวิธีที่ 361 ประสบเหตุตก ทำให้มีผู้เสียชีวิตบนเครื่องบิน 2 รายจาก 10 ราย[14] ในการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีภายใต้สัญญาณเรียกขาน บารอน 56 ออกเดินทางเมื่อเวลาประมาณ 10:44 น. ตามเวลาท้องถิ่น (03:44 UTC) เมื่อเวลา 17.00 น. เครื่องบินกำลังเดินทางกลับจากภารกิจ ขณะกำลังลงจอดและเริ่มออกนอกรันเวย์ทางด้านซ้าย นักบินพยายามดึงกลับมากเกินไป ทำให้เครื่องบินออกตัวไปทางขวาของรันเวย์ แม้ว่าจะมีสามารถควบคุมเครื่องบินให้หมุนและเหมือนจะควบคุมได้ แต่เครื่องบินก็ชนต้นไม้ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับใบพัดของเครื่องบิน นักบินผู้ช่วยพิจารณาแล้วว่าเครื่องยนต์กราบขวาขัดข้องและใบพัดของเครื่องยนต์ จนเครื่องบินชนต้นไม้อีกต้นหนึ่งห่างออกไป 2 ไมล์ทะเล (3.7 กิโลเมตร) เลยสุดทางวิ่ง เครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุถูกทำลายในเหตุการณ์ดังกล่าวจากเพลิงไหม้หลังเกิดอุบัติเหตุ[15]
หลังการถอนตัวของสหรัฐ
แก้หลังจากกองทัพอากาศสหรัฐได้ถอนตัวออกไปจากฐานบินนครพนมและมอบฐานบินให้อยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศไทย โดยจัดกำลังจากฝูงบิน 238 เข้าประจำการในฐานบินนครพนม และสนับสนุนให้มีการใช้งานฐานบินในเชิงพาณิชย์โดยดัดแปลงโรงเก็บอากาศยานเป็นอาคารผู้โดยสาร[16]
ในปี พ.ศ. 2521 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้เปิดเส้นทางการบินในเส้นทางกรุงเทพมหานคร–นครพนม และเชื่อมต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกันเองกับจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น ด้วยเครื่องบินดักลาส DC-3 หรือแอฟโร Bae HS748 เปิดให้บริการเส้นทางสัปดาห์ละ 3-4 เที่ยวบิน[16]
จากนั้นในปี พ.ศ. 2537 บริษัท การบินไทย จำกัด ได้เปิดเส้นทางบินอีกครั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ในเส้นทางการบิน กรุงเทพมหานคร–สกลนคร–นครพนม–กรุงเทพมหานคร ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง B737 และเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานนครพนมตามผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2543 โดยดำเนินก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่และเปิดใช้งานวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ในส่วนของท่าอากาศยานพลเรือน และถูกกำหนดให้เป็นสนามบินศุลกากรในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544[16]
บทบาทและปฏิบัติการ
แก้กองทัพอากาศไทย
แก้ฐานบินนครพนม เป็นที่ตั้งหลักของฝูงบิน 238 ในฐานะฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามจากกองบิน 23 อุดรธานี[17] กองทัพอากาศไทย ทำหน้าที่เป็นกองรักษาการณ์ประจำฐานบินนครพนม
กรมท่าอากาศยาน
แก้ท่าอากาศยานนครพนม ได้ใช้พื้นที่และทางวิ่งของฐานบินนครพนมในการให้บริการเชิงพาณิชย์[18]
มหาวิทยาลัยนครพนม
แก้วิทยาลัยการบิน การศึกษา และวิจัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ใช้พื้นที่ของฐานบินนครพนมในการเป็นสนามบินสำหรับการฝึกบินของนักศึกษา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 มีการเรียนการสอนด้านการบินทั้งหลักสูตรการบินต่าง ๆ ทั้งระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี[19]
หน่วยในฐานบิน
แก้กองทัพอากาศไทย
แก้ฝูงบิน 238 กองบิน 23
แก้- ฝูงบิน 238 – ปัจจุบันไม่มีอากาศยานประจำการถาวร เป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม
กรมท่าอากาศยาน
แก้มหาวิทยาลัยนครพนม
แก้- วิทยาลัยการบิน การศึกษา และวิจัยนานาชาติ – Diamond DA-40, Alpha A160 และ Diamond DA-42
สิ่งอำนวยความสะดวก
แก้ฐานบินนครพนมประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ พื้นที่ฐานบินของกองทัพอากาศ และพื้นที่พลเรือนของท่าอากาศยานนครพนม[18]
ลานบิน
แก้ฐานบินนครพนมประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 2,500 เมตร (8,202 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 587 ฟุต (179 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 15/33 หรือ 144.96° และ 324.96° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[20]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-06-14.
- ↑ Tregaskis, Richard (1975). Southeast Asia:Building the Bases, The History of Construction in Southeast Asia (PDF). U.S. Navy Seabee Museum. p. 57. ISBN 9781461097235.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 Tilford, Earl (1980). Search and Rescue in Southeast Asia 1961–1975 (PDF). Office of Air Force History. p. 113. ISBN 9781410222640. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2018.
- ↑ : //www.tlc-brotherhood.org/bases.htm
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 Ravenstein, Charles A. (1984). Air Force Combat Wings, Lineage & Honors Histories 1947-1977. Office of Air Force History. pp. 90-1. ISBN 0912799129.
- ↑ Mobley, Richard (2015). Knowing the enemy: Naval Intelligence in Southeast Asia. Naval History and Heritage Command. p. 32-3. ISBN 9780945274780.
- ↑ "Call of Chicago: Task Force Alpha".
- ↑ 8.0 8.1 Le Gro, William (1985). Vietnam from Cease Fire to Capitulation (PDF). United States Army Center of Military History. ISBN 9781410225429. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "CINCPAC Command History 1973". 17 September 2012. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Cosmas, Graham (2006). The United States Army in Vietnam MACV: The Joint Command in the Years of Withdrawal, 1968-1973. Center of Military History United States Army. ISBN 978-0160771187. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Wetterhahn, Ralph (2002). The Last Battle: The Mayaguez Incident and the end of the Vietnam War. Plume. pp. 76–7. ISBN 0-452-28333-7.
- ↑ Dunham, George R (1990). U.S. Marines in Vietnam: The Bitter End, 1973-1975 (Marine Corps Vietnam Operational Historical Series). Marine Corps Association. p. 240. ISBN 9780160264559.
- ↑ "CINCPAC Command History 1975" (PDF). Commander in Chief Pacific. 7 October 1976. p. 36. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "43-49771 Accident description". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 7 September 2010.
- ↑ "EC-47 43-49771 Crashed on Takeoff November 21, 1972". EC-47. สืบค้นเมื่อ 9 September 2010.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "ท่าอากาศยานนครพนม". minisite.airports.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ให้การต้อนรับประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ และคณะฯ". wing23.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-14. สืบค้นเมื่อ 2024-06-14.
- ↑ 18.0 18.1 "ทย.ขยายเทอร์มินัล "สนามบินนครพนม" เสร็จแล้ว เพิ่มขีดรับผู้โดยสาร 1.7 ล้านคน/ปี". mgronline.com. 2020-12-29.
- ↑ "วิทยาลัยการบิน การศึกษา และวิจัยนานาชาติ - Nakhon Phanom University : มหาวิทยาลัย นครพนม". www.npu.ac.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Aedrome/Heliport VTUW". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-09-23.
บรรณานุกรม
แก้- Glasser, Jeffrey D. (1998). The Secret Vietnam War: The United States Air Force in Thailand, 1961–1975. McFarland & Company. ISBN 0-7864-0084-6.
- Martin, Patrick (1994). Tail Code: The Complete History of USAF Tactical Aircraft Tail Code Markings. Schiffer Military Aviation History. ISBN 0-88740-513-4.
- Robbins, Christopher (1985) Air America. Avon, ISBN 0-380-89909-4
- Robbins, Christopher (1987) The Ravens: Pilots of the Secret War in Laos. Crown, ISBN 0-517-56612-5
- Warner, Roger (1998) Shooting at the Moon: The Story of America's Clandestine War in Laos. Steerforth, ISBN 1-883642-36-1
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้