ซิตตะโกซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสตอนต้น, 126–101Ma
กะโหลกศีรษะ ซิตตะโกซอรัส มองโกเลียเอนซิส ที่พิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียน ซิดนีย์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Ornithischia
อันดับย่อย: Cerapoda
อันดับฐาน: Ceratopsia
วงศ์: Psittacosauridae
สกุล: Psittacosaurus
Osborn, 1923
ชนิดต้นแบบ
Psittacosaurus mongoliensis
Osborn, 1923
Species
รายชื่อสายพันธุ์
  • P. mongoliensis
    Osborn, 1923
  • P. sinensis
    Young, 1958
  • P. meileyingensis
    Sereno et al., 1988
  • P. xinjiangensis
    Sereno & Zhao, 1988
  • ?P. sattayaraki
    Buffetaut & Suteethorn, 1992
  • P. neimongoliensis
    Russell & Zhao, 1996
  • P. ordosensis
    Russell & Zhao, 1996
  • P. mazongshanensis
    Xu, 1997
  • P. sibiricus
    Leshchinskiy et al., 2000
  • P. lujiatunensis
    Zhou et al., 2006
  • P. gobiensis
    Sereno, Zhao and Lin, 2010
  • P. amitabha
    Napoli et al., 2019
ชื่อพ้อง
  • Protiguanodon Osborn, 1923
  • Hongshanosaurus You, Xu, & Wang, 2003

ซิตตะโกซอรัส[1] (อังกฤษ: En:Psittacosaurus) หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มี��นาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้ว" หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

Psittacosaurus เป็นหนึ่งในตระกูล Ceratopsians แต่สายพันธ์ใกล้เคียงกับ Triceratops มากกว่า

ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี" เพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ลักษณะทางกายวิภาคของไดโนเสาร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-03. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.