ชัย ชิดชอบ
ชัย ชิดชอบ (5 เมษายน พ.ศ. 2471 – 24 มกราคม พ.ศ. 2563) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย[4] อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นอดีตประธานชั่วคราวสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 24 และ 25 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของสภาในขณะนั้นเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคพลังประชาชน ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนนายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่โดนใบแดง [5] ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดบุรีรัมย์ หลายสมัย และสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 (ส.ว.) จังหวัดบุรีรัมย์
ชัย ชิดชอบ | |
---|---|
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 360 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ยงยุทธ ติยะไพรัช |
ถัดไป | สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 เมษายน พ.ศ. 2471[1] จังหวัดสุรินทร์ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 24 มกราคม พ.ศ. 2563 (91 ปี) จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย [2][3] |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2500—2501, 2511—2512, 2514—2525) อิสระ (2512—2514) ประชาราษฏร์ (2525—2527) กิจสังคม (2527—2531) ชาติไทย (2531—2540, 2543—2547) เอกภาพ (2540—2543) ไทยรักไทย (2547—2550) พลังประชาชน (2550—2551) ภูมิใจไทย (2551—2563) |
คู่สมรส | ละออง ชิดชอบ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้นายชัย ชิดชอบ เกิดที่บ้านเพี้ยราม ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายเมียศกับนางเรียด ชิดชอบ จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ [6]
นายชัย ชิดชอบ ใช้วุฒิการศึกษา ม.6 ถึงปี พ.ศ. 2539 ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ส. ต้องจบปริญญาตรี นายชัย จึงสมัครเรียนต่อ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชีวิตส่วนตัว นายชัย ชิดชอบ สมรสกับนางละออง ชิดชอบ มีบุตรชาย 5 คน หญิง 1 คน บุตรคือนายชลอ ชิดชอบ กรรมการบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ (1991) จำกัด นางสาวอุชษณีย์ ชิดชอบ วุฒิสภาไทย ชุดที่ 8 นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ นายเนวิน ชิดชอบ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชัยชื่นชอบนักการเมืองชาวอิสราเอลคนหนึ่ง ที่ชื่อ โมเช ดายัน ถึงขนาดตั้งฉายาให้ตัวเองว่า "ชัย โมเช"
ชัย ชิดชอบ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราที่บ้านพักในโรงโม่หินศิลาชัย ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 สิริอายุ 91 ปี 9 เดือน โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี
งานการเมือง
แก้นายชัย ชิดชอบ เริ่มงานการเมืองจากการเมืองท้องถิ่น เป็นกำนันตำบลอิสาน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และทำธุรกิจโรงโม่หิน ชื่อโรงโม่หินศิลาชัย ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มงานการเมืองตั้งแต่ปี 2500 โดยสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ [7] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์หลายสมัยติดต่อกัน ในการเลือกตั้งปี 2512 (อิสระ), 2522 (พรรคประชาราษฎร์), 2526 (พรรคกิจสังคม), 2529 (พรรคสหประชาธิปไตย), 2535/2 2538 (พรรคชาติไทย), 2539 (พรรคเอกภาพ) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อปี 2544 (พรรคชาติไทย) (เลื่อนแทน), 2550 (พรรคพลังประชาชน), 2554 2562 (พรรคภูมิใจไทย) และสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์ปี 2549 [8]และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 2[9]
ประธานรัฐสภา
แก้นายชัย ชิดชอบ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 นายชัยได้ทำหน้าที่ประธานโดยได้ขึ้นนั่งบนบัลลังก์ ขณะที่นายชัยจะคุกเข่าสดับพระบรมราชโองการฯ ก็เกิดล้มหัวคะมำ และเมื่อคุกเข่ารับฟังเสร็จแล้ว เมื่อจะลุกขึ้นก็ลุกไม่ขึ้น แต่นายชัยก็พยายามจะลุกให้ได้ จึงทำให้ล้มไปข้างหน้า จนนายนิสิต สินธุไพร ส.ส. ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน ที่มาร่วมในพิธีด้วย รีบเข้าไปพยุงนายชัยให้ยืนขึ้นเป็นปกติ และเดินกลับไปห้องประชุมได้และเรื่องนี้ก็ได้เป็นที่เล่าขานถึงความศักดิ์สิทธ์ของรัฐสภาในการคัดสรรผู้เหมาะสมที่จะนั่งบังลังก์[10]
ขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส. หนองบัวลำภู พรรคพลังประชาชน ได้เสนอ นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส. สกลนคร พรรคพลังประชาชน เป็นผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แต่นายจุมพฏไม่เห็นชอบด้วย นายพิษณุจึงมีทีท่าจะเสนอคนอื่นแทน นายชัย ชิดชอบ จึงกล่าวขึ้นกลางที่ประชุมว่า "จะเสนอใครถามเจ้าตัวก่อนดีกว่าว่าเขารับหรือไม่ เจ้าตัวไม่เอายังเสือกเสนออยู่อีก จะเสนอใครก็รีบเสนอ เสียเวล่ำเวลา" ท่ามกลางความตกตะลึงของ ส.ส. ในที่ประชุม อย่างไรก็ดี ความหงุดหงิดของนายชัยเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มประชุมแล้ว เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงและความวุ่นวายของ ส.ส. ที่เข้าประชุม จนนายชัยต้องกดสัญญาณเรียกถึงหกครั้ง และสั่งให้นับองค์ประชุมอีกหลายครั้ง ทั้งนี้ ในวันต่อมา นายชัยก็ได้กล่าวขอโทษ ส.ส. สำหรับกรณีดังกล่าวอย่างสุภาพด้วยความรู้สึกผิด[11][12][13][14]
ภายหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ นายชัยซึ่งเป็นบิดาของเนวิน ชิดชอบ หัวหน้ากลุ่มเพื่อนเนวิน จึงได้ย้ายตามกลุ่มดังกล่าวเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายชัย ชิดชอบ ได้กลับมาเล่นการเมืองอีกครั้งเมื่อมีอายุมากแล้ว จึงได้รับการเรียกขานเล่น ๆ จากสื่อมวลชน ว่า "ปู่ชัย" หรือ "ลุงชัย" และในปลายปี พ.ศ. 2552 ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาว่า "ตลกเฒ่าร้อยเล่ห์" อันเนื่องจากการทำหน้าที่ประธานสภาฯ ที่มีลูกล่อลูกชนและมีมุกตลกแพรวพราวสร้างความสนุกสนานลดความตึงเครียดในที่ประชุมเสมอ[15]
รางวัลและเกียรติยศ
แก้- พ.ศ. 2544 นายกองตรี ชัย ชิดชอบ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกอง���ท ชัย ชิดชอบ[16]
- พ.ศ. 2552 นายกองโท ชัย ชิดชอบ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก ชัย ชิดชอบ[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[20]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[21]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง
แก้- ↑ สภาผู้แทนราษฎรในอดีต >> สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน (ชุดที่ 23)
- ↑ "'ชัย ชิดชอบ' เสียชีวิตแล้ว". กรุงเทพธุรกิจ. 24 มกราคม 2563.
- ↑ "อาลัย 'ชัย ชิดชอบ' อดีตประธานรัฐสภา เสียชีวิตลงแล้วอย่างสงบด้วยวัย 92 ปี". มติชน. 24 มกราคม 2563.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
- ↑ พลังแม้วไม่กล้าแตกแถว "ชัย"ลอยลำนั่งปธ.สภาฯ[ลิงก์เสีย] หนังสือพิมพ์แนวหน้า 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
- ↑ วุฒิการศึกษาของนายชัย ชิดชอบ เมื่อ พ.ศ. 2539[ลิงก์เสีย] ฐานข้อมูล ส.ส. จังหวัดบุรีรัมย์ เขต 2 พรรคเอกภาพ พ.ศ. 2539, ฐานข้อมูลการเมืองไทย เว็บไซต์รักบ้านเกิด
- ↑ พลิกปูม ชัย ชิดชอบ เก๋าตั้งแต่ เลือกตั้ง 2512 เก๋า จาก "บุรีรัมย์" สำเนาจากคอลัมน์ หักทองขวาง หนังสือพิมพ์ข่าวสด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6367
- ↑ ประวัติย่อ นายชัย ชิดชอบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 4
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนา)
- ↑ “ชัย” นั่งบัลลังก์ก่อนรับพระบรมราชโองการฯ ช่วงทำพิธีล้มหัวคะมำ
- ↑ Hunsa Hot News. (2551, 1 ตุลาคม). ส.ส.ตะลึง "ชัย"หลุดด่าสมาชิก "เสือก" ลั่นสภา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Linkเก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
- ↑ Sanook! News. (2551, 1 ตุลาคม). ปชป.ติงปู่ชัยสบถเสือกกลางสภาหวั่นทำสภาด่างพร้อย [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Link. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
- ↑ Sanook! News. (2551, 2 ตุลาคม). ชัย กล่าวขอโทษ ส.ส.กลางสภา หลังหลุดคำว่าเสือก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Link. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
- ↑ มติชนออนไลน์. (2551, 1 ตุลาคม). ปชป.ติง"ปู่ชัย"สบถ"เสือก"กลางสภาหวั่นทำสภาด่างพร้อย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Link[ลิงก์เสีย]. (เข้าถึงเมื่อ: 6 เมษายน 2552).
- ↑ ชัย ชิดชอบ ระบุไม่น้อยใจกรณีสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ ตลกเฒ่าร้อยเล่ห์
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองโท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-28. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
- ↑ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๗๗, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔
ก่อนหน้า | ชัย ชิดชอบ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยงยุทธ ติยะไพรัช | ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร (15 พฤษภาคม 2551 – 10 พฤษภาคม 2554) |
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ |