การชัก

(เปลี่ยนทางจาก ชัก)

อาการชัก (อังกฤษ: seizure, epileptic seizure) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการบางอย่างอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการทำงานมากผิดปกติและไม่สัมพันธ์กันของเซลล์ประสาทในสมอง[5] อาการภายนอกอาจมีได้หลากหลาย ตั้งแต่การเกร็งกระตุกทั่วร่างกายพร้อมกับหมดสติ (การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว), การเคลื่อนไหวผิดปกติเพียงบางส่วนของร่างกายโดยอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับการรู้ตัว หรือมีในบางระดับ (การชักแบบเฉพาะที่), ไปจนถึงการหมดสติไปชั่วครู่โดยแทบไม่มีอาการปรากฏให้เห็น (การชักแบบเหม่อลอย)[3] โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้อยู่เพียงช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 2 นาที และจะค่อยๆ ฟื้นกลับเป็นปกติโดยใช้เวลาระยะหนึ่ง[4][7] ระหว่างที่มีอาการชักอาจมีอุจจาระราดหรือปัสสาวะราดได้[3]

อาการชัก
(Seizure)
ชื่ออื่นEpileptic seizure, epileptic fit,[1] fit, convulsions[2]
ผู้ป่วยกำลังมีอาการชักแบบเกร็ง
สาขาวิชาประสาทวิทยา, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
อาการมีได้หลากหลาย แต่สัมพันธ์กับการทำงานมากผิดปกติของเซลล์สมอง[3]
ระยะดำเนินโรคส่วนใหญ่เป็นไม่เกิน 2 นาที[4]
ประเภทแบบมีเหตุกระตุ้น และแบบไม่มีเหตุกระตุ้น[5]
สาเหตุแบบมีเหตุกระตุ้น: น้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะถอนพิษสุรา, โซเดียมในเลือดต่ำ, ไข้, การติดเชื้อในสมอง, สมองกระทบกระเทือน[3][5]
แบบไม่มีเหตุกระตุ้น (โรคลมชัก): ไม่พบสาเหตุ, การบาดเจ็บที่สมอง, เนื้องอกในสมอง, มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง[4][3][5][6]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการ, การตรวจเลือด, การตรวจภาพรังสีระบบประสาท, การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง[6]
โรคอื่นที่คล้ายกันการเป็นลม, อาการชักเหตุจิตใจที่ไม่ใช่โรคลมชัก, tremor, ไมเกรน, สมองขาดเลือดชั่วครู่[3][4]
การรักษามีอาการไม่เกิน 5 นาที: ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงและจัดสภาพรอบๆ ให้ปลอดภัย[7]
มีอาการมากกว่า 5 นาที: รักษาแบบภาวะชักต่อเนื่อง[7]
ความชุกประชากรทั่วไปราว 10% (จะเคยมีอาการชักอย่างน้อยหนึ่งครั้ง)[4][8]

อาการชักมีทั้งที่เกิดขึ้นโดยมีสิ่งกระตุ้นและไม่มีสิ่งกระตุ��น โดยอาการชักแบบมีสิ่งกระตุ้นอาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราวในภาวะต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ อาการถอนสุรา การดื่มสุราร่วมกับยาบางชนิด โซเดียมในเลือดต่ำ มีไข้ สมองติดเชื้อ หรือสมองกระทบกระเทือน เป็นต้น ส่วนอาการชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้นจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีสาเหตุที่สามารถตรวจเจอหรือแก้ไขได้โดยตรง การชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้นอาจเกิดขึ้นได้บ่อยขึ้นในภาวะที่มี��วามเครียดหรืออดนอน หากผู้ป่วยมีอาการชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้นแล้วเกิดขึ้นซ้ำหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นซ้ำจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก ภาวะอื่นๆ ที่แสดงอาการเหมือนอาการชัก เช่น การเป็นลมหมดสติ การชักทางจิตใจ และอาการสั่น เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. Shorvon, Simon (2009). Epilepsy (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. p. 1. ISBN 9780199560042.
  2. "Seizures - National Library of Medicine". PubMed Health (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Misulis, Karl E.; Murray, E. Lee (2017). Essentials of Hospital Neurology (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. Chapter 19. ISBN 9780190259433.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Ferri FF (2018). Ferri's Clinical Advisor 2019 E-Book: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 959. ISBN 9780323550765.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Fisher, RS; Acevedo, C; Arzimanoglou, A; Bogacz, A; Cross, JH; Elger, CE; Engel J, Jr; Forsgren, L; French, JA; Glynn, M; Hesdorffer, DC; Lee, BI; Mathern, GW; Moshé, SL; Perucca, E; Scheffer, IE; Tomson, T; Watanabe, M; Wiebe, S (April 2014). "ILAE official report: a practical clinical definition of epilepsy". Epilepsia. 55 (4): 475–82. doi:10.1111/epi.12550. PMID 24730690. S2CID 35958237.
  6. 6.0 6.1 Wilden JA, Cohen-Gadol AA (August 2012). "Evaluation of first nonfebrile seizures". American Family Physician. 86 (4): 334–340. PMID 22963022.
  7. 7.0 7.1 7.2 "The Epilepsies and Seizures: Hope Through Research". National Institute of Neurological Disorders and Stroke. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
  8. "Epilepsy". World Health Organization. 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก