ชะมดแปลงลายแถบ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Viverridae
วงศ์ย่อย: Prionodontinae
สกุล: Prionodon
สปีชีส์: P.  linsang
ชื่อทวินาม
Prionodon linsang
(Hardwicke, 1821)
ชนิดย่อย[2]
  • P. l. fredericae Sody, 1936
  • P. l. gracilis (Horsfield, 1822)
  • P. l. linsang (Hardwicke, 1821)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ชะมดแปลงลายแถบ หรือ อีเห็นลายเมฆ[3] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prionodon linsang) เป็นชะมดแปลงชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบมาเลเซียตะวันตก, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และชวาตะวันตก รวมทั้งในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณคอคอดกระลงไป

ชะมดแปลงลายแถบ จัดเป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่น มีลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางบริเวณหลังทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลัง มีขนาดตัวยาวจากหัวถึงหาง 74 เซนติเมตร อาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าจะลงมาพื้นดิน กินอาหาร ได้แก่ กระรอก, หนู, นก และจิ้งจก

มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม สร้างรังออกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 [4]

อ้างอิง

แก้
  1. Mustelid Specialist Group (1996). Prionodon linsang. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 2007-03-26.
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. "อีเห็นลายเมฆ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2012-12-30.
  4. "ชะมดแปลงลายแถบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-03-18.

แห่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Prionodon linsang ที่วิกิสปีชีส์