จิตรกรรมตะวันตก

จิตรกรรมตะวันตก (อังกฤษ: Western painting) ประวัติของจิตรกรรมตะวันตกเป็นประวัติที่ต่อเนื่องกันมาจากการเขียนภาพตั้งแต่ก่อนยุคกลางหรือศิลปะของกรีกและโรมัน[1] เริ่มแรกการเขียนภาพเป็นแบบศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art) และลวดลายแบบกรีกและโรมันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงวิวัฒนาการมาเป็นศิลปะนามธรรม (Abstract art) และศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art)

สาวใส่ต่างหูมุก” (ค.ศ. 1665 - 1667) โดย โยฮันส์ เวร์เมร์ หรือรู้จักกันในชื่อ “โมนาลิซาเหนือ”

การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง[2] ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย,[3] ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น[4] แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก[5]

จิตรกรรมตะวันตกเริ่มด้วยการเขียนภาพสำหรับสถาบันศาสนา ต่อมาผู้อุปถัมภ์ก็ขยายออกมารวมถึงเจ้านายและชนชั้นกลาง ตั้งแต่ยุคกลาง มาจนถึง ยุคเรเนสซองส์ จิตรกรสร้างงานให้กับสถาบันศาสนาและลูกค้าผู้มั่งคั่ง พอมาถึงสมัยสมัยบาโรกจิตรกรก็รับงานจากผู้มีการศึกษาดีขึ้นและจากชนชั้นกลางผู้มีฐานะดี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จิตรกรก็เป็นอิสระจากความต้องการของผู้อุปถัมภ์หรือลูกค้าในการวาดแต่เพียงภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ตำนานเทพ ภาพเหมือน หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ปรัชญาที่ว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art's sake) ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยการแสดงออกทางผลงานเช่นงานเขียนของฟรานซิสโก โกยา, จอห์น คอนสเตเบิล (John Constable) และ เจย์ เอ็ม ดับเบิลยู เทอร์เนอร์ (J.M.W. Turner)

สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของการเขียนภาพเกิดขึ้นในทวีปยุโรปร���หว่างยุคเรเนสซองส์ซึ่งเป็นสมัยที่มีการวิวัฒนาการต่างๆ รวมทั้งการวาดเส้น การเขียนแบบทัศนียภาพ การสร้างสถาปัตยกรรมใหญ่ๆ การทอพรมแขวนผนัง การสร้างหน้าต่างประดับกระจกสี การสร้างประติมากรรม และเป็นสมัยก่อนหน้าและหลังจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์[6] หลังจากการพัฒนาในด้านต่างๆ ในยุคเรเนสซองส์ จิตรกรรมตะวันตกตั้งแต่ยุคบาโรกมาจนถึงศิลปะร่วมสมัยก็ยังคงวิวัฒนาการต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21

อ้างอิง

แก้
  1. ศิลปะของโลกตะวันตก: ยุคกรีกโบราณถึงยุคหลังสมัยใหม่ โดย บรูซ โคล, ไซมอนและชุสเตอร์, ค.ศ. 1981,[1] accessed 27 ตุลาคม ค.ศ. 2007
  2. “การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน
  3. [2] นิวยอร์กไทมส, ฮอลแลนด์ ค็อตเตอร์ , accessed 27 ตุลาคม ค.ศ. 2007]
  4. ญี่ปุ่น: อิทธิพลของศิลปะญี่ปุ่นต่อศิลปะตะวันตกตั้งแต่ ค.ศ. 1858 โดยซิกฟรีด วิคแมน, เทมส์และฮัดสัน; ฉบับใหม่ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999), ISBN-10: 0500281637, ISBN-13: 978-0500281635
  5. “การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (1 มิถุนายน ค.ศ. 1989), ISBN-10 0520059026, ISBN-13 978 0520059023
  6. [3] accessed 27 ตุลาคม ค.ศ. 2007

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรม   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมแบ่งตามคริสต์ศตวรรษ   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมยุคเรเนสซองส์