จาง ชุนหฺวา
จาง ชุนหฺวา (ค.ศ. 189 – พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 247) เป็นกุลสตรีและชนชั้นสูงชาวจีน เป็นภรรยาของสุมาอี้ ขุนศึกและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนสำคัญของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน จาง ชุนหฺวาได้รับสมัญญานามว่า จักรพรรดินีเซฺวียนมู่ (เซฺวียนมู่หฺวางโฮ่ว) ในปี ค.ศ. 266 โดยสุมาเอี๋ยนผู้เป็นหลานและเป็นผู้ล้มล้างรัฐวุยก๊กและก่อตั้งราชวงศ์จิ้นในปีเดียวกันนั้น[1]
จาง ชุนหฺวา 張春華 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประสูติ | ค.ศ. 189[1][a] อำเภอผิงเกา เมืองโห้ลาย จักรวรรดิฮั่น (ปัจจุบันคืออำเภอเวิน มณฑลเหอหนาน) | ||||||||
สวรรคต | พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 247 (58 ปี)[1][a] | ||||||||
ฝังพระศพ | เขตเหยี่ยนชือ นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | ||||||||
คู่อภิเษก | สุมาอี้ | ||||||||
พระราชบุตร รายละเอียด | |||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ตระกูลสุมา | ||||||||
พระราชบิดา | จาง วาง | ||||||||
พระราชมารดา | ชานชื่อ |
ประวัติ
แก้จาง ชุนหฺวาเป็นชาวอำเภอผิงเกา (平臯縣 ผิงเกาเซี่ยน) เมืองโห้ลาย (河內郡 เหอเน่ย์จฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอเวิน มณฑลเหอหนาน จาง ชุนหฺวาเกิดช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาชื่อจาง วาง (张汪) รับราชการในตำแหน่งนายอำเภอของอำเภอซู่อี้ (粟邑縣 ซู่อี้เซี่ยน) ในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก มารดาของจาง ชุนหฺวามีชื่อสกุลเดิมว่า "ชาน" (山) เป็นพี่สาวหรือน้องสาวของปู่ของของชาน เทา (山濤) ผู้เป็นหนึ่งในเจ็ดปราชญ์แห่งป่าไผ่ จาง ชุนหฺวาในวัยเด็กมีชื่อเสียงในด้านความประพฤติอันดีงามและสติปัญญาที่ดีเลิศ[4]
จาง ชุนหฺวาสมรสกับสุมาอี้ และให้กำเนิดบุตรชายสามคน ได้แก่ สุมาสู สุมาเจียว และซือหม่า ก้าน (司馬幹) จาง ชุนหฺวายังให้กำเนิดบุตรสาวหนึ่งคนที่ไม่มีการบันทึกชื่อตัวเอาไว้ในประวัติศาสตร์ แต่รู้��ักกันในนามเจ้าหญิงหนานหยาง (南陽公主 หนานหยางกงจู่) ในสมัยราชวงศ์จิ้น[5] เจ้าหญิงหนานหยางเป็นภรรยาของสฺวิน อี้ (荀霬) หลานชายของซุนฮก[b]
ช่วงเวลาหนึ่งก่อน ค.ศ. 208[c] ขุนศึกโจโฉต้องการเรียกตัวสุมาอี้ให้มารับราชการในราชสำนัก สุมาอี้อ้างว่าตนเป็นอัมพาตและนอนซมอยู่บ้าน วันหนึ่งสุมาอี้นำตำราออกมาผึ่งแดดที่ด้านนอก จู่ ๆ เกิดฝนตกหนัก สุมาอี้จึงรีบวิ่งไปเก็บตำรา หญิงรับใช้คนหนึ่งเห็นเหตุการณ์ จาง ชุนหฺวากังวลว่าหญิงรับใช้คนนั้นจะปล่อยข่าวรั่วไหลว่าสุมาอี้สบายดีและจะทำให้ตระกูลสุมาเจอกับปัญหา จาง ชุนหฺวาจึงสังหารหญิงรับใช้เพื่อปิดปาก จากนั้นจึงเตรียมอาหารให้ตระกูลสุมาด้วยตนเอง สุมาอี้ประทับใจการกระทำของจาง ชุนหฺวาอย่างมาก[8]
ในช่วงบั้นปลาย สุมาอี้ชื่นชอบไป่ฟูเหริน (柏夫人; มารดาของซือหม่า หลุน) ที่เป็นอนุภรรยา และเริ่มเหินห่างกับจาง ชุนหฺวา ครั้งหนึ่งสุมาอี้ล้มป่วย จาง ชุนหฺวาไปเยี่ยมไข้ สุมาอี้พูดกับจาง ชุนหฺวาว่า "สัตว์เฒ่าน่ารังเกียจ เหตุใดจึงมารบกวนข้า" จาง ชุนฺหวาโกรธมากและพยายามอดอาหารจะให้ตาย เหล่าบุตรชายของจาง ชุนหฺวาก็กระทำเช่นเดียวกัน สุมาอี้ตกใจมากจึงรีบขอโทษภรรยาและขอคืนดี ภายหลังสุมาอี้บอกคนผู้หนึ่งเป็นการลับว่า "สัตว์เฒ่านั่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ข้าก็แค่เป็นห่วงลูก ๆ เท่านั้น"[9]
จาง ชุนหฺวาเสียชีวิตในช่วงระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม ถึง 19 มิถุนายน ค.ศ. 247 ด้วยวัย 59 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[a] ศพถูกฝังที่สุสานเกา-ยฺเหวียน (高原陵 เกา-ยฺเหวียนหลิง; ปัจจุบันอยู่ในบริเวณเขตเหยี่ยนชือ นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน) โจฮองจักรพรรดิวุยก๊กพระราชทานสมัญญานามให้เป็น "กว่างผิงเซี่ยนจฺวิน" (廣平縣君) ใน ค.ศ. 264 ในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮวน จาง ชุนหฺวาได้รับสมัญญานามเป็น "เซฺวียนมู่เฟย์" (宣穆妃) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 สุมาเอี๋ยนผู้เป็นหลานชายของสุมาอี้บังคับให้จักรพรรดิโจฮวนสละราชสมบัติให้ตน และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนที่รัฐวุยก๊ก สุมาเอี๋ยนขึ้นเป็นจักรพรรดิและพระราชทานสมัญญานามจาง ชุนหฺวาผู้เป็นพระอัยกีให้เป็น "จักรพรรดินีเซฺวียนมู่" (宣穆皇后 เซฺวียนมู่หฺวางโฮ่ว)[10]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
แก้จาง ชุนหฺวาเปิดตัวครั้งแรกในฐานะตัวละครที่เลือกเล่นได้ในภาคที่ 8 ของซีรีส์วิดีโอเกมไดนาสตีวอริเออร์ของโคเอ และยังปรากฏตัวในซีรีส์การ์ตูนฮ่องกงหงสาจอมราชันย์โดยเฉิน โหม่ว[d] หลิว เทารับบทแสดงเป็นจาง ชุนหฺวาในซีรีส์โทรทัศน์จีนในปี พ.ศ. 2560 เรื่องสุมาอี้ นักปราชญ์ยอดขุนพล
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 จิ้นชู บันทึกว่าจาง ชุนหฺวาเสียชีวิตในเดือน 4 ของศักราชเจิ้งฉื่อปีที่ 8 ในรัชสมัยของโจฮองด้วยอายุ 59 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[2][3] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคมถึง 19 มิถุนายน ค.ศ. 247 ตามปฏิทินกริกอเรียน เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของจาง ชุนหฺวาควรเป็นปี ค.ศ. 189
- ↑ ชีวประวัติซุนฮกในสามก๊กจี่บันทึกว่าภรรยาของสฺวิน อี้ผู้เป็นหลานชายของซุนฮกนั้นเป็นน้องสาวของสุมาสูและสุมาเจียว[6] ใน บทยกย่องเจ้าหญิงใหญ่แห่งลำหยง (南阳长公主诔 หนานหยางฉางกงจู่เหล่ย์) โดยพาน เยฺว่ (潘岳) พาน เยฺว่กล่าวถึงตระกูลซุน (言告言归,作合于荀。) จึงสามารถอนุมานได้ว่าเจ้าหญิงหนานหยางเป็นภรรยาของสฺวิน อี้
- ↑ ชีวประวัติของสุมาอี้ในจิ้นชูระบุว่าโจโฉยังคงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีโยธาธิการขณะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น[7] เนื่องจากโจโฉได้เลื่อนขึ้นเป็นอัครมหาเสนาบดีใน ค.ศ. 208 เหตุการณ์นี้จึงเกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 208
- ↑ จาง ชุนหฺวาในหงสาจอมราชันย์เปิดตัวในชื่อซันอู๋หลิน (山無陵 ชาน อู๋หลิง) ทายาทของตระกูลซัน (山 ชาน) ซึ่งตามประวัติศาสตร์เป็นตระกูลฝั่งมารดาของจาง ชุนหฺวา
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 de Crespigny (2007), p. 1039.
- ↑ (八年夏四月,夫人張氏薨。) จิ้นชู เล่มที่ 1.
- ↑ (魏正始八年崩,時年五十九,) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (宣穆張皇后諱春華,河內平臯人也。父汪,魏粟邑令;母河內山氏,司徒濤之從祖姑也。后少有德行,智識過人,...) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (...生景帝、文帝、平原王幹、南陽公主。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (霬妻,司马景王、文王之妹也...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 10.
- ↑ (魏武帝為司空,聞而辟之。帝知漢運方微,不欲屈節曹氏,辭以風痺,不能起居。) จิ้นชู เล่มที่ 1.
- ↑ (宣帝初辭魏武之命,託以風痹,嘗暴書,遇暴雨,不覺自起收之。家惟有一婢見之,后乃恐事泄致禍,遂手殺之以滅口,而親自執爨。帝由是重之。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (其後柏夫人有寵,后罕得進見。帝嘗臥疾,后往省病。帝曰:「老物可憎,何煩出也!」后慚恚不食,將自殺,諸子亦不食。帝驚而致謝,后乃止。帝退而謂人曰:「老物不足惜,慮困我好兒耳!」) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (...葬洛陽高原陵,追贈廣平縣君。咸熙元年,追號宣穆妃。及武帝受禪,追尊為皇后。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
บรรณานุกรม
แก้- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.