จังหวัดหล่มศักดิ์

จังหวัดในอดีตของประเทศไทย

จังหวัดหล่มศักดิ์[1][2] เป็นจังหวัดในอดีตของประเทศไทย เคยอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลนครราชสีมา มณฑลเพชรบูรณ์ และมณฑลพิศณุโลก[3] เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตยาสูบภายในประเทศ[4] มีชาติพันธุ์พื้นเมืองเรียกว่า ไทหล่ม หรือลาวหล่ม ที่มีวัฒนธรรมใกล้ชิดกับลาวแถบหลวงพระบาง[5] ในอดีตเป็นจังหวัดชั้นนอกที่กันดาร มีประชากรน้อย และไม่มีเส้นทางคมนาคม[6]

จังหวัดหล่มศักดิ์
จังหวัด
พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2474
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้งเมืองหล่มศักดิ์ (ในระบบเทศาภิบาล)
พ.ศ. 2436
• เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด
พ.ศ. 2459
• ยุบรวมกับจังหวัดเพชรบูรณ์
1 เมษายน พ.ศ. 2474
ถัดไป
จังหวัดเพชรบูรณ์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์  ไทย

ประวัติ

แก้

หล่มศักดิ์ เดิมเป็นเมืองหนึ่งขึ้นสร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์ เพราะเมืองหล่ม (เก่า) ถูกทำลายไปมาก จึงย้ายมาตั้งเมืองใหม่ริมน้ำสัก จึงเรียกเมืองหล่มแห่งใหม่นี้ว่า "หล่มสัก" (แต่ทางราชการสยามสะกดว่า "หล่มศัก" หรือ "หล่มศักดิ์")[5] ครั้นเวลาต่อมาเมืองหล่มศักดิ์ได้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนใหญ่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น จึงได้มีการจัดตั้ง เมืองหล่มศักดิ์ (ในฐานะเขตการปกครองระดับที่สองในระบบเทศาภิบาล) ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2436 และขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2442 โดยเมืองหล่มศักดิ์ในขณะนั้นมีอาณาเขตกินไปถึงอำเภอด่านซ้าย และอำเภอวังสะพุง ครั้นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2450 จึงยกอำเภอวังสะพุงไปขึ้นกับเมืองเลยแทน[7] (ภายหลังอำเภอด่านซ้าย แยกออกเป็นอำเภอภูเรือและอำเภอนาแห้ว ส่วนอำเภอวังสะพุงแยกเป็นอำเภอภูกระดึง อำเภอภูหลวง อำเภอเอราวัณ อำเภอผาขาว และอำเภอหนองหิน ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดเลย) เมื่อ พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่า "เมือง" มาเป็น "จังหวัด" เมืองหล่มศักดิ์จึงถูกเรียกว่า จังหวัดหล่มศักดิ์[5] ซึ่งในขณะนั้นแบ่งเขตการปกครองเป็นสอง��ำเภอ คืออำเภอเมือง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอวัดป่าใน พ.ศ. 2460) และอำเภอหล่มเก่า[1]

จังหวัดหล่มศักดิ์มีการสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ตั้งโรงเรียนประจำจังหวัด คือ โรงเรียนสัตรีจังหวัดหล่มศักดิ์[8] (ปัจจุบันคือโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม)[9] และมีการสร้างสนามบินประจำจังหวัดหล่มศักดิ์ (ปัจจุบันคือ สนามบินสักหลง) เพราะขณะนั้นเมืองหล่มศักดิ์เป็นเมืองห่างไกลและยังไม่มีเส้นทางคมนาคม[10] การนี้ชาวจังหวัดหล่มศักดิ์ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างเครื่องบินชื่อ "จังหวัดหล่มศักดิ์ 1" ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวหล่มศักดิ์ที่ได้ร่วมบริจาค[6]

จังหวัดหล่มศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ[11] ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอวัดป่าเป็นอำเภอหล่มศักดิ์[12] หลังจากนั้นการสะกดคำว่า "หล่มศักดิ์" เป็น "หล่มสัก" เกิดขึ้นและถูกเปลี่ยนกลับหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 จนในปี พ.ศ. 2489 จึงสะกดว่า "หล่มสัก" สืบมา[5]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ของจังหวัดหล่มศักดิ์เดิม คือหมายเลข 3, 4, 9 และ 11 อันได้แก่ อำเภอหล่มสัก, หล่มเก่า, น้ำหนาว และเขาค้อ ตามลำดับ โดยขณะนั้นอำเภอน้ำหนาวและเขาค้อเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมือง (อำเภอวัดป่า)

จังหวัดหล่มศักดิ์ ประกอบไปด้วย 2 อำเภอ ได้แก่[1][13]

  1. อำเภอเมือง หรืออำเภอวัดป่า (ปัจจุบันแบ่งออกเป็น อำเภอหล่มสัก, อำเภอน้ำหนาว และอำเภอเขาค้อ)
  2. อำเภอหล่มเก่า

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 34–55. 29 เมษายน 2460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  2. "แผนกกรมกรรมาธิการ เรื่องสร้างกุฏิวัดศรีมงคล จังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ง): 1558. 11 สิงหาคม 2472.
  3. "แจ้งความกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องซ่อมทำฝายร่องเดื่อ ตำบลนาแซง ท้องที่อำเภอหล่มศักดิ์ มณฑลพิศณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 326. 29 เมษายน 2460.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกเลิกประกาศเก็บภาษีภายในแก่ยาสูบในจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์แลหล่มศักดิ์ ลงวันที่ 5 ตุลาคม ศก 127 ให้ใช้พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บภาษียา ลงวันที่ 10 สิงหาคม ศก 119 แลพระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีเก็บภาษียาสูบ ลงวันที่ 3 มิถุนายน ศก 123 แทน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ก): 404. 23 มีนาคม 2461.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 วิศัลย์ โฆษิตานนท์, ดร. (13 มิถุนายน 2558). "ว่าด้วยเรื่อง ชื่อเมืองหล่ม หล่มเก่า หล่มสัก และน้ำสัก". WordPress.com. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "แจ้งความกระทรวงกระลาโหม เรื่องสแดงการบินและรับเงินของชาวหล่มศักดิ์ซึ่งบริจาคให้สร้างเครื่องบิน "จังหวัดหล่มศักดิ์ 1"" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ง): 1540. 17 สิงหาคม 2467.
  7. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (003): 51. 21 เมษายน 2450. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  8. "แผนกกรมวิสามัญศึกษา เรื่องมีผู้บริจาคทรัพย์บำรุงโรงเรียนสัตรีจังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0): 2291. 17 ตุลาคม 2463.
  9. "ประวัติของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม". โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "คำแถลงการณ์ของเสนาธิการณ์ทหารบก เรื่อง สนามบินประจำจังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 1227. 13 กรกฎาคม 2467.
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2015-06-28.
  12. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–663. 14 พฤศจิกายน 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  13. "แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่อง รับประชาสมาชิก พ.ศ. 2470 จังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 2111. 9 ตุลาคม 2470.