จักรพรรดิโกโยเซ

จักรพรรดิโกะ-โยเซ (ญี่ปุ่น: 後陽成天皇โรมาจิGo-Yōzei-tennōทับศัพท์: โกะ-โยเซ เท็นโน; 31 ธันวาคม ค.ศ. 1571 – 25 กันยายน ค.ศ. 1617) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 107[1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]: 111  รัชสมัยของโกะ-โยเซอยู่ในช่วง ค.ศ. 1586 จนกระทั่งสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1611[3] เทียบเท่ากับช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างยุคอาซูจิ–โมโมยามะกับยุคเอโดะ

จักรพรรดิโกะ-โยเซ
後陽成天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์17 ธันวาคม ค.ศ. 1586 – 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1611
ราชาภิเษก4 มกราคม ค.ศ. 1587
ก่อนหน้าโองิมาจิ
ถัดไปโกะ-มิซูโน
ผู้สำเร็จราชการโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ
โชกุน
ประสูติ31 ธันวาคม ค.ศ. 1571
ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ
คาตาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 周仁โรมาจิKatahito) หรือ คาซูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 和仁โรมาจิKazuhito)
สวรรคตกันยายน 25, 1617(1617-09-25) (45 ปี)
พระราชวังเฮอัง เกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
ฝังพระศพฟูกากูซะ โนะ คิตะ โนะ มิซาซางิ (深草北陵) เกียวโต
คู่อภิเษกโคโนเอะ ซากิโกะ (สมรส 1586)
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโกะ-โยเซ (後陽成院 หรือ 後陽成天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาเจ้าชายมาซาฮิโตะ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ (คาจูจิ) ฮารูโกะ
ลายพระอภิไธย

พระนามของพระองค์นำมาจากพระนามของจักรพรรดิโยเซในคริสต์ศตวรรษที่ 9 กับคำว่า โกะ (後) ที่แปลว่าที่สองหรือยุคหลังเข้าไป ทำให้พระนามของพระองค์มีความหมายว่า จักรพรรดิโยเซที่ 2 หรือ จักรพรรดิโยเซยุคหลัง

พระราชวงศ์

แก้

ก่อนที่โกะ-โยเซขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) ว่า คาตาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 周仁โรมาจิKatahito) หรือ คาซูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 和仁โรมาจิKazuhito)[2]: 9 [3] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในเจ้าชายมาซาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 誠仁親王โรมาจิMasahito-shinnō; ค.ศ. 1552–1586)[2]: 424  มีอีกพระนามว่า เจ้าชายซาเนฮิโตะ และได้รับการตั้งพระนามหลังสวรรคตเป็น โยโกวอิง ไดโจเท็นโน ผู้เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิโองิมาจิ[2]: 10  พระราชมารดาเป็นนางพระกำนัล

พระบรมวงศานุวงศ์ของโกะ-โยเซประทับในไดริของพระราชวังหลวงเฮอัง พระบรมวงศานุวงศ์มีพระราชโอรสธิดาอย่างน้อย 35 พระองค์[2]: 113 

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา:

  • จักรพรรดินี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ (โคโนเอะ) ซากิโกะ (藤原近衛 前子; ค.ศ. 1575 – 11 สิงหาคม ค.ศ. 1630) ภายหลังเป็นชูกามนอิง (中和門院) ธิดาในโคโนเอะ ซากิฮิซะ (近衛 前久)
    • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงโชโก (聖興女王; 1590–1594)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงรีวโตอิง (龍登院宮; 1592–1600)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงเซชิ (清子内親王; 1593–1674) สมรสกับทากัตสึกาซะ โนบูฮิซะ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงบุนโก (文高女王; 1595–1644)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายโคโตฮิโตะ (政仁親王, 29 มิถุนายน 1596 – 11 กันยายน 1680) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโกะ-มิซูโน
    • พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าหญิงซนเอ (尊英女王; 1598–1611)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 4: โคโนเอะ โนบูฮิโระ (近衛 信尋, 24 มิถุนายน 1599 – 15 พฤศจิกายน 1649)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 7: เจ้าชายทากามัตสึ-โนะ-มิยะ โยชิฮิโตะ (29 เมษายน 1603 – 14 กรกฎาคม 1638; 高松宮好仁親王)[4]
    • พระราชโอรสองค์ที่ 9: อิจิโจ อากิโยชิ (一条 昭良, 12 มิถุนายน 1605 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1672)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 6: เจ้าหญิงเทชิ (貞子内親王; 1606–1675) สมรสกับนิโจ ยาซูมิจิ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 10: เจ้าชายโมโรจิกะ (庶愛親王) ภายหลังเป็น เจ้าชายนักบวชซนกากุ (1608–1661; 尊覚法親王)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 12: เจ้าหญิงซนเร็ง (尊蓮女王; 1614–1627)
  • พระมเหสี (ฮิ): คิโยฮาระ (ฟูรูอิจิ) ทาเนโกะ (清原古市 胤子, 1583–1658) ธิดาในฟูรูอิจิ ทาเนฮิเดะ (古市胤栄)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 9: เจ้าหญิงเรอุนอิง (冷雲院宮; 1611)[5]
    • พระราชโอรสองค์ที่ 11: เจ้าชายนักบวชโดโก (道晃法親王; 8 เมษายน 1612 – 5 สิงหาคม 1679)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 10: เจ้าหญิงคูกาอิง (空花院宮; 1613)
  • พระมเหสี (ฮิ): ธิดาในชูโต โทโกฮิโระ (中東時広, เสียชีวิต ค.ศ. 1680)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 12: เจ้าชายนักบวชโดชู (道周法親王; 1613–1634)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 13: เจ้าชายนักบวชจิอิง (慈胤法親王; 1617–1699)
  • นางพระกำนัล (ไนชิ-โนะ-ซูเกะ): ฟูจิวาระ (นากายามะ) ชิกาโกะ (藤原中山親子; 1576–1608) ธิดาในนามายามะ โอยัตสึนะ (中山親綱)
    • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายคาตาฮิโตะ (1588–1648; 良仁親王) ภายหลังเป็น เจ้าชายนักบวชคากูชิง
    • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายนักบวชโชไก (承快法親王; 1591–1609)
  • นางพระกำนัล (ไนชิ-โนะ-ซูเกะ): ฟูจิวาระ (ฮิโนะ) เทรูโกะ (藤原日野 輝子, 1581–1607) ธิดาในฮิโนะ เทรูซูเกะ (日野輝資)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายโทชิอัตสึ (1602–1651; 毎敦親王) ภายหลังเป็น เจ้าชายนั���บวชซนเซ (尊性法親王)
  • นางพระกำนัล (ไนชิ-โนะ-ซูเกะ): ฟูจิวาระ (จิเมียวอิง) โมโตโกะ (藤原持明院 基子; เสียชีวิต ค.ศ. 1644) ธิดาในจิเมียวอิง โมโตโนริ (持明院基孝)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 6: เจ้าชายสึเนโยชิ (常嘉親王) ภายหลังเป็น เจ้าชายนักบวชเกียวเน็ง (尭然法親王; 1602–1661)
  • นางพระกำนัล (ไนชิ-โนะ-ซูเกะ): มินาโมโตะ (นิวาตะ) โทโมโกะ (源庭田 具子; เสียชีวิต ค.ศ. 1626) ธิดาในนิวาตะ ชิเงโตโมะ (庭田重具)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 8: เจ้าชายนักบวชเรียวจุง (良純法親王; 1603–1669)
  • นางพระกำนัล (ไนชิ-โนะ-ซูเกะ): ฟูจิวาระ (ฮามูโระ) โนบูโกะ (藤原葉室 宣子; เสียชีวิต ค.ศ. 1679) ธิดาในฮามูโระ โยริโนบุ (葉室頼宣)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 11: เจ้าหญิงซนเซ (尊清女王; 1613–1669)
  • หญิงรับใช้ (ไนชิ-โนะ-โจ): ไทระ (นิชิโนโตอิง) โทกิโกะ (平西洞院 時子, เสียชีวิต ค.ศ. 1661) ธิดาในนิชิโนโตอิง โทกิโยชิ (西洞院時慶)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 7: เจ้าหญิงเอชู (永崇女王; 1609–1690)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 8: เจ้าหญิงโคอุนอิง (高雲院宮; 1610–1612)

พระราชประวัติ

แก้

เมื่อจักรพรรดิโองิมะชิผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) ได้สละราชบัลลังก์เมื่อปี พ.ศ. 2129 เจ้าชายคะตะฮิโตะผู้เป็นพระราชนัดดาพระชนมายุ 15 พรรษาจึงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมาโดยได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2130

พระราชพงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "後陽成天皇 (107)" (ภาษาญี่ปุ่น). Imperial Household Agency. n.d. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan.
  3. 3.0 3.1 Titsingh, Isaac (1834). von Klaproth, Julius (บ.ก.). Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. pp. 402–409.
  4. ทากามัตสึ-โนะ-มิยะคนแรก
  5. สวรรคตตั้งแต่วัยเยาว์