จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล (โปรตุเกส: Dom Pedro II; 2 ธันวาคม ค.ศ. 1825 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1891) มีพระสมัญญานามว่า "ผู้มีจิตใจสูงส่ง" (the Magnanimous)[1] ทรงเป็นพระประมุขพระองค์ที่สองและพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิบราซิล ทรงครองราชบัลลังก์มานานกว่า 58 ปี พระองค์ประสูติที่รีโอเดจาเนโร เป็นพระบุตรพระองค์ที่เจ็ดในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลกับอาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย และเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์บราแกนซาสายบราซิล พระราชบิดาของพระองค์สละราชบัลลังก์อย่างทันทีทันใดและเสด็จไปยังยุโรปในปีค.ศ. 1831 ทรงสละราชย์ให้กับพระราชโอรสขณะมีพระชนมายุ 5 พรรษาในฐานะจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิลและนำไปสู่พระชนม์ชีพวัยเด็กและวัยรุ่นที่น่าหวาดกลัวและอ้างว้าง พระองค์จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้เพื่อการปกครอง พระองค์ทรงรู้ว่ามันเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆของความสุขเพียงหนึ่งเดียวและทรงพบปะกับพระสหายรุ่นคราวเดียวกันเพียงจำนวนเล็กน้อย ประสบการณ์ของพระองค์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักและความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเวลานี้ของพระองค์ได้รับส่งผลกระทบอย่างมากต่อพระอุปนิสัยในภายหลังของพระองค์ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเจริญพระชันษากลายเป็นผู้ที่มีความรู้สึกที่แรงกล้าต่อการปฏิบัติหน้าที่และทรงอุทิศพระองค์เพื่อประชาชนและประเทศชาติของพระองค์ ในทางตรงกันข้าม พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยในบทบาทของพระองค์ในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิมากขึ้นเรื่อยๆ

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล
พระบรมฉายาลักษณ์ เมื่อ ค.ศ. 1876
จักรพรรดิแห่งบราซิล
ครองราชย์7 เมษายน ค.ศ. 1831 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889
ราชาภิเษก18 กรกฎาคม ค.ศ. 1841
อาสนวิหารเก่าแห่งริโอเดจาเนโร
ก่อนหน้าเปดรูที่ 1
ถัดไปราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
ประมุขพระราชวงศ์บราซิล
ระหว่าง7 เมษายน ค.ศ. 1831 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1891
ก่อนหน้าจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
ถัดไปเจ้าหญิงอิซาเบล พระราชกุมารีแห่งบราซิล
พระราชสมภพ2 ธันวาคม ค.ศ. 1825
พระราชวังเซา คริสโตเบา รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
สวรรคต5 ธันวาคม ค.ศ. 1891
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
(พระชนมายุ 66 พรรษา)
พระราชบุตรเจ้าชายอาฟงซู พระราชกุมารแห่งบราซิล
เจ้าหญิงอิซาเบล พระราชกุมารีแห่งบราซิล
เจ้าหญิงลีโอโพลดินาแห่งบราซิล
เจ้าชายเปดรู พระราชกุมารแห่งบราซิล
พระบรมนามาภิไธย
เปดรู เดอ อัลคันทารา โจเอา คาร์ลอส ลีโอโพลโด ซัลวาดอร์ บีเบียโน ฟรานซิสโก ซาเวียร์ เดอ เปาลา ลีโอคาดีโอ มิเกล กาเบรียล ราฟาเอล กอนซากา
ราชวงศ์บราแกนซา
พระราชบิดาจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
พระราชมารดาอาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย
ลายพระอภิไธย

การสืบทอดจักรวรรดิอยู่บนปากเหวแห่งการล่มสลาย จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงหันมาใช้ภาษาโปรตุเกสบราซิลเพื่อเข้าสู่อำนาจในเวทีระดับชาติ ประเทศได้เจริญเติบโตโดยแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างกลุ่มฮิสปานิกอเมริกาในเรื่องความมีเสถียรภาพทางการเมือง การคุ้มครองเสรีภาพในการพูดอย่างขันแข็ง การเคารพในสิทธิมนุษยชน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบรัฐบาล การทำงานแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บราซิลยังคงได้ชัยชนะในความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสามกรณี (สงครามพลาทีน, สงครามอุรุกวัยและสงครามปารากวัย)ในรัชกาลของพระองค์ เช่นเดียวกับการชนะในข้อพิพาทในหลายประเทศอื่นๆ และความตึงเครียดภายในประเทศ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงผลักดันอย่างเหนียวแน่นในการผ่านการเลิกทาสแม้จะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผู้มีสติปัญญามีสิทธิในตนเอง องค์จักรพรรดิทรงสร้างพระเกียรติในฐานะผู้ทรงอุปถัมภ์ที่เข้มแข็งในการเรียนรู้, วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ พระองค์ทรงเคารพและชื่นชมนักวิชาการเช่น ชาลส์ ดาร์วิน, วิกตอร์ อูโก และฟรีดริช นีทเชอ และพระองค์เป็นพระสหายกับริชาร์ด วากเนอร์, หลุยส์ ปาสเตอร์และเฮนรี วัดส์เวิร์ท ลองเฟลโลว์ และคนอื่นๆ

แม้ว่าจะทรงปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐบาลที่ไม่ใช่ชาวบราซิลทั้งหมด องค์จักรพรรดิทรงถูกล้มราชบัลลังก์จากการรัฐประหารโดยฉับพลันที่เกือบจะไม่มีการสนับสนุนจากภายนอกของกลุ่มผู้นำทหารที่ต้องการการปกครองรูปแบบสาธารณรัฐที่นำโดยระบอบเผด็จการ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเบื่อหน่ายในสถาบันจักรพรรดิและสิ้นหวังในแนวโน้มของระบอบราชาธิปไตยในอนาคต แม้ว่าจะทรงได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้น พระองค์ทรงได้รับอนุญาตไม่ต้องถูกเนรเทศและไม่ทรงสนับสนุนความพยายามใดๆในการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพช่วงสองปีสุดท้ายในยุโรปโดยการเนรเทศ ทรงประทับเพียงลำพังและมีพระราชทรัพย์เพียงน้อยนิด

รัชสมัยของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 มาถึงจุดสิ้นสุดอย่างผิดปกติ พระองค์ทรงถูกล้มราชบัลลังก์ในขณะที่ทรงได้รับการยกย่องจากประชาชนสูงและทรงได้รับความนิยมจนถึงจุดสูงสุด และบางส่วนของความสำเร็จของพระองค์ได้ถูกนำมาสู่ความล้มเหลวในไม่ช้าของบราซิลที่มุ่งเข้าไปในระยะเวลานานของรัฐบาลที่อ่อนแอ, ระบอบเผด็จการ, และวิกฤตรัฐธรรมนูญและเศรษฐกิจ กลุ่มคนผู้ซึ่งเนรเทศพระองค์ได้เริ่มประพฤติตามแบบอย่างของพระองค์ในการบริหารสาธารณรัฐของชาวบราซิล ไม่กี่ทศวรรษหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ พระเกียรติยศของพระองค์ได้ถูกฟื้นฟูและพระบรมศพได้ถูกนำกลับไปยังบราซิลด้วยการเฉลิมฉลองทั่วประเทศ นักประวัติศาสตร์ได้ยกย่ององค์จักรพรรดิในแง่บวกอย่างมากและหลายแห่งได้มีการจัดอันดับให้พระองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบราซิล

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

แก้

ประสูติ

แก้
 
เจ้าชายเปดรูขณะทรงมีพระชนมายุ 10 เดือน ปีค.ศ. 1826

เจ้าชายเปดรูประสูติเวลา 02.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1825 ในพระราชวังเซา คริสโตเบา รีโอเดจาเนโร จักรวรรดิบราซิล[2] ทรงได้รับการตั้งพระนามตามนักบุญเปดรูแห่งอัลคันทารา[3][4] พระนามเต็มของพระองค์คือ เปดรู เดอ อัลคันทารา โจเอา คาร์ลอส ลีโอโพลโด ซัลวาดอร์ บีเบียโน ฟรานซิสโก ซาเวียร์ เดอ เปาลา ลีโอคาดีโอ มิเกล กาเบรียล ราฟาเอล กอนซากา[5] ทางพระราชบิดาของพระองค์คือ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล พระองค์ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ราชวงศ์บราแกนซาสายบราซิล(ภาษาโปรตุเกส: Bragança) และทรงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น "ดอม"(Dom; ลอร์ด)เมื่อแรกประสูติ[6] เจ้าชายเปดรูทรงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระอัยกาและทรงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระปิตุลา[7][8] พระราชมารดาของเจ้าชายเปดรูคือ อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย ทรงเป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์สุดท้าย ทางพระราชมารดา เจ้าชายเปดรูทรงเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระมาตุลาและทรงเป็นพระญาติกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 2, จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1แห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิเม็กซิโก[9]

เจ้าชายเปดรูทรงเป็นพระราชโอรสที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพระองค์เดียวของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพจนเจริญพระชันษา พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการในฐานะองค์รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์บราซิลด้วยพระอิสริยยศ เจ้าชายรัชทายาท (Prince Imperial) ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1826[10][11] จักรพรรดินีมาเรีย ลีโอโพลดิน่าสิ้นพระชนม์ในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1826 เพียงไม่กี่วันหลังจากทรงมีพระประสูติกาลบุตรซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ ขณะที่เจ้าชายเปดรูยังทรงมีพระชนมายุเพียง 1 พรรษา[12][13] สองปีครึ่งต่อมา พระราชบิดาของพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก เจ้าชายเปดรูทรงพัฒนาความสัมพันธ์ที่รักพระนาง ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าพระนางเป็นพระราชมารดาของพระองค์[14] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงตัดสินพระทัยที่จะฟื้นฟูราชบัลลังก์โปรตุเกสให้แก่พระราชธิดาคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ที่ซึ่งราชบัลลังก์ของพระนางทรงถูกช่วงชิงโดยพระเจ้ามิเกล ผู้เป็นพระปิตุลาและเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 เช่นเดียวกับสถานะทางการเมืองของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ที่ลดลงนำไปสู่การสละราชบัลลังก์อย่างกะทันหันของพระองค์ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1831[15][16] พระองค์และจักรพรรดินีอเมลีเสด็จไปยังยุโรปทันที ทรงทิ้งเจ้าชายรัชทายาทไว้เบื้องหลัง ผู้ซึ่งได้ขึ้นครองราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล[17][18]

ช่วงต้นพระราชพิธีราชาภิเษก

แก้
 
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิลขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบราชสำนักและประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำ ในปีค.ศ. 1838

ก่อนที่จะเสด็จออกจากประเทศ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงเลือกบุคคล 3 คนให้มาดูแลพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ยังทรงอยู่ คนแรกคือ ฌูเซ โบนิเฟชิโอ เดอ อันดราดา ซึ่งเป็นพระสหายของพระองค์และเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลในช่วงระหว่างเหตุการณ์อิสรภาพแห่งบราซิลโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง[19][20] คนที่สองคือ มาเรียนา เดอ เวอร์นา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ไออา (aia;พระอภิบาล) นับตั้งแต่การประสูติของจักรพรรดิเปดรูที่ 2[21] ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เจ้าชายรัชทายาททรงเรียกเธอว่า "ดาดามา" (Dadama) เนื่องจากพระองค์ไม่สามารถออกเสียงคำว่า "ดามา" (Dama) ซึ่งแปลว่า เลดี้ ได้ถูกต้อง[11] พระองค์ทรงยกย่องว่าเธอเป็นตัวแทนพระมารดาของพระองค์และพระองค์ยังคงเรียกชื่อเล่นของเธอแม้จะทรงเจริญพระชันษาแล้วด้วยความรัก[18][22] คนที่สามคือ ราฟาเอล ทหารผ่านศึกเชื้อสายแอฟโฟร-บราซิเลียนในสงครามคิสพลาทีน[21][23] เขาเป็นพนักงานในพระราชวังเซากริสโตเบา ซึ่งจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในตัวเขาอย่างมากและทรงโปรดให้เขาดูแลพระราชโอรส ซึ่งเป็นการดำเนินการดูแลในช่วงชีวิตที่เหลือของเขา[10][23]

โบนาเฟชิโอถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1833 และแทนที่ด้วยผู้ปกครองคนอื่น[24] จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงใช้เวลาไปกับการศึกษาโดยมีเวลาเพียงสองชั่วโมงกำหนดไว้สำหรับเพื่อทรงพระสำราญ[25][26] ทรงมีความเฉลียวฉลาด แม้ว่าจะทรงห่างไกลจากความเป็นอัจฉริยะแต่ก็ทรงสามารถที่จะเปิดรับความรู้ได้อย่างง่ายดายมาก[27] อย่างไรก็ตามชั่วโมงสำหรับการศึกษาทรงต้องใช้ความอุตสาหะมากและเป็นการเรียกร้องเพื่อการเตรียมพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงมีพระสหายรุ่นคราวเดียวกันจำนวนน้อยและทรงต้องติดต่อกับพระเชษฐภคินีของพระองค์อย่างจำกัด สิ่งที่มาควบคู่กับการสูญเสียพระราชยิดาและพระราชมารดาอย่างฉับพลันของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 คือ ทรงได้รับการอบรมและอภิบาลที่ไม่มีความสุขและโดดเดี่ยว[28] สภาพแวดล้อมที่ทรงต้องเผชิญจากการที่ทรงถูกอภิบาลดูแลได้เปลี่ยนให้พระองค์ทรงมีพระบุคลิกขี้อายและขาดแคลน ทรงเห็นหนังสือเป็นที่หลบภัยและทรงหลีกหนีจากโลกความเป็นจริง[29][30]

ความเป็นไปได้ในการลดอายุการบรรลุนิติภาวะขององค์จักรพรรดิ แทนที่จะรอจนกว่าทรงมีพระชนมายุครบ 18 พรรษา ซึ่งอายุได้ถูกเลื่อนขึ้นในปีค.ศ. 1835[31] การเลื่อนฐานะการขึ้นสู่ราชบัลลังก์ได้นำไปสู่ช่วงเวลาที่มีปัญหาของวิกฤตที่ไม่สิ้นสุด คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้สร้างการปกครองในนามพระองค์ซึ่งถูกสั่นคลอนตั้งแต่เริ่มต้นโดยข้อพิพาทระหว่างฝ่ายการเมืองและเกิดการกบฏทั่วประเทศ[32] นักการเมืองซึ่งเข้ามามีอำนาจในช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1830 ในขณะนี้เริ่มเคยชินกับความผิดพลาดในการปกครอง ตามความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์ โรเดอริค เจ. บาร์แมน ที่ว่า ในค.ศ. 1840 "พวกเขาได้สูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถทางการปกครองประเทศของตนเอง พวกเขายอมรับจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ในฐานะพระประมุขผู้มีอำนาจ ผู้ซึ่งทรงแสดงภาพแทนในฐานะทรงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับความอยู่รอดของประเทศ"[33] เมื่อทรงถูกทูลถามโดยนักการเมืองว่า ถ้าพระองค์ทรงต้องการพระราชอำนาจเต็มหรือไม่ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงยอมรับอย่างเอียงอาย[34] ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1840 สมัชชาแห่งชาติ (รัฐสภาบราซิล) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้จักรพรรดิเปดรูที่ 2 พระชนมายุ 14 พรรษา บรรลุนิติภาวะ[35] ต่อมาพระองค์ทรงเข้าพระราชพิธีสรรเสริญ, สวมมงกุฎและอุทิศเพื่อพระเจ้าในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1841[36][37]

การกระชับอำนาจ

แก้

การสถาปนาพระราชอำนาจ

แก้
 
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ขณะทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบราชสำนัก ในปีค.ศ. 1846

การพ้นจากตำแหน่งของคณะผู้สำเร็จราชการที่มีความขัดแย้งได้นำมาซึ่งความมั่นคงของรัฐบาล จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงถูกมองไปทั่วประเทศในฐานะผู้ทรงพระราชอำนาจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่วางพระองค์อยู่เหนือการแบ่งพรรคแบ่งพวกและข้อพิพาทเล็กๆน้อยๆ แต่พระองค์ก็ยังทรงเป็นไม่มากไปกว่าเด็กหนุ่ม และขี้อาย ไม่มั่นคงและยังไม่เจริญพระชันษา[38] ธรรมชาติของพระองค์เป็นผลมาจากวัยเยาว์ที่แตกหัก เมื่อพระองค์ทรงมีประสบการณ์จากการถูกทอดทิ้ง เล่ห์เพทุบายและการทรยศ[39] เบื้องหลังของพระองค์ มีกลุ่มคนระดับสูงในพระราชวังและนักการเมืองที่โดดเด่นนำโดย ออรีลีอาโน โคทินโฮ (ต่อมาคือ ไวส์เคานท์แห่งเซเปติบา) ได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ "ฝ่ายราชสำนัก" ซึ่งพวกเขาได้สร้างอิทธิพลเหนือยุวจักรพรรดิ บางคนก็ใกล้ชิดกับพระองค์มาก เช่น มาเรียนา เดอ เวอร์นา และเจ้ากรมวัง เปาโล บาร์บอซา ดา ซิลวา[40] พระองค์ทรงถูกใช้เป็นเครื่องมือของข้าราชสำนักในการต่อต้านศัตรูที่แท้จริงหรือคนที่พวกเขาสงสัยว่าเป็นศัตรู[41]

รัฐบาลบราซิลได้รับประกันเจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองเพื่อหมั้นหมายกับจักรพรรดิ พระนางและจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงอภิเษกสมรสโดยฉันทะในเนเปิลส์วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1843[42] แต่เมื่อทรงพบกับพระนางจริงๆ องค์จักรพรรดิทรงผิดหวังอย่างเห็นได้ชัด[43] พระนางเทเรซา คริสตินาทรงมีพระวรกายเตี้ย ทรงมีน้ำหนักมากและแม้ว่าจะไม่ทรงถึงกับอัปลักษณ์ แต่ก็ไม่ทรงพระสิริโฉม[44] พระองค์ทรงพยายามที่จะซ่อนความท้อแท้เล็กน้อย ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งบอกว่าพระองค์ทรงหันหลังให้แก่พระนางเทเรซา คริสตินา อีกภาพหนึ่งกล่าวว่า พระองค์ทรงตกพระทัยอย่างมากและมีพระประสงค์ที่จะนั่ง และมันก็อาจจะเป็นไปได้หากเหตุการณ์ทั้งคู่เกิดขึ้น[45] ในคืนนั้น จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงกันแสงและทรงตรัสกับมาเรียนา เดอ เวอร์นา ว่า "พวกเขาหลอกฉัน ดาดามา!"[46] ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการโน้มน้าวให้พระองค์รู้ถึงหน้าที่ที่ต้องทรงดำเนินต่อไป[47] พิธีศีลสมรสโดยมีการให้สัตย์สาบานผ่านตัวแทนก่อนหน้านี้แล้วและมีการรับพรสมรสในวันต่อมา วันที่ 4 กันยายน[48]

ในช่วงปลายค.ศ. 1845 และต้นค.ศ. 1846 จักรพรรดิได้เสด็จประพาสแคว้นทางตอนใต้ของบราซิล โดยทรงเดินทางผ่านเซาเปาลู (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปารานาในขณะนั้น), รัฐซันตากาตารีนาและรัฐรีโอกรันดีโดซูล พระองค์ทรงพบกับการรับเสด็จอย่างอบอุ่นและกระตือรือร้น[49] ในตอนนั้นจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเจริญพระชันษาสมบูรณ์ทั้งพระวรกายและจิตใจ พระองค์ทรงเจริญพระชันษาด้วยความสูง 1.90 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว)1.90 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว)*[50][51] ด้วยพระเนตรสีฟ้าและพระเกศาสีบลอนด์ทอง[52] ทรงพระสิริโฉมหล่อเหลา[53] เมื่อทรงเจริญพระชันษา จุดอ่อนของพระองค์ได้จางหายไปและจุดแข็งทางบุคลิกภาพของพระองค์ได้เด่นขึ้นมา พระองค์ทรงมีความมั่นพระทัยและมีความรู้ไม่เพียงแต่ทรงมีความเป็นธรรมและความขยันหมั่นเพียรเท่านั้น แต่ยังทรงสุภาพ อดทนและสง่างาม บาร์แมนได้กล่าวว่า พระองค์ยังคง"มีอารมณ์ของพระองค์ภายใต้ระเบียบวินัยเหล็ก พระองค์ไม่ทรงเคยหยาบคายและไม่เคยมีพระอารมณ์ที่ไม่ดี พระองค์ทรงเป็นคนที่รอบคอบเป็นพิเศษในด้านการพูดและความระมัดระวังในการกระทำ"[54] สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงนี้คือ เป็นจุดสิ้นสุดของอำนาจจากฝ่ายราชสำนัก จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงได้รับการรับรองพระราชอำนาจอย่างเต็มที่และทรงประสบความสำเร็จในการวางแผนทำให้สิ้นสุดอิทธิพลของข้าราชสำนักโดยการปลดพวกเขาออกจากวงในของพระองค์ ในขณะที่ทรงหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความแตกแยกในสาธารณะ[55]

การยกเลิกการค้าทาสและสงคราม

แก้
 
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ขณะมีพระชนมายุ 22 พรรษา ราวปีค.ศ. 1848 นี้เป็นพระบรมฉายาลักษณ์รูปแรกๆที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของจักรพรรดิ

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ตอ้งเผชิญกับวิกฤตการณ์ถึงสามครั้งระหว่างปีค.ศ. 1848 และ 1852[56] ครั้งแรกคือการเผชิญหน้ากับการลักลอบนำเข้าทาสอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามในปีค.ศ. 1826 ในส่วนสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักร[57] การค้าทาสยังคงมีอย่างไม่ลดน้อยถอยลง แต่รัฐบาลอังกฤษต���มพระราชบัญญัติอเบอร์ดีนปีค.ศ. 1845 ได้อนุญาตให้เรื่อรบอังกฤษขึ้นเรือของบราซิลและยึดครองเมื่อพบว่ามีการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับการค้าทาส[58] ในขณะที่บราซิลกำลังต่อสู้กับปัญหานี้ กบฏไปรเอราได้เกิดขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1848 นี่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นภายในรัฐเปร์นัมบูกู ซึ่งในที่สุดถูกปราบในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1849 กฎหมายยูซีบิโอเดกูเอโรส (Eusébio de Queirós Law)ได้ถูกประกาศใช้ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1850 ซึ่งทำให้รัฐบาลบราซิลมีอำนาจในวงกว้างที่จะทำการต่อสู้กับการค้าทาสที่ผิดกฎหมาย ด้วยเครื่องมือใหม่นี้ บราซิลได้ย้ายไปกำจัดการนำเข้าทาส ในปีค.ศ. 1852 วิกฤตครั้งแรกนี้ได้สิ้นสุด และอังกฤษได้ยอมรับว่าการค้าทาสนี้ได้ถูกปราบปรามสิ้นแล้ว[59]

วิกฤตครั้งที่สามเป็นความขัดแย้งกับสมาพันธรัฐอาร์เจนตินาเกี่ยวกับความพยายามครอบครองดินแดนที่ติดกับรีโอเดลาปลาตาและระบบการคมนาคมทางน้ำอย่างเสรี[60] นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1830 ผู้นำเผด็จการอาร์เจนตินาคือ ฮวน มานูเอล เดอ โรสซัสได้สนับสนุนการกบฏภายในอุรุกวัยและบราซิล เพียงในปีค.ศ. 1850 บราซิลก็สามารถรับมือกับภัยคกคามที่สนับสนุนโดยโรสซัสได้[60] พันธมิตรที่ก่อตัวขึ้นระหว่างบราซิล, อุรุกวัยและชาวอาร์เจนตินาที่ไม่พอใจ[60] ชักนำไปสู่สงครามพลาทีนและการล้มล้างผู้นำอาร์เจนตินาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1852[61][62] บาร์แมนได้กล่าวว่า "เมื่อพิจารณาถึงเกียรติยศควรจะ...มอบให้กับองค์จักรพรรดิ ผู้ทรงมีพระทัยเย็น, ความยืนหยัดในสิ่งที่ประสงค์และความรู้สึกของความเหมาะสมในสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น"[56]

การนำทางที่ประสบความสำเร็จของจักรวรรดิต่อวิกฤตเหล่านี้ได้เพิ่มความมั่นคงและศักดิ์ศรีของประเทศอย่างมาก และบราซิลได้กลายเป็นมหาอำนาจของซีกโลก[63] ในสากลโลก ชาวยุโรปพยายามมองประเทศในฐานะเป็นสิ่งที่รวบรวมอุดมการณ์เสรีนิยมที่เหมือนๆกัน เช่น เสรีภาพของสื่อและการเคารพรัฐธรรมนูญเพื่อเสรีภาพ ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแบบรัฐสภายังคงยืนอยู่ขั้วตรงข้ามกับการผสมผสานของเผด็จการและความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของประเทศอื่นๆในลาตินอเมริกาช่วงเวลานี้[64]

พัฒนาการ

แก้

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 และการเมือง

แก้
 
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา ราวปีค.ศ. 1851

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1850 บราซิลสงบสุขด้วยความมั่นคงภายในและความเจริญทางเศรษฐกิจ[65][66] ภายใต้นายกรัฐมนตรีฮอนอริโอ เฮอเมโต คาร์เนโร เลเอา (ต่อมาคือไวส์เคานท์ และหลังจากนั้นคือมาควิสแห่งปารานา) จักรพรรดิทรงดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความทะเยอทะยานของพระองค์คือ คอนซิลีอาเชา (conciliação;การเจรจาต่อรอง) และเมลโฮราเมนตอส (melhoramentos;การพัฒนาทางวัตถุ)[67] ��ารปฏิรูปของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกทางการเมืองเกิดขึ้นน้อยที่สุด และมุ่งหน้าการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจ ทั้งประเทศได้ถูกเชื่อมต่อด้วยการขนส่งระบบราง, ระบบโทรเลขทางไฟฟ้าและเส้นทางเรือกลไฟ รวมอยู่ภายใต้องค์กรเดียว[65] ความเห็นทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศได้มองว่าความสำเร็จนี้เนื่องมาจาก "การกำกับดูแลของสถาบันพระมหากษัตริย์และลักษณะบุคลิกภาพของจักรพรรดิเปดรูที่ 2"[65]

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ไม่ทรงเป็นทั้งประมุขในนามแบบอังกฤษหรือพระบุคลิกที่มีอำนาจสูงสุดแบบพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย จักรพรรดิทรงใช้พระราชอำนาจผ่านการร่วมมือกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง, กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและแรงสนับสนุนที่ทรงเป็นที่นิยมของประชาชน[68] การแสดงพระองค์ของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 บนฉากการเมืองทรงมีส่วนสำคัญในโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งรวมทั้งในคณะรัฐมนตรี, สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (หลังจากนั้นทั้งสองได้รวมกันเป็นรัฐสภา) พระองค์ทรงใช้การมีส่วนร่วมของพระองค์ในการเข้ากำกับรัฐบาลในทางตรงโดยใช้ลักษณะของอิทธิพล ทิศทางของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แม้ว่าจะไม่มีการถ่ายโอนอำนาจเป็น "การปกครองโดยคนเดียว"[69] ในการรับมือกับพรรคการเมือง พระองค์"จำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงเพื่อความเป็นธรรม การทำงานสอดคล้องกับอารมณ์ที่เป็นที่นิยม และหลีกเลี่ยงการเอาเปรียบที่เห็นได้ชัด ตามเจตนาของพระองค์ที่ปรากฏบนฉากทางการเมือง"[70]

การประสบความสำเร็จของจักรพรรดิในทางการเมืองส่วนใหญ่ได้ปรากฏอย่างโดดเด่นมากขึ้นเนื่องจากลักษณะของการไม่เผชิญหน้าและการมีมารยาทร่วมกัน ด้วยพระองค์ทรงเข้าถึงทั้งปัญหาและผู้นำของฝ่ายต่างๆซึ่งพระองค์ได้ทำการเจรจาต่อรอง พระองค์ทรงมีพระบุคลิกที่พระทัยกว้างอย่างน่าทึ่ง ไม่ค่อยทรงโจมตีหรือบาดหมางในคำวิพากษ์วิจารณ์, ฝ่ายค้าน หรือแม้กระทั่งคนไร้ความสามารถ[71] พระองค์ไม่ทรงมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะบังคับให้ผู้คนยอมรับตามพระดำริของพระองค์โดยปราศจากการสนับสนุน และการสร้างความร่วมมือของพระองค์ต่อการปกครองประเทศยังคงมีความก้าวหน้าและเป็นการเปิดใช้ระบบการเมืองที่ทำงานอย่างประสบความสำเร็จ[72] จักรพรรดิทรงเคารพสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติแม้ว่าพวกเขาจะทำการต่อต้าน, กระทำการล่าช้า หรือทำการขัดขวางเป้าหมายและการแต่งตั้งของพระองค์[73] นักการเมืองส่วนใหญ่ชื่นชมและสนับสนุนบทบาทของพระองค์ หลายคนที่มีชีวิตอยู่ผ่านช่วงเวลาสมัยคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นช่วงที่ขาดจักรพรรดิผู้ทรงสามารถยืนหยัดเหนือผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆและพิเศษนำไปสู่ช่วงปีแห่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง ประสบการณ์ของพวกเขาในชีวิตทางการเมืองได้เชื่อมั่นว่า จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเป็นสิ่งที่"ขาดไม่ได้ในการสร้างความสงบและความเจริญรุ่งเรืองของบราซิลให้ดำเนินต่อไป"[74]

พระชนม์ชีพในราชวงศ์

แก้

การอภิเษกสมรสของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 และพระนางเทเรซา คริสตินา เริ่มต้นไม่ได้ด้วยดี แต่ด้วยการที่ทรงเจริญพระชันษา มีความอดทนอดกลั้นและการประสูติของบุตรพระองค์แรกคือ เจ้าชายอฟอนโซ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์พัฒนาดีขึ้นมาก[61][75] หลังจากนั้นจักรพรรดินีเทเรซา คริสตินาได้มีพระประสูติกาลพระโอรสธิดาตามมาอีกได้แก่ เจ้าหญิงอิซาเบลในปีค.ศ. 1846 เจ้าหญิงลีโอโพลดินาในปีค.ศ. 1847 และสุดท้ายคือเจ้าชายเปดรูในปีค.ศ. 1848[76] อย่างไรก็ตามพระโอรสทั้งสองพระองค์ก็ได้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ซึ่งสร้างความโศกเศร้าแก่จักรพรรดิมาก[77] นอกจากที่ทรงทุกข์ทรมานในฐานะที่เป็นบิดา มุมมองของพระองค์ต่อจักรวรรดิได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่าพระองค์จะทรงรักพระราชธิดามากแต่ก็ไม่ทรงเชื่อว่าเจ้าหญิงอิซาเบลจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเมื่อได้ครองราชบัลลังก์แม้ว่าเจ้าหญิงจะทรงเป็นรัชทายาทของพระองค์ก็ตาม พระองค์ทรงเห็นว่ารัชทายาทของพระองค์จำเป็นที่จะต้องเป็นบุรุษเท่านั้นที่จะสามารถขับเคลื่อนสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไปได้[78] พระองค์ได้ทำให้สถาบันจักรพรรดิผูกติดกับความสัมพันธ์ในตัวพระองค์เองมากขึ้นเรื่อยๆว่าจะไม่มีทางรอดหากไม่มีพระองค์[79] เจ้าหญิงอิซาเบลและพระขนิษฐาทรงได้รับการศึกษาที่โดดเด่นแม้ว่าจะไม่ทรงได้รับการเตรียมการปกครองประเทศเลย จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงตัดเจ้าหญิงอิซาเบลจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางธุรกิจและการตัดสินใจของรัฐบาล[80]

พระโอรสธิดา

แก้

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิลทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งทูซิชิลี มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
  เจ้าชายอาฟงซู พระราชกุมารแห่งบราซิล 184523 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1845
184711 มิถุนายน
ค.ศ. 1847
ทรงดำรงพระอิสริยยศ พระราชกุมารแห่งบราซิลจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
  เจ้าหญิงอิซาเบล พระราชกุมารีแห่งบราซิล 184629 กรกฎาคม
ค.ศ. 1846
192114 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1921
อภิเษกสมรส วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1864 กับ
เจ้าชายแกสตัน เคานท์แห่งอู
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงลุยซา วิตโตเรีย
เจ้าชายเปดรู เดอ อัลคันทารา เจ้าชายแห่งกราว-ปารา
เจ้าชายลูอิสแห่งออร์เลออง-บราแกนซา
เจ้าชายอันโตนิโอ กัสเตาแห่งออร์เลออง-บราแกนซา

ทรงเป็นทั้งพระราชกุมารีแห่งบราซิลและเคานท์เตสแห่งอูจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแกสตันแห่งออร์เลออง พระนางยังคงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งจักรวรรดิในขณะที่พระราชบิดาเสด็จเยือนต่างประเทศ
  เจ้าหญิงลีโอโพลดินาแห่งบราซิล 184713 กรกฎาคม
ค.ศ. 1847
18717 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1871
อภิเษกสมรส วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1864 กับ
เจ้าชายลุดวิก ออกัสแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี
มีพระโอรส 4 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายปีเตอร์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี
เจ้าชายออกัส ลีโอโปลด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี
เจ้าชายโจเซฟแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี
เจ้าชายลุดวิกแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี
  เจ้าชายเปดรู พระราชกุมารแห่งบราซิล 184819 กรกฎาคม
ค.ศ. 1848
18509 มกราคม
ค.ศ. 1850
ทรงดำรงพระอิสริยยศ พระราชกุมารแห่งบราซิลจนกระทั่งสิ้นพระชนม์

พระราชตระกูล

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าโจเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อาร์คดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าโจเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงมาเรียนา วิกโตเรียแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
2. จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
1. จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
12. จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
 
 
 
 
 
 
 
6. จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
��
 
 
 
26. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน(=20)
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงมาเรีย หลุยซาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี(=21)
 
 
 
 
 
 
 
3. อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน(=20)
 
 
 
 
 
 
 
14. พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งทูซิชิลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี(=21)
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลีส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์(=24)
 
 
 
 
 
 
 
15. อาร์คดัสเชสมาเรีย แคโรไลนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา(=25)
 
 
 
 
 
 


เชิงอรรถ

แก้
  1. Barman 1999, p. 85.
  2. See:
  3. Calmon 1975, p. 3.
  4. Schwarcz 1998, p. 45.
  5. See:
  6. Barman 1999, p. 424.
  7. Besouchet 1993, p. 40.
  8. Schwarcz 1998, p. 47.
  9. See:
  10. 10.0 10.1 Vainfas 2002, p. 198.
  11. 11.0 11.1 Calmon 1975, p. 5.
  12. Calmon 1975, p. 15.
  13. Besouchet 1993, p. 41.
  14. See:
  15. Carvalho 2007, p. 21.
  16. Lira 1977, Vol 1, p. 15.
  17. Olivieri 1999, p. 5.
  18. 18.0 18.1 Barman 1999, p. 29.
  19. Lira 1977, Vol 1, p. 17.
  20. Schwarcz 1998, p. 50.
  21. 21.0 21.1 Carvalho 2007, p. 31.
  22. Besouchet 1993, p. 39.
  23. 23.0 23.1 Calmon 1975, p. 57.
  24. See:
  25. Carvalho 2007, p. 27.
  26. Olivieri 1999, p. 8.
  27. See:
  28. See:
  29. Carvalho 2007, pp. 29, 33.
  30. Barman 1999, p. 39.
  31. See:
  32. See:
  33. Barman 1999, p. 317.
  34. See:
  35. Carvalho 2007, p. 40.
  36. Schwarcz 1998, p. 73.
  37. Lira 1977, Vol 1, p. 72.
  38. Barman 1999, pp. 74–75.
  39. Barman 1999, p. 66.
  40. Barman 1999, p. 49.
  41. Barman 1999, p. 80.
  42. See:
  43. See:
  44. See:
  45. Barman 1999, p. 97.
  46. See:
  47. See:
  48. See:
  49. Barman 1999, p. 111.
  50. Carvalho 2007, p. 9.
  51. Barman 1999, p. 81.
  52. See:
  53. See:
  54. Barman 1999, pp. 109, 122.
  55. Barman 1999, pp. 109, 114.
  56. 56.0 56.1 Barman 1999, p. 122.
  57. Barman 1999, p. 123.
  58. Barman 1999, pp. 122–123.
  59. Barman 1999, p. 124.
  60. 60.0 60.1 60.2 Barman 1999, p. 125.
  61. 61.0 61.1 Barman 1999, p. 126.
  62. Carvalho 2007, pp. 102–103.
  63. Levine 1999, pp. 63–64.
  64. See:
  65. 65.0 65.1 65.2 Barman 1999, p. 159.
  66. Schwarcz 1998, p. 100.
  67. Barman 1999, p. 162.
  68. Barman 1999, pp. 161–162.
  69. Barman 1999, p. 178.
  70. Barman 1999, p. 120.
  71. Barman 1999, p. 164.
  72. Barman 1999, p. 165.
  73. Barman 1999, pp. 178–179.
  74. Barman 1999, p. 170.
  75. Carvalho 2007, p. 73.
  76. See:
  77. See:
  78. Barman 1999, pp. 129–130.
  79. Barman 1999, p. 130.
  80. Barman 1999, pp. 151–152.

อ้างอิงและอ่านเพิ่ม

แก้
  • Barman, Roderick J. (1999). Citizen Emperor: Pedro II and the making of Brazil, 1825–1891. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3510-0.
  • Barman, Roderick J. (2002). Princess Isabel of Brazil: gender and power in the nineteenth century. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-0842028462.
  • Bethell, Leslie (1993). Brazil: Empire and Republic, 1822–1930. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-36293-1.
  • Graham, Richard (1994). Patronage and Politics in Nineteenth-Century Brazil. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-2336-7.
  • Kurizky, Patricia Shu, et al. "The physician, the Emperor and the fibromyalgia: Charles-Édouard Brown-Séquard (1817–1894) and Dom Pedro II (1825–1891) of Brazil." Journal of medical biography 24.1 (2016): 45–50. online
  • Levine, Robert M. (1999). The History of Brazil. Westport, Connecticut: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-30390-6.
  • Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1977). Burke's Royal Families of the World (1st ed.). London: Burke's Peerage. ISBN 0-85011-023-8.
  • Munro, Dana Gardner (1942). The Latin American Republics: A History. New York: D. Appleton.
  • Skidmore, Thomas E. (1999). Brazil: five centuries of change. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-505809-3.
  • Topik, Steven C. (2000). Trade and Gunboats: The United States and Brazil in the Age of Empire. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-4018-0.
  • Williams, Mary Wilhelmine (1937). Dom Pedro, the Magnanimous, second Emperor of Brazil. Chapel Hill: U. of North Carolina Press.

ในภาษาโปรตุเกส

แก้
  • Benevides, José Marijeso de Alencar; Azevedo, Rubens de; Alcântara, José Denizard Macedo de (1979). D. Pedro II, patrono da astronomia brasileira (ภาษาโปรตุเกส). Fortaleza: Imprensa oficial do Ceará.
  • Besouchet, Lídia (1993). Pedro II e o Século XIX (ภาษาโปรตุเกส) (2nd ed.). Rio de Janeiro: Nova Fronteira. ISBN 978-85-209-0494-7.
  • Calmon, Pedro (1975). História de D. Pedro II (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1–5. Rio de Janeiro: José Olímpio.
  • Carvalho, José Murilo de (2007). D. Pedro II: ser ou não ser (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia das Letras. ISBN 978-85-359-0969-2.
  • Doratioto, Francisco (2002). Maldita Guerra: Nova história da Guerra do Paraguai (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia das Letras. ISBN 978-85-359-0224-2.
  • Ermakoff, George (2006). Rio de Janeiro – 1840–1900 – Uma crônica fotográfica (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: G. Ermakoff Casa Editorial. ISBN 978-85-98815-05-3.
  • Lira, Heitor (1977). História de Dom Pedro II (1825–1891): Ascenção (1825–1870) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1. Belo Horizonte: Itatiaia.
  • Lira, Heitor (1977). História de Dom Pedro II (1825–1891): Fastígio (1870–1880) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 2. Belo Horizonte: Itatiaia.
  • Lira, Heitor (1977). História de Dom Pedro II (1825–1891): Declínio (1880–1891) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 3. Belo Horizonte: Itatiaia.
  • Martins, Luís (2008). O patriarca e o bacharel (ภาษาโปรตุเกส) (2nd ed.). São Paulo: Alameda. ISBN 978-85-98325-68-2.
  • Mônaco Janotti, Maria de Lourdes (1986). Os Subversivos da República (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Brasiliense.
  • Olivieri, Antonio Carlos (1999). Dom Pedro II, Imperador do Brasil (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Callis. ISBN 978-85-86797-19-4.
  • Rodrigues, José Carlos (1863). Constituição política do Império do Brasil (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Typographia Universal de Laemmert.
  • Salles, Ricardo (1996). Nostalgia Imperial (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Topbooks. OCLC 36598004.
  • Sauer, Arthur (1889). Almanak Administrativo, Mercantil e Industrial (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Laemmert & C. OCLC 36598004.
  • Schwarcz, Lilia Moritz (1998). As barbas do Imperador: D. Pedro II, um monarca nos trópicos (ภาษาโปรตุเกส) (2nd ed.). São Paulo: Companhia das Letras. ISBN 978-85-7164-837-1.
  • Vainfas, Ronaldo (2002). Dicionário do Brasil Imperial (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Objetiva. ISBN 978-85-7302-441-8.
  • Vasquez, Pedro Karp (2003). O Brasil na fotografia oitocentista (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Metalivros. ISBN 978-85-85371-49-4.
  • Viana, Hélio (1994). História do Brasil: período colonial, monarquia e república (ภาษาโปรตุเกส) (15th ed.). São Paulo: Melhoramentos. ISBN 978-85-06-01999-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล ถัดไป
จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล    
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิล
(7 เมษายน ค.ศ. 1831 - 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889)
  ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง
สถาปนาสาธารณรัฐบราซิลครั้งที่หนึ่ง
ภายใต้ประธานาธิบดีดีโอโดโร ดา ฟอนเซกา
เจ้าหญิงมาเรีย
ต่อมา
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
   
เจ้าชายรัชทายาทแห่งบราซิล
(2 ธันวาคม ค.ศ. 1825 - 7 เมษายน ค.ศ. 1831)
  สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
สถาปนาสาธารณรัฐ    
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์บราซิล
(15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1891)
  เจ้าหญิงอิซาเบล