จักรพรรดินีเก็นโช

จักรพรรดินีเก็นโช (ญี่ปุ่น: 元正天皇โรมาจิGenshō-tennō; ค.ศ. 680 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 748) เป็นพระมหากษัตริย์ญี่ปุ่นองค์ที่ 44[1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2] รัชสมัยของพระนางอยู่ในช่วง ค.ศ. 715 ถึง 724[3]

จักรพรรดินีเก็นโช
元正天皇
พระบรมสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดินีเก็นโช (ยุคเอโดะ)
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ครองราชย์3 ตุลาคม ค.ศ. 715 – 3 มีนาคม ค.ศ. 724
ก่อนหน้าเก็มเม
ถัดไปโชมุ
ประสูติค.ศ. 680
อาซูกะ ประเทศญี่ปุ่น
ฮิดากะ (氷高 หรือ 日高),
นีโนมิ (新家)
สวรรคต22 พฤษภาคม ค.ศ. 748(748-05-22) (67–68 ปี)
นาระ ประเทศญี่ปุ่น
ฝังพระศพนาโฮยามะ โนะ นิชิ โนะ มิซาซางิ (奈保山西陵; นาระ)
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดินีเก็นโช (元正天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตะ-เนโกะ-ทากามิซูกิโยตาราชิฮิเมะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (日本根子高瑞浄足姫天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาเจ้าชายคูซากาเบะ
พระราชมารดาจักรพรรดินีเก็มเม

เก็นโชเป็นสตรีองค์ที่ 5 จาก 8 พระองค์ที่ขึ้นปกครองเป็นจักรพรรดินีนาถ และเป็นบุคคลเดียวในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ได้รับตำแหน่งจากจักรพรรดินีนาถอีกพระนางแทนที่จะมาจากฝ่ายชาย พระมหากษัตรี 4 พระองค์ก่อนหน้าได้แก่ซูอิโกะ, โคเงียวกุ, จิโต และเก็มเม; ส่วนอีก 3 พระองค์หลังจากพระนางได้แก่ โคเก็ง, เมโช และโกะ-ซากูรามาจิ

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

แก้

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ เก็นโชมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า ฮิดากะ-ฮิเมะ[5]

เก็นโชเป็นพระเชษฐภคินีในจักรพรรดิมมมุและพระราชธิดาในเจ้าชายคูซากาเบะกับพระมเหสีที่ภายหลังกลายเป็นจักรพรรดินีเก็มเม ดังนั้น พระนางจึงเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็มมุกับจักรพรรดินีจิโตผ่า��พระราชบิดา และพระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็งจิผ่านพระราชมารดา[6]

เหตุการณ์ในพระชนมชีพเก็นโช

แก้

การสืบราชบัลลังก์ของจักรพรรดินีเก็นโชตั้งใจเป็นช่วงสำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกระทั่งเจ้าชายโอบิโตะ พระราชโอรสในจักรพรรดิมมมุ ผู้มีศักดิ์เป็นพระอนุชาผู้ล่วงลับ มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะขึ้นครองบัลลังก์ได้ ภายหลังโอบิโตขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโชมุ

จักรพรรดินีเก็มเมทรงแต่งตั้งโอบิโตะเป็นมกุฎราชกุมารใน ค.ศ. 714 ปีถัดมาจักรพรรดินีเก็มเมในช่วงพระชนมพรรษา 50 พรรษา สละราชสมบัติให้แก่เก็นโช ตอนนั้นโอบิโตะมีพระชนมพรรษาเพียง 14 พรรษา

ใน ค.ศ. 724 เก็นโชสละราชสมบัติให้แก่พระราชนัดดาที่ภายหลังรู้จักกันในนามจักรพรรดิโชมุ เก็นโชยังคงมีพระชนมชีพหลังสละราชบัลลังก์อีก 25 ปี พระนางไม่เคยอภิเษกสมรสและไม่มีพระราชโอรสธิดา พระนางสวรรคตตอนพระชนมพรรษา 65 พรรษา[7]

รัชสมัยของเก็นโช

แก้

ปีในรัชสมัยเก็นโชมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือเน็งโง[8]

พระราชพงศาวลี

แก้

[9]

อ้างอิง

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 元正天皇 (44)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 56.
  3. Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 271–272; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 140–141; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 65–67., p. 65, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. Brown, p. 271.
  6. Brown, pp. 271–272.
  7. Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, p. 141.
  8. Titsingh, p. 65.
  9. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 27 January 2018.

ข้อมูล

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดินีเก็นโช ถัดไป
จักรพรรดินีเก็มเม    
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น
  สมเด็จพระจักรพรรดิโชมุ