งำเต๊ก[a], ขอดเต๊ก[b] หรือ กำเจ๊ก[c] (เสียชีวิตพฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 243[4]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า คั่น เจ๋อ (จีนตัวย่อ: 阚泽; จีนตัวเต็ม: 德潤; พินอิน: Kàn Zé) มีชื่อรองว่าเต๋อรุ่น (จีนตัวย่อ: 德润; จีนตัวเต็ม: 德潤; พินอิน: Dérùn) เป็นขุนนางของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน

งำเต๊ก (คั่น เจ๋อ)
闞澤
ราชครูของรัชทายาท (太子太傅)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 242 (242) – ค.ศ. 243 (243)
กษัตริย์ซุนกวน
หัวหน้ารัฐบาลโกะหยง
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 238 หรือก่อนหน้า (238 หรือก่อนหน้า) – ค.ศ. 243 (243)
กษัตริย์ซุนกวน
หัวหน้ารัฐบาลโกะหยง
หัวหน้าสำนักกวีหลวง (中書令)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 232 หรือภายหลัง (232 หรือภายหลัง) – ค.ศ. 238 หรือก่อนหน้า (238 หรือก่อนหน้า)
กษัตริย์ซุนกวน
หัวหน้ารัฐบาลโกะหยง
ราชเลขาธิการ (尚書)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 229 (229) – ค.ศ. 232 หรือภายหลัง (232 หรือภายหลัง)
กษัตริย์ซุนกวน
หัวหน้ารัฐบาลโกะหยง
นายอำเภอเชิน (郴令)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
นายอำเภอเจียนต๋อง (錢唐長)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
เมืองเช่าซิง มณฑลเจ้อเจียง
เสียชีวิต243
อาชีพขุนนาง, บัณฑิต
ชื่อรองเต๋อรุ่น (德潤)
บรรดาศักดิ์ตูเซียงโหฺว
(都鄉侯)

ประวัติ

แก้

งำเต๊กเป็นชาวอำเภอซานอิน เมืองห้อยเข (ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชี่ยวซิง มณฑลเจ้อเจียง) วัยเด็กยากจน ไม่มีเงินซื้อตำราอ่าน ต้องอาศัยยืมหรืออ่านพร้อมผู้อื่น แต่มีความจำเป็นเลิศ จึงได้เข้าราชการกับซุนกวน

ในนิยาย สามก๊ก

แก้

ในศึกเซ็กเพ็ก นอกจากจิวยี่และขงเบ้งแล้ว งำเต๊กเป็นเพียงผู้เดียวที่มองว่า การที่จิวยี่สั่งให้โบยอุยกายจนสาหัสปางตายนั้น เป็นเพียงอุบายที่ต้องหลอกโจโฉ ตกกลางคืนงำเต๊กลอบเข้าไปหาอุยกายที่กระโจม จึงแน่ชัดว่าที่ทำไปทั้งหมดนั้นเป็นอุบาย ด้วยความเสียสละของอุยกาย งำเต๊กจึงอาสาเป็นคนนำสารสวามิภักดิ์จากอุยกายไปหาโจโฉ

เมื่อข้ามไปถึง โจโฉไม่เชื่อใจความในจดหมาย สั่งให้เอางำเต๊กไปประหาร แต่งำเต๊กหัวเราะเยาะ พร้อมชี้แจงเหตุผลและใช้วาทศิลป์โน้มน้าวว่า อุยกายเห็นที่จะเจ็บตัวเปล่า โจโฉสั่งไม่ประหาร แต่ก็ยังไม่เชื่อใจนักทีเดียว เมื่อกลับมาแล้ว งำเต๊กยังได้ร่วมมือกับกำเหลงรองแม่ทัพเรือ หลอกชัวต๋งและชัวโฮ น้องชายของชัวมอที่แสร้งเข้ามาสืบข่าวฝ่ายง่อก๊กโดยทำเป็นสวามิภักดิ์ ว่าอุยกายคิดทรยศจริงเพื่อให้ทั้งคู่ส่งข่าวลวงไปให้โจโฉเชื่อใจสนิท โจโฉจึงเชื่อสนิท ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้กองทัพเรือของโจโฉถูกเผาจนวอดวาย

งำเต๊ก ปรากฏบทบาทอีกครั้ง เมื่อเล่าปี่ยกทัพมาจากเสฉวนหมายจะล้างแค้นให้กวนอู ขณะที่ลิบองผู้ชนะกวนอูได้ก็ตายไปแล้ว ไม่รู้จะหาใครเป็นแม่ทัพใหญ่ไปสู้กับเล่าปี่ งำเต๊กเป็นผู้เสนอแนะลกซุน บัณฑิตหนุ่มวัย 29 ปี ที่รักษาเมืองเกงจิ๋วอยู่ ซุนกวนเห็นดีด้วย แม้ที่ปรึกษาหลายคนคัดค้าน แต่งำเต๊กยืนยันว่า ลกซุนสามารถทำการนี้ได้ และที่สุดก็เป็นไปดั่งที่งำเต๊กคาดไว้ทุกประการ

หมายเหตุ

แก้
  1. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 41[1]
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 34[2]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 65[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "สามก๊ก ตอนที่ ๔๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 15, 2023.
  2. "สามก๊ก ตอนที่ ๓๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 15, 2023.
  3. "สามก๊ก ตอนที่ ๖๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 15, 2023.
  4. บันทึกเจี้ยนคังฉือลู่เล่มที่ 2 ระบุว่างำเต๊กเสียชีวิตในเดือนเดียวกับโกะหยง คือในเดือน 11 ของศักราชชื่ออูปีที่ 6 ในรัชสมัยของซุนกวน เดือนนี้เทียบได้กับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายนถึง 28 ธันวาคม ค.ศ. 243 ในปฏิทินเกรโกเรียน ([赤乌六年]冬十一月,丞相顧雍薨,時年七十六。是月,太子太傅、都鄉侯闞澤薨。) เจี้ยนคังฉือลู่ เล่มที่ 2