คืนบาป พรหมพิราม
คืนบาป พรหมพิราม เป็นภาพยนตร์อาชญากรรม ที่สร้างจากนวนิยายเชิงอาชญวิทยา ของนที สีทันดร (สันติ เศวตวิมล) ซึ่งมีเค้าโครงจากคดีข่มขืนแล้วฆ่าที่อำเภอพรหมพิรามเมื่อ พ.ศ. 2520[2]
คืนบาป พรหมพิราม | |
---|---|
โปสเตอร์ในแบบชื่อ คนบาป พรหมพิราม | |
กำกับ | มานพ อุดมเดช |
เขียนบท | นวนิยาย : สันติ เศวตวิมล บทภาพยนตร์ : มานพ อุดมเดช |
อำนวยการสร้าง | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
นักแสดงนำ | สมภพ เบญจาธิกุล พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ กมล ศิริธรานนท์ รัชนู บุญชูดวง |
กำกับภาพ | อานุภาพ บัวจันทร์ |
ตัดต่อ | หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล |
ดนตรีประกอบ | ริชาร์ด ฮาร์วีย์ |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม พร้อมมิตร โปรดักชั่น |
วันฉาย | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 |
ความยาว | 115 นาที[1] |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ภาพยนตร์เขียนบทและกำกับโดยมานพ อุดมเดช อำนวยการสร้างโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ภาพยนตร์ถ่ายทำที่จังหวัดอุทัยธานี เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นหากถ่ายทำในสถานที่จริง เดิมภาพยนตร์จะใช้ชื่อว่า คนบาป พรหมพิราม [3] แต่ถูกประท้วงอย่างหนักจากชาวอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ที่ถูกพาดพิงและไม่ยอมให้ภาพยนตร์เข้าฉาย ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น คืนบาป พรหมพิราม
ภาพยนตร์ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม และดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จากรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี พ.ศ. 2546 และรางวัลการลำดับภาพยอดเยี่ยม รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
เนื้อเรื่อง
แก้ผู้หมว���หนุ่มหน้าใหม่ (กมล ศิริธรานนท์) ถูกบรรจุเป็นตำรวจครั้งแรกที่ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เมื่อเดินทางมาถึง เขาก็ได้พบกับคดีแรกในชีวิต คือ การฆาตกรรมหญิงสาวเสียสติคนหนึ่งที่ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไป (พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์) ที่ข้างทางรถไฟสถานีพรหมพิราม ซึ่งมีผู้พบเห็นอ้างว่า เธอบอกว่าจะไปหาสามีที่ต่างอำเภอ โดยมี สารวัตรใหญ่ (สมภพ เบญจาธิกุล) นายตำรวจตงฉิน ผู้ทำงานตรงไปตรงมา ต้องรับแรงกดดันทั้งหมดจากคดีนี้
อ้างอิง
แก้- ↑ "คืนบาปพรหมพิราม (Macabre Case of Prom Pi Ram)". Sahamongkol Film International.
- ↑ MGR Online (2560-09-09). "จาก "พรหมพิราม" ถึง "บ้านเกาะแรด" ปรากฏการณ์ "ข่มขืน" สะท้านโลก???". ผู้จัดการออนไลน์. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 2565-02-28.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สรรวรส ชัยชวลิต, มานพ อุดมเดช - ผมถูกกล่าวหาว่าทำหนังสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ : ประชาชนนอก, วารสาร หนัง:ไทย ฉบับที่13 มิถุนายน 2547