ประเทศคอซอวอ
42°35′N 21°00′E / 42.583°N 21.000°E
สาธารณรัฐคอซอวอ Република Косово (เซอร์เบีย) Republika e Kosovës (แอลเบเนีย) | |
---|---|
ที่ตั้งในทวีปยุโรป | |
สถานะ | ดินแดนพิพาท |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | พริสตีนา 42°40′N 21°10′E / 42.667°N 21.167°E |
ภาษาราชการ | |
ภาษาประจำภูมิภาค | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2005)[4] |
|
ศาสนา (ค.ศ. 2011)[5] |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา |
วีโยซา ออสมานี ซาดรีอู | |
อัลบิน เคอร์ตี | |
Glauk Konjufca | |
สภานิติบัญญัติ | สมัชชา |
ก่อตั้ง | |
ค.ศ. 1877 | |
31 มกราคม ค.ศ. 1946 | |
2 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 | |
9 มิถุนายน ค.ศ. 1999 | |
10 มิถุนายน ค.ศ. 1999 | |
17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 | |
10 กันยายน ค.ศ. 2012 | |
19 เมษายน ค.ศ. 2013 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 10,887 ตารางกิโลเมตร (4,203 ตารางไมล์) (อันดับที่ 171) |
1.0[6] | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2021 ประมาณ | 1,935,259[7] (อันดับที่ 152) |
159 ต่อต��รางกิโลเมตร (411.8 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 23.524 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] |
• ต่อหัว | 13,017 ดอลลาร์สหรัฐ[8] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 8.402 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] |
• ต่อหัว | 4,649 ดอลลาร์สหรัฐ[8] |
จีนี (ค.ศ. 2017) | 29.0[9] ต่ำ · อันดับที่ 121 |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2016) | 0.742[10] สูง |
สกุลเงิน |
|
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
รูปแบบวันที่ | วว.ดด.ปปปป |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +383 |
รหัส ISO 3166 | XK |
โดเมนบนสุด | .xkd (เสนอ) |
|
คอซอวอ[15] (เซอร์เบีย: Косово/Kosovo, ออกเสียง: [kô̞so̞ʋo̞]; แอลเบเนีย: Kosova [kɔˈsɔva] หรือ Kosovë [kɔˈsɔvə]) เป็นประเทศหนึ่งในคาบสมุทรบอลข่าน ติดกับประเทศเซอร์เบียทางทิศเหนือ มอนเตเนโกรทางตะวันตก แอลเบเนียและมาซิโดเนียเหนือทางใต้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล คอซอวอได้ประกาศเป็นรัฐเอกราชแบบเอกภาคีในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐคอซอวอ (เซอร์เบีย: Република Косово/Republika Kosovo; แอลเบเนีย: Republika e Kosovës) มีการรับรองจากบางประเทศ ในขณะที่เซอร์เบียยังคงถือว่าคอซอวอเป็นจังหวัดปกครองพิเศษของตน
เมืองหลวงของคอซอวอคือพริสตีนา จำนวนประชากรทั้งจังหวัดประมาณ 2 ล้าน 1 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์แอลเบเนีย (ร้อยละ 92) ชาวเซิร์บ (ร้อยละ 5.3) และมีชาวตุรกี ชาวบอสนีแอก กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกเล็กน้อย (รวมกันร้อยละ 2.7)
คอซอวออยู่ภายใต้การบริหารของสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในขณะที่เอกราชของเซอร์เบียนั้นเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก โดยแท้จริงแล้ว การปกครองของเซอร์เบียมิได้ปรากฏในจังหวัดนี้เลย องค์กรที่ปกครองคอซอวออยู่คือคณะทำงานสหประชาชาติในคอซอวอ (United Nations Mission in Kosovo: UNMIK) และสถาบันการ���กครองตนเองชั่วคราวของท้องถิ่น (Provisional Institutions of Self-Government) โดยมีกองกำลังคอซอวอ (Kosovo Force: KFOR) ภายใต้การนำขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นผู้รักษาความมั่นคง
จังหวัดคอซอวอเป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองและดินแดนมานานระหว่างชาวเซอร์เบียกับชาวแอลเบเนียซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด การเจรจาในระดับนานาชาติเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2549 เพื่อตัดสินสถานะสุดท้าย จากรายงานของสื่อแขนงต่าง ๆ คาดกันว่า การเจรจาจะนำมาซึ่งเอกราชของดินแดนแห่งนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง[16][17][18][19] ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 รัฐสภาของคอซอวอประกาศเอกราชของประเทศแต่เพียงฝ่ายเดียว
การออกเสียง
แก้ชื่อ คอซอวอ นิยมใช้ในภาษาอังกฤษว่า Kosovo ซึ่งถอดรูปมาจาก Косово ออกเสียง [kô̞so̞ʋo̞] (กอซอวอ) ในภาษาเซอร์เบีย ในขณะที่ภาษาแอลเบเนียใช้ชื่อว่า Kosova ออกเสียง [kɔˈsɔva] (กอซอวา) ส่วนเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถานได้ระบุชื่อในภาษาไทยไว้เป็น "คอซอวอ"[20]
ประวัติศาสตร์
แก้ดินแดนคอซอวอมีผู้อาศัยดั้งเดิมตั้งแต่ยุคสำริด คือชาวอิลลิเรีย เผ่าดาร์ดานี โดยที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงราชอาณาจักรดาร์ดาเนีย เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนคอซอวอถูกเรียกว่า ดาร์ดาเนีย มาจนถึงศตวรรษที่ 19 ต่อมาราว 100 ปีก่อนคริสตกาล ดาร์ดาเนียได้ตกอยู่ใต้การปกครองของโรมันและจักรวรรดิไบแซนไทน์ ชาวเซิร์บอพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนนี้พร้อมคลื่นผู้อพยพกลุ่มต่าง ๆ ที่ทยอยกันมาจากเทือกเขาอูราลเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 - 8 เพื่อมาตั้งรกรากในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป และกระจัดกระจายกันออกไปในนามต่าง ๆ กัน เช่น เซิร์บ โครแอต มาซิโดเนีย และสโลวีเนีย การอพยพเข้ามาของกลุ่มเหล่านี้ทำให้เกิดการปะทะกับเจ้าของดินแดนเดิม จนปี พ.ศ. 1749 ชาวเซิร์บจึงเข้ายึดครองดินแดนแถบคอซอวอได้ แต่ต่อมาก็ต้องเจอกับอำนาจที่เหนือกว่าคือจักรวรรดิมุสลิมออตโตมันเติร์ก ซึ่งได้เข้ายึดและปกครองดินแดนแถบนี้ 500 ปี จนกระทั่งเกิดสงครามบอลข่านใน พ.ศ. 2455
หลังสงครามบอลข่านใน พ.ศ. 2455 เซอร์เบียก็เข้ายึดครองคอซอวอ และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียใน พ.ศ. 2461 จากนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศได้ถูกปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม (ไม่ขึ้นต่อสหภาพโซเวียต) โดยมีนายพลตีโตเป็นประธานาธิบดี และเมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายในปี พ.ศ. 2532 รัฐต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นยูโกสลาเวียก็พากันแยกตัวเป็นประเทศอิสระ ได้แก่ สโลวีเนีย โครเอเชีย มาซิโดเนีย บอสเนีย มอนเตเนโกร
คอซอวอเองเจอปัญหาจากความคลั่งชาติของอาชญากรสงคราม สลอบอดัน มีลอเชวิช มาตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนกระทั่งเหตุการณ์ตึงเครียดสุดเมื่อเซอร์เบียส่งกองทัพเข้าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมในคอซอวอในปี พ.ศ. 2541 ทำให้เนโท ต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโดยส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดจนเซอร์เบียต้องยอมถอนทหาร และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 กองทหารเนโท 40,000 คนเข้ารักษาความมั่นคงในคอซอวอ เป็นการยุติบทบาทของเซอร์เบียในคอซอวอ ทำให้ตั้งแต่ปี นั้นเป็นต้นมา คอซอวอจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของเซอร์เบียเพียงแต่ในนาม ในขณะที่การบริหารงานทุกอย่างอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ โดยมีโดยกองกำลังทหารของสหประชาชาตินำโดยเนโทรักษาค���ามปลอดภัยในประเทศ
ทั้งนี้ หลังจากรัฐสภาคอซอวอลงมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ ฮาชิม ทาชี นายกรัฐมนตรีคอซอวอ ได้ประกาศแยกคอซอวอออกจากเซอร์เบียเป็นประเทศอิสระ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยมีประเทศหลักที่ให้การสนับสนุนการประกาศเอกราชของคอซอวอคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
การรับรองเอกราช
แก้หลังจากการประกาศเอกราชของคอซอวอ มีหลายประเทศให้การรับรองการประกาศเอกราช เช่น สหรัฐ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ตุรกี แอลเบเนีย เยอรมนี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในขณะเดียวกัน มีหลายประเทศที่ประกาศชัดเจนว่า ไม่รับรองเอกราชของคอซอวอ นอกจากเซอร์เบียซึ่งเป็นคู่กรณีแล้ว ยังมีรัสเซีย สเปน ไซปรัส และอีกหลายประเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Assembly approves Kosovo anthem". B92. 11 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 June 2008.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "Israel's ties with Kosovo: What new opportunities await?". The Jerusalem Post. 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2021.
- ↑ "Municipal language compliance in Kosovo". OSCE Minsk Group.
Turkish language is currently official in Prizren and Mamuşa/Mamushë/Mamuša municipalities. In 2007 and 2008, the municipalities of Gjilan/Gnjilane, southern Mitrovicë/Mitrovica, Prishtinë/Priština and Vushtrri/Vučitrn also recognized Turkish as a language in official use.
- ↑ "Kosovo Population 2019". World Population Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2019. สืบค้นเมื่อ 8 August 2019.
- ↑ "Kosovo Population and Housing Census 2011 - Final Results: Quality Report". unstats.un.org. United Nations Statistics Division. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-02. สืบค้นเมื่อ 17 December 2017.
- ↑ "Water percentage in Kosovo (Facts about Kosovo; 2011 Agriculture Statistics)". Kosovo Agency of Statistics, KAS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2017.
- ↑ "Kosovo - The World Factbook". 4 November 2021.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate)–Kosovo". World Bank. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
- ↑ "Kosovo Human Development Report 2016". United Nations Development Programme (UNDP). 19 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2020. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
- ↑ 11.0 11.1 "Ligji Nr. 06/L-012 për Kryeqytetin e Republikës së Kosovës, Prishtinën" (ภาษาแอลเบเนีย). Gazeta Zyrtare e Republikës së Kosovës. 6 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
- ↑ "Foreign travel advice Kosovo". www.gov.uk. UK Government. สืบค้นเมื่อ 26 November 2021.
- ↑ "Kosovo loses millions of euros from the use of the Serbian dinar". Kosova Press. 12 September 2020. สืบค้นเมื่อ 26 November 2021.
- ↑ "Points of dispute between Kosovo and Serbia". France 24. 9 November 2018. สืบค้นเมื่อ 26 November 2021.
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "Kosovo's status - the wheels grind on", The Economist, October 6, 2005.
- ↑ "A province prepares to depart", The Economist, November 2, 2006.
- ↑ "Kosovo May Soon Be Free of Serbia, but Not of Supervision", by Nicholas Wood, The New York Times, November 2, 2006.
- ↑ "Serbia shrinks, and sinks into dejection", by WILLIAM J. KOLE, The Associated Press, November 19, 2006.
- ↑ คำถามที่พบบ่อย: ชื่อประเทศ[ลิงก์เสีย] ราชบัณฑิตยสถาน เรียกข้อมูลวันที่ 28 ก.พ. 2551
ข้อมูล
แก้- Curta, Florin (2006). Southeastern Europe in the Middle Ages, 500–1250. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 9780521815390.
- Herscher, Andrew (2010). Violence taking place: The architecture of the Kosovo conflict. Stanford: Stanford University Press. ISBN 9780804769358.
- Lellio, Anna Di (2006), The case for Kosova: passage to independence, Anthem Press, ISBN 978-1-84331-229-1
- Elsie, Robert (2004), Historical Dictionary of Kosova, Scarecrow Press, ISBN 978-0-8108-5309-6
- Malcolm, Noel (1998), Kosovo: A Short History, Macmillan, ISBN 978-0-333-66612-8
- Papazoglu, Fanula (1978). The Central Balkan Tribes in pre-Roman Times: Triballi, Autariatae, Dardanians, Scordisci and Moesians. Amsterdam: Hakkert. p. 131. ISBN 9789025607937.
- Teichner, Felix (2015). "Ulpiana - Iustiniana secunda (Kosovo) : das urbane Zentrum des dardanischen Bergbaubezirks". Ephemeris Napocensis. 25.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- United Nations Interim Administration in Kosovo เก็บถาวร 2011-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- European Union Rule of Law Mission in Kosovo
- Government of the Republic of Kosovo
- Serbian Ministry for Kosovo and Metohija
- Wikimedia Atlas of Kosovo
- Kosovo. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศคอซอวอ ที่เว็บไซต์ Curlie