กุสทัฟ ชเตรเซอมัน
กุสทัฟ แอ็นสท์ ชเตรเซอมัน (เยอรมัน: Gustav Ernst Stresemann) เป็นรัฐบุรุษชาวเยอรมันผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในค.ศ. 1923 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยอรมนีระหว่างปี 1923–1929
กุสทัฟ ชเตรเซอมัน | |
---|---|
Gustav Stresemann | |
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม 1923 – 30 พฤศจิกายน 1923 | |
ประธานาธิบดี | ฟรีดริช เอเบิร์ท |
ก่อนหน้า | วิลเฮ็ล์ม คูโน |
ถัดไป | วิลเฮ็ล์ม มาคส์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม 1923 – 3 ตุลาคม 1929 | |
หัวหน้ารัฐบาล | ตัวเอง วิลเฮ็ล์ม มาคส์ ฮันส์ ลุทเทอร์ แฮร์มัน มึลเลอร์ |
ก่อนหน้า | ฮันส์ ฟ็อน โรเซินแบร์ค |
ถัดไป | ยูลิอุส คัวร์ทิอุส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มิถุนายน ค.ศ. 1878 เบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี | (51 ปี)
ประวัติ
แก้ชเตรเซอมันเกิดเมื่อ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1878 ในกรุงเบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาเจ็ดคน บิดาเป็นเจ้าของโรงเบียร์ขนาดเล็กและยังเป็นนักกลั่นเบียร์ ครอบครัวชเตรเซอมันเป็นชนชั้นกลางค่อนล่าง แต่ก็ถือว่ามีฐานะดีกว่าคนในละแวกบ้านเดียวกัน และมีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะส่งเด็กชายชเตรเซอมันเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพสูง[1] เด็กชายชเตรเซอมันมีความสนใจพิเศษในวรรณกรรมและบทกวีเยอรมัน และมีความคลั่งไคล้ในวิชาประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องราวของนโปเลียน และโยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
ในปี 1897 ชเตรเซอมันเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และถูกโน้มน้าวโดยนักธุรกิจผู้หนึ่ง ว่าเขาควรจะศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองมากกว่าวิชาวรรณกรรม[2] ต่อมาในปี 1898 ชเตรเซอมันออกจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลินและโอนย้ายไปมหาวิทยาลัยไลพ์ซิชเพื่อจะได้เรียนต่อในระดับปริญญาเอก เขาได้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และ วิชากฎหมายระหว่างประเทศ วิชาเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนเข้าเรียนหลักสูตรวรรณกรรม
สมัยจักรวรรดิเยอรมัน
แก้ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชเตรเซอมันเคยสนับสนุนแนวคิดการรักษาดุลอำนาจระหว่างจักรวรรดิอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา และจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งตัวเขาเชื่อว่าทั้งสามประเทศจะเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในอนาคต กระนั้น เขาก็สนับสนุนการแข่งขันทางอาวุธระหว่างอังกฤษและเยอรมนี โดยเชื่อว่าการพัฒนาแสนยานุภาพของกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการคุ้มครองการค้าระหว่างประเทศของเยอรมนี[3]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชเตรเซอมันเริ่มโน้มเอียงไปทางฝ่ายขวา เขาสนับสนุนราชสำนักกรุงเบอร์ลินและเป้าหมายการขยายดินแดนของเยอรมนี เขาเชื่อว่าจักรวรรดิเยอรมันควรจะยึดครองและผนวกกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, ยุโรปกลาง และบางส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ตลอดจนโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส เพื่อที่จะมีพลังทางเศรษฐกิจทัดเทียมกับสหรัฐอเมริกาในอนาคต นอกจากนี้ เขายัง���นับสนุนการทำสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดเป้าหมาย ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่าชเตรเซอมันเป็นพวกสนับสนุนให้เยอรมนีทำสงคราม แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาสนับสนุนการพัฒนาสวัสดิการสังคม และสนับสนุนให้ปรัสเซียล้มเลิกระบบสามชนชั้นแบ่งตามการจ่ายภาษี อันเป็นระบบในประเทศปรัสเซียที่ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้จ่ายภาษี ผู้จ่ายภาษีมากได้รับสิทธิพิเศษมาก
การพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการล่มสลายของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1919 ถือเป็นแรงปะทะใหญ่ต่อชเตรเซอมันทั้งทางกายและทางใจ เขาละทิ้งความคิดทหารนิยมและแนวคิดการขยายดินแดนอย่างสิ้นเชิง[3]
สมัยสาธารณรัฐไวมาร์
แก้หลังสงคราม ชเตรเซอมันเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์เยอรมัน แต่เข้าร่วมได้ไม่นานก็ถูกขับไล่พ้นจากพรรค เนื่องจากเขามีประวัติความเกี่ยวข้องกับฝ่ายขวา จากนั้น เขาจึงรวบรวมบุคคลแกนหลักของอดีตพรรคอิสรภาพแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายกลางกับฝ่ายขวาและก่อตั้งเป็นพรรคประชาชนเยอรมันโดยมีตัวเขาเป็นหัวหน้าพรรค พรรคของเขาได้รับการสนับสนุนส่วนใหญ่จากกลุ่มโปรเตสแตนต์ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกไรชส์ทาคเมื่อปี 1920
ชเตรเซอมันขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมันในภาวะที่การเมืองเยอรมันมีความเปราะบางและเกิดการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง รัฐบาลของชเตรเซอมันก็ดำรงอยู่เพียงหนึ่งร้อยสองวัน แม้จะดำรงตำแหน่งสั้นมาก แต่เขาได้สร้างคุณูปการที่สำคัญ จากการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศส ส่งผลให้ตัวเขากับกับนายกรัฐมนตรีอาริสติด บริยองด์ ของฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1926
นอกจากนี้ ชเตรเซอมันยังเป็นผู้เจรจาขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากสหรัฐอเมริกาในรูปแบบเงินกู้ เกิดการปฏิรูปธนาคารไรช์ (ธนาคารกลางของเยอรมนี) มีการยกเลิกสกุลเงินเดิมและก่อตั้งสกุลเงินใหม่ที่เรียกว่าเร็นเทินมาร์ค (Rentenmark) ส่งผลให้เศรษฐกิจเยอรมันเกิดการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ
อ้างอิง
แก้- ↑ Wright 2002, p. 10.
- ↑ Wright 2002, p. 15.
- ↑ 3.0 3.1 Tooze (2006), p. 4-7