การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 7 สืบเนื่องจากการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี โดยการเลือกตั้งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และต่อมาในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติรับรองอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[1]
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลงทะเบียน | 2,472,486 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 62.50% ( 3.63 จุด) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง
แก้สืบเนื่องจาก การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 และ สมัคร สุนทรเวช จาก พรรคประชากรไทย ได้รับการเลือกตั้ง บัดนี้ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง จึงเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ โดยกำหนดจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 29 สิงหาคม 2547
ระเบียบหลักเกณฑ์การสมัครรับเลือกตั้ง
แก้การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่เพิ่งออกใหม่ และมีข้อกำหนดแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาหลายประการ เช่น
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะเข้าไปมีบทบาทดูแลการเลือกตั้ง ทั้ง กกต.กลาง และ กกต.กทม. จากเดิมเป็นหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
- ผู้สมัครต้องจ่ายเงินค่าสมัครเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,000 บาท เป็น 50,000 บาท
- คุณสมบัติผู้สมัคร จากที่เคยกำหนดให้มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 180 วัน เพิ่มเป็นต้องมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 1 ปี
- หน่วยเลือกตั้งจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,869 หน่วย ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
- ห้ามผู้สมัครกระทำ จัดทำ ให้ โฆษณา จัดเลี้ยง หลอกลวง ก่อน กกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หากพบว่าผู้สมัครมีการฝ่าฝืน กกต. จะให้ใบแดง แต่หากตรวจหลักฐานคลุมเครือ และมีเหตุอันน่าเชื่อถือจะให้ใบเหลือง
- การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแจกใบเหลือง ใบแดง จึงอาจมีการเลือกตั้งซ่อมได้
- การนับคะแนน จากที่เคยนับที่หน่วยเลือกตั้ง และส่งคะแนนให้ศาลาว่าการ กทม.ประกาศผล ก็เปลี่ยนเป็นนับรวมที่เขตปกครอง แล้วนำผลแต่ละเขตมารวมที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อประกาศผลนับคะแนน จากนั้นจึงส่งผลการนับคะแนนให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
- การประกาศผลการเลือกตั้ง จากเดิมเป็นหน้าที่ปลัดกรุงเทพมหานคร ต้องให้ กกต.กลางประกาศผลอย่างเป็นทางการ
- ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน เดิมประเมินให้คนละไม่เกิน 21 ล้านบาท แต่ครั้งนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 ล้านบาทต่อคน
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
แก้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ มีผู้สมัครรวมทั้งสิ้น 22 คน โดนมีผู้สมัครที่น่าสนใจ อาทิ
- อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้บริหาร ทีเอ ออเรนจ์ ลงสมัครในนาม พรรคประชาธิปัตย์[2]
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคความหวังใหม่ ลงสมัครในนาม พรรคมวลชน
- ปวีณา หงสกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา ลงสมัครในนามอิสระ
- การุญ จันทรางศุ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลงสมัครในนาม พรรคพลังประชาชน
- ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นักธุรกิจ ลงสมัครในนาม พรรคต้นตระกูลไทย
- ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ อดีตนายตำรวจ และ สื่อมวลชน ลงสมัครในนามอิสระ
- พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[3]
- มานะ มหาสุวีระชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับการสนับสนุนจาก พลตรี จำลอง ศรีเมือง
- วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ นักวิชาการ และ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน ได้รับการสนับสนุนจาก นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว และ นายแพทย์ ประเวศ วะสี
- พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและข้าราชการประจำ กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับการสนับสนุนจาก สมัคร สุนทรเวช
- ลีนา จัง ทนายความ และ นักธุรกิจ ลงสมัครในนามอิสระ
ขณะที่ทางพรรคแกนนำรัฐบาล คือ พรรคไทยรักไทย มิได้ส่งผู้สมัครคนใดลงเลือกตั้ง (แต่โดยพฤติการณ์แล้วสนับสนุน ปวีณา หงสกุล[4] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ)
ด้าน สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อดำรงตำแหน่งต่อ โดยเบนเข็มไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น วุฒิสมาชิก กรุงเทพมหานคร
ป้ายหาเสียงของผู้สมัครต่างๆ
แก้-
ภาพโปสเตอร์ ดร.วุฒิพงษ์ หมายเลข 12
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
ประชาธิปัตย์ | อภิรักษ์ โกษะโยธิน (1) | 911,441 | 38.20 | ||
อิสระ | ปวีณา หงสกุล (7) | 619,039 | 25.95 | – | |
พรรคต้นตระกูลไทย | ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (15) | 334,168 | 14.01 | ||
มวลชน | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (3) | 165,761 | 6.95 | – | |
อิสระ | ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ (21) | 135,369 | 5.67 | – | |
กลุ่มมดงาน | พิจิตต รัตตกุล (19) | 101,220 | 4.24 | – | |
อิสระ | มานะ มหาสุวีระชัย (5) | 84,147 | – | ||
พลังประชาชน | การุญ จันทรางศุ (11) | 11,070 | – | ||
อิสระ | วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ (12) | 10,243 | – | ||
อิสระ | กอบศักดิ์ ชุติกุล (14) | 3,196 | – | ||
กลุ่ม ฅ.คนรักกรุงเทพ | พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ (8) | 2,377 | – | ||
กลุ่มเมตตาธรรม | ร้อยเอก เมตตา เต็มชำนาญ (9) | 1,965 | 0.08 | – | |
อิสระ | สุชาติ เกิดผล (18) | 1,298 | – | ||
อิสระ | วรัญชัย โชคชนะ (2) | 1,087 | – | ||
อิสระ | วิทยา จังกอบพัฒนา (17) | 811 | 0.03 | – | |
กลุ่มกรุงเทพ ฯ พัฒนา | สุเมธ ตันธนาศิริกุล (16) | 709 | 0.03 | – | |
อิสระ | กิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ (4) | 572 | 0.02 | – | |
อิสระ | อุดม วิบูลเทพาชาติ (13) | 478 | 0.02 | – | |
อิสระ | วรา บัณฑุนาค (22) | 387 | – | ||
อิสระ | โชคชัย เลาหชินบัญชร (20) | 381 | – | ||
ประชากรไทย | วีระศักดิ์ อุปถัมภ์ (10) | 239 | 0.01 | – | |
อิสระ | ลีนา จังจรรจา (6)†[a] | ||||
ผลรวม | 2,385,958 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 2,385,958 | 97.44 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 26,763 | – | |||
บัตรเสีย | 59,765 | – | |||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 2,472,486 | 62.50 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 100.00 | — | |||
ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่งจาก ประชากรไทย |
- ↑ ถูก กกต. ถอดถอนการรับสมัคร
คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น สรุปผลการเลือกตั้งว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 3,955,855 คน ออกมาใช้สิทธิทั้งหมด 2,472,486 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 26,763 ราย บัตรเสีย 59,765 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.42 เขตที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุดคือ เขตทวีวัฒนา จากจำนวนผู้มีสิทธิ 44,640 คน ออกมาใช้สิทธิ 30,541 คน คิดเป็นร้อยละ 68.42 ขณะที่เขตคลองเตย มีผู้ออกมาใช้สิทธิน้อยที่สุด จากจำนวนผู้มีสิทธิ 90,324 ออกมาใช้สิทธิ 47,111 คิดเป็นร้อยละ 52.16 [5] โดยการการนับคะแนนและประมวลผลการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเวลา 03.18 น. ของวันที่ 30 สิงหาคม 2547
โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่าหมายเลข 1 อภิรักษ์ โกษะโยธิน จาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยคะแนนเสียง 911,441 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.20 เอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง ปวีณา หงสกุล จาก พรรคไทยรักไทย หมายเลข 7 ที่ได้รับคะแนนเสียงไป 619,039 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 25.95
ปฏิกิริยาหลังจากการเลือกตั้ง
แก้มีการวิเคราะห์กันว่า ซึ่งการได้รับชัยชนะในครั้งนี้ของนายอภิรักษ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นการท้าทายการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย[6] โดยถึงแม้ว่าทางพรรคไทยรักไทยเอง จะไม่ส่งผู้ใดลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ก็ให้การสนับสนุน ปวีณา หงสกุล แทน ซึ่งต่อมา นางปวีณาและพรรคไทยรักไทยได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง
อ้างอิง
แก้- ↑ "กกต. ประกาศรับรอง 'อภิรักษ์ โกษะโยธิน' เป็นผู้ว่าฯ กทม". ryt9.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นักการเมือง'น้ำดี'. กรุงเทพฯ : Good Morning Publishing, มีนาคม 2547. 240 หน้า. หน้า 156-162. ISBN 974-92093-3-8
- ↑ "โอกาสสุดท้าย"พิจิตต รัตตกุล"บนเวทีเลือกตั้งผู้ว่ากทม". mgronline.com. 2004-07-28.
- ↑ ห้องข่าว The Nation - เกมชิงผู้ว่ากทม. จากเนชั่นทีวี
- ↑ ข้อมูลผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ปี 2547 จาก เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเนชั่นแชนแนล
- ↑ อภิรักษ์ได้รับเลือกเป็นผู้ว่า กทม., หน้า 277. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
ก่อนหน้า | การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 |
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 |
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 |