การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2563
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2563 เป็นการเลือกตั้งผู้นำฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ หรือนายก อบจ. กาฬสินธุ์ ครั้งที่ 4 เป็นการเลือกตั้งในตำแหน่งนี้ครั้งแรกหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557
| |||||||||||||||||||||
ลงทะเบียน | 776,938 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 473,653 (60.96%; N/A pp) | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครชิงตำแหน่งนายก อบจ. ทั้งสิ้น 4 หมายเลข และจัดขึ้นคู่ขนานไปกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ชานุวัฒน์ วรามิตร ผู้สมัครในนามกลุ่มกาฬสินธุ์ต้องดีกว่านี้ ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง เอาชนะคู่แข่งอันดับสอง เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล ผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้นร้อยละ 60.96 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
26 ธันวาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับรองผลการเลือกตั้ง ทำให้ชานุวัฒน์ วรามิตร เข้าดำรงตำแหน่งนายก อบจ. กาฬสินธุ์ อย่างเป็นทางการ[1] อย่างไรก็ตามต่อมาเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ศาลอุธรณ์ภาค 4 ได้มีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มิได้เป็นไปอย่างสุจริตเที่ยงธรรมสืบเนื่องจากกรณีการโพสต์แจกป้ายหาเสียงของชานุวัฒน์ วรามิตร ผู้ชนะการเลือกตั้ง[2]
ผู้สมัคร
แก้หลังจากปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง พบว่า มีผู้สมัครชิงตำแหน่งนายก อบจ. ทั้งสิ้น 4 หมายเลข ได้แก่
ชานุวัฒน์ วรามิตร หรือ โด่ง ผู้สมัครหมายเลข 1 ลงสมัครในนามกลุ่มกาฬสินธุ์ต้องดีกว่านี้ ชานุวัฒน์ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลการฬสินธุ์ เอฟซี และเป็นบุตรชายของชม้อย วรามิตร อดีตนายก อบจ. กาฬสินธุ์ ชานุวัฒน์เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. กาฬสินธุ์ เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับการรับเลือกตั้ง[3]
เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล หรือ ไข่มุก ผู้สมัครหมายเลข 2 ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย เฉลิมขวัญเป็นบุตรสาวของยงยุทธ หล่อตระกูล อดีตนายก อบจ. กาฬสินธุ์ 2 สมัย ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เฉลิมขวัญเคยทำงานในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์มาหลายตำแหน่ง เช่น ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสุขภาพ อบจ. กาฬสินธุ์, อุปนายกสมาคมกีฬาจังหวัด, ประธานหอการค้าจังหวัด เป็นต้น[4]
ผู้สมัครหมายเลข 3 และ 4 ได้แก่ กิตติพร อินทะสีดา และ วัชรินทร์ เขจรวงศ์ ตามลำดับ
หมายเลข | สังกัด | รายนามผู้สมัคร | ตำแหน่ง/อาชีพ | |
---|---|---|---|---|
1 | กลุ่มกาฬสินธุ์ต้องดีกว่านี้ | ชานุวัฒน์ วรามิตร |
| |
2 | พรรคเพื่อไทย | เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล |
| |
3 | อิสระ | กิตติพร อินทะสีดา | ||
4 | อิสระ | วัชรินทร์ เขจรวงศ์ | ||
ที่มา: ประชาสัมพันธ์ อบจ.กาฬสินธุ์[5] บ้านเมือง[4] Voice online[6] สยามรัฐ[3] |
การรณรงค์เลือกตั้ง
แก้ชานุวัฒน์ พร้อมด้วยผู้สมัคร ส.อบจ. ในนามกลุ่มกาฬสินธุ์ต้องดีกว่านี้ ได้จัดเวทีปราศรัยโดยมุ่งเน้นไปที่นโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในจังหวัด กล่าวว่าจะพาจังหวัดกาฬสินธุ์หลุดพ้นจากการเป็นจังหวัดที่ยากจนลำดับ 3 ของประเทศ[7]
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยขณะนั้น ได้ลงพื้นที่หาเสียงช่วยเฉลิมขวัญ มีการปราศรัยโจมตีการบริหารจัดการราคาผลผลิตทางเกษตรของรัฐบาลว่า "ไม่สามารถพึ่งพาได้และไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง" พร้อมกับปราศรัยชูนโยบายของเฉลิมขวัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ พร้อมกับการร่วมมือสานต่อนโยบายที่พรรคเคยทำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค[6]
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2563 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มกาฬสินธุ์ต้องดีกว่านี้ | ชานุวัฒน์ วรามิตร (1) | 230,475 | 50.90 | – | |
เพื่อไทย | เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล (2) | 198,430 | 44.69 | – | |
อิสระ | กิตติพร อินทะสีดา (3) | 10,019 | 2.26 | – | |
อิสระ | วัชรินทร์ เขจรวงศ์ (4) | 5,111 | 1.15 | – | |
ผลรวม | 444,035 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 444,035 | 93.75 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 12,692 | 2.68 | – | ||
บัตรเสีย | 16,924 | 3.57 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 473,653 | 60.96 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 776,938 | 100.00 | — |
ที่มา: ประชาสัมพันธ์ อบจ.กาฬสินธุ์[5]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ matichon (2021-12-21). ""กกต." ประกาศรับรองผลเลือกตั้งสมาชิกฯ-นายก อบต. เพิ่มอีก 32 จังหวัด รวมครบ 76 จังหวัดแล้ว". มติชนออนไลน์.
- ↑ "จัดเลือกตั้งใหม่! ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาใบเหลืองนายก อบจ.กาฬสินธุ์ โพสต์แจกป้ายหาเสียง". mgronline.com. 2022-06-23.
- ↑ 3.0 3.1 ""เสี่ยโด่ง" "ชานุวัฒน์ วรามิตร" ลูกชาย "ชม้อย วรามิตร"อดีตนายกอบจ.กาฬสินธุ์ นำทีมชน "ไข่มุก" "เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล "ลูกสาว "ยงยุทธ หล่อตระกูล" อดีตนายกอบจ.กาฬสินธุ์คนล่าสุด". สยามรัฐ. 2020-11-02.
- ↑ 4.0 4.1 ""ไข่มุก" ขอบคุณทุกคะแนนเสียง พร้อมทำงานเพื่อประชาชนชาวกาฬสินธุ์". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 5.0 5.1 "+ + องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ - Kalasin Provincial Administrative Organization + +". www.kalasin-pao.go.th.
- ↑ 6.0 6.1 Ltd.Thailand, VOICE TV (2020-12-07). "'สุดารัตน์' ช่วย ผู้สมัครฯ อบจ.กาฬสินธุ์ หาเสียง ย้ำช่วยแก้ปัญหาสินค้าเกษตร". VoiceTV.
- ↑ "ผู้สมัครนายก-ส.อบจ.กาฬสินธุ์ ชูผลักดันรพ.โรงพยาบาลศูนย์ฯ-หลุดพ้นจว.ยากจน". www.naewna.com. 2020-11-29.
ก่อนหน้า | การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2563 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
การเลือกตั้งนายก อบจ. กาฬสินธุ์ พ.ศ. 2555 |
การเลือกตั้งนายก อบจ. กาฬสินธุ์ พ.ศ. 2563 |
การเลือกตั้งนายก อบจ. กาฬสินธุ์ พ.ศ. 2565 |