การประชุมเอเชีย–ยุโรป

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป หรือ อาเซม (อังกฤษ: Asia-Europe Meeting ย่อว่า ASEM) เป็นการประชุมของกลุ่มประเทศในเอเชียและยุโรป จัดตั้งขึ้นเพื่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของสองกลุ่มประเทศ

การประชุมเอเชีย–ยุโรป (อาเซม)
Asia-Europe Meeting (ASEM)
สีน้ำเงินคือประเทศสมาชิกของอาเซม
สีน้ำเงินคือประเทศสมาชิกของอาเซม
สมาชิก53 ชาติสมาชิก
สถาปนา1996
เว็บไซต์
www.aseminfoboard.org
ประมุขแห่งรัฐและรัฐบาลในการประชุมอาเซม ครั้งที่ 8 บรัสเซลส์ ปี 2010

อาเซมเริ่มต้นจากข้อเสนอใน พ.ศ. 2537 ของนายกรัฐมนตรีโก๊ะจ๊กตงของสิงคโปร์ ที่ต้องการรักษาความสมดุลของภูมิภาค โดยให้มีการเชื่อมโยงระหว่างฝั่งแอตแลนติกกับฝั่งแปซิฟิก เพราะในขณะนั้น มีความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเพียง 2 กระแส คือ ความร่วมมือในกรอบเอเปก และความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างอเมริกากับยุโรป ที่เรียกว่า ทรานส์แอตแลนติก ในขณะที่การเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับยุโรปกลับหายไป

การประชุมผู้นำอาเซมจะมีขึ้นทุก ๆ 2 ปี ครั้งแรกปี พ.ศ. 2539 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร มีสมาชิกกลุ่มอียูและคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) 15 ประเทศ และประเทศเอเชีย 10 ประเทศ ครั้งที่ 2 จัดปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และครั้งที่ 3 จัดเมื่อ พ.ศ. 2543 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

องค์ประกอบการดำเนินงานของอาเซมมี 3 เสาหลักดังต่อไปนี้:

  • เสาการเมืองและความมั่นคง
  • เสาเศรษฐกิจและการเงิน
  • เสาสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา

สมาชิก

แก้

ในปัจจุบันอาเซมมีสมาชิกทั้งหมด 51 ชาติและ 2 สมาคมประชาชาติ ประกอบด้วย

ทวีปเอเชีย
ทวีปยุโรป

การประชุม จัดขึ้นทุก 2 ปี มีเจ้าภาพการประชุม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้