การถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น (ญี่ปุ่น: ヘボン式ローマ字; โรมาจิ: Hebon-shiki rōmaji; "อักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น") เป็นระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาญี่ปุ่น เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1867 โดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน เจมส์ เคอร์ติส เฮปเบิร์น เพื่อเป็นมาตรฐานในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น–ภาษาอังกฤษ ฉบับแรกของเขา[1] ระบบนี้แตกต่างจากวิธีการถอดเป็นอักษรโรมันอื่น ๆ อย่างชัดเจนที่การใช้อักขรวิธีภาษาอังกฤษในการถอดเสียงตามหลักสัทศาสตร์ เช่น สระ [ɕi] (し ) ถอดเป็น shi และ [tɕa] (ちゃ ) ถอดเป็น cha ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการสะกดแบบภาษาอังกฤษของระบบนี้ (เมื่อเปรียบเทียบกับการถอดเป็น si และ tya ในระบบนิฮงชิกิและคุนเรชิกิที่มีความเป็นระบบมากกว่า)[2]
ใน ค.ศ. 1886 เฮปเบิร์นตีพิมพ์พจนานุกรมฉบับที่สามของเขา โดยจัดระเบียบแบบทบทวนใหม่ซึ่งเป็นที่รู้จักในทุกวันนี้คือ "เฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม" และใน ค.ศ. 1908 เขาตีพิมพ์แบบทบทวนเพิ่มเติมหรือที่รู้จักกันในชื่อ "เฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม"[3]
แม้ว่าการถอดเป็นอักษรโรมันแบบคุนเรชิกิจะได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลญี่ปุ่น แต่เฮปเบิร์นยังคงเป็นวิธีการถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมมากที่สุด มีการเรียนการสอนโดยใช้ระบบเฮปเบิร์นในนักเรียนภาษาต่างชาติ และมีการใช้ระบบนี้ในการถอดชื่อ สถานที่ และข้อมูลอื่น ๆ เป็นอักษรโรมัน อาทิ ตารางการเดินรถไฟและป้ายถนน เนื่องด้วยระบบนี้ใช้อักขรวิธีที่อิงจากอักขรวิธีภาษาอังกฤษแทนการการถอดเสียงอย่างเป็นระบบจากชุดตัวหนังสือพยางค์ภาษาญี่ปุ่น ผู้พูดที่สามารถพูดได้แต่ภาษาอังกฤษหรือกลุ่มภาษาโรมานซ์[โปรดขยายความ] จะพูดได้อย่างถูกต้องกว่าเมื่อต้องออกเสียงคำที่ไม่คุ้นเคยด้วยการถอดเสียงแบบเฮปเบิร์น เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่น ๆ[4]
แบบ
แก้มีการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์นหลายแบบ โดยสองแบบทั่วไปคือ:
- เฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม (Traditional Hepburn): ตามนิยามในพจนานุกรมของเฮปเบิร์นหลายฉบับ โดยในฉบับที่สาม (ค.ศ. 1886)[5] ระบุว่าการถอดแบบดั้งเดิมเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้[6] (แม้ว่าต้องรับผิดชอบการเปลี่ยนของการใช้คานะ) เฮปเบิร์นแบบดั้งเดิมมีเอกลักษณ์ที่การแทนพยางค์ n ด้วย m ก่อนหน้าพยัญชนะ b, m และ p: เช่น Shimbashi สำหรับคำว่า 新橋
- เฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม (Modified Hepburn) หรือ เฮปเบิร์นทบทวนใหม่ (Revised Hepburn): ยกเลิกการแทนพยางค์ n ด้วย m ก่อนหน้าบางพยัญชนะ (Shinbashi สำหรับคำว่า 新橋) การถอดแบบแก้ไขเพิ่มเติมถูกตีพิมพ์ในฉบับที่สาม (ค.ศ. 1954) และฉบับถัดมาของพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น–ภาษาอังกฤษใหม่ของเค็งกีวชะ มักเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้[7] เฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติมเป็นแบบที่เป็นที่นิยมและถูกนำไปใช้มากที่สุด[8]
ในประเทศญี่ปุ่น มีการกำหนดแบบอย่างเป็นทางการบางส่วนเพื่อนำไปใช้ในหลากหลายการใช้งาน:
- มาตรฐานการรถไฟ (鉄道掲示基準規程, "Railway Standard")[9] เหมือนเฮปเบิร์นแก้ไขเพิ่มเติม แต่การแทนพยางค์ n ยังคงเหมือนแบบดั้งเดิม กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่นและบริษัทให้บริการรถไฟรายใหญ่อื่น ๆ นำไปใช้เป็นชื่อสถานี
- ป้ายถนนโรมาจิ (เฮปเบิร์น) (道路標識のローマ字, "Road Sign Romaji (Hepburn)") ใช้สำหรับป้ายบนถนน เหมือนเฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม แต่ระบุอย่างชัดเจนว่าจะไม่ใช้เครื่องหมายกำกับเสียง (macron)[10]
- มาตรฐานหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ (外務省旅券規定, "Ministry of Foreign Affairs Passport Standard")[11] แทนพยางค์ n ด้วย m ก่อนหน้าพยัญชนะ b, m และ p สระเสียงยาวจะไม่มีสัญลักษณ์กำกับ เช่น สระเสียงยาว ō จะถอดเป็นอักษรโรมันด้วย oh, oo หรือ ou (Satoh, Satoo หรือ Satou สำหรับคำว่า 佐藤)
แบบพ้นสมัยแล้ว
แก้ลักษณะ
แก้ในการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น สระผสมที่สร้างเสียงลากยาวมักเขียนแมครอน (◌̄) ประกอบ สระประชิด (adjacent vowel) อื่น ๆ ที่ถูกแยกด้วยขอบเขตหน่วยคำ (morpheme boundary) จะเขียนแยกกัน:
ในเฮปเบิร์นดั้งเดิม[14] | ในเฮปเบิร์นแก้ไขเพิ่มเติม[15] | |
---|---|---|
A + A | aa: お (ba + a) |
ā: お (ba + a) |
I + I | ii: (ni + i) | |
U + U | ū: (su + u) | |
E + E | ee: お (ne + e) |
ē: お (ne + e) |
O + O | ō: (to + o) | |
O + U | ō: (kyo + u) |
ในเฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม[14] และแบบแก้ไขเพิ่มเติม[15] | ||
---|---|---|
A + A | aa: | |
I + I | ii: | |
U + U | uu: | |
E + E | ee: | |
O + O | oo: | |
O + U | ou: |
สระผสมอื่น ๆ เขียนแยกกันทั้งหมด:
- E + I:
制 服 – sei + fuku – seifuku 'เครื่องแบบ' (แม้ E + I มักออกเสียงเป็น E ยาว) - U + I:
軽 い – karu + i – karui 'เบา' - O + I:
甥 – oi – oi 'หลานชาย'
คำยืม
แก้ในคำยืมต่างประเทศ สระเสียงยาวที่ตามด้วย โชองปุ (ー) จะเขียนแมครอนประกอบ:
- セーラー: se + (ー) + ra + (ー) = sērā '(ชุด)กะลาสี'
- タクシー: ta + ku + shi + (ー) = takushī 'แท็กซี่'
- コンクール: ko + n + ku + (ー) + ru = konkūru 'การแข่งขัน'
- バレーボール: ba + re + (ー) + bo + (ー) + ru = barēbōru 'วอลเลย์บอล'
- ソール: so + (ー) + ru = sōru 'ฝ่าเท้า'
สระประชิดในคำยืมจะเขียนแยกกัน:
- バレエ: ba + re + e – baree 'บัลเลต์'
- ミイラ: mi + i + ra – miira 'มัมมี่'
- ソウル: so + u + ru – souru 'วิญญาณ', 'โซล'
คำช่วย
แก้ในเฮปเบิร์นแบบดั้งเดิมและแก้ไขเพิ่มเติม:
- เมื่อ は ทำหน้าที่เป็นคำช่วย จะเขียนเป็น wa
ในเฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม:
- เมื่อ へ ทำหน้าที่เป็นคำช่วย เฮปเบิร์นเคยแนะนำให้ใช้ ye[14] ไม่ใช้การสะกดแบบนี้แล้ว และมักเขียนเป็น e แทน[16]
- เมื่อ を ทำหน้าที่เป็นคำช่วย เขียนเป็น wo[14]
ในเฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม:[15]
- เมื่อ へ ทำหน้าที่เป็นคำช่วย, เขียนเป็น e
- เมื่อ を ทำหน้าที่เป็นคำช่วย, เขียนเป็น o
พยางค์ n
แก้ในเฮปเบิร์นแบบดั้���เดิม::[14]
- พยางค์ n (ん) เขียนเป็น n ก่อนหน้าพยัญชนะ แต่เขียนเป็น m ก่อน พยัญชนะเสียงริมฝีปาก: b, m, และ p. บางครั้งเขียนเป็น n- (มียัติภังค์) ก่อนหน้าสระ และ y (เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนระหว่างทั้งสอง เช่น んあ n + a และ な na, และ んや n + ya and にゃ nya)
- 案内(あんない): annai – การนำทาง
- 群馬(ぐんま): Gumma – กุมมะ
- 簡易(かんい): kan-i – ความเรียบง่าย
- 信用(しんよう): shin-yō – ความเชื่อใจ
ในเฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม:[15]
- ยกเลิกการเขียนด้วย m ก่อนหน้าพยัญชนะเสียงริมฝีปาก และแทนด้วยการเขียนเป็น n และยังเขียน n' (มีอะพอสทรอฟี) ก่อนหน้าสระและ y
- 案内(あんない): annai – การนำทาง
- 群馬(ぐんま): Gunma – กุมมะ
- 簡易(かんい): kan'i – ความเรียบง่าย
- 信用(しんよう): shin'yō – ความเชื่อใจ
พยัญชนะเสียงยาว
แก้เสียงซ้ำพยัญชนะ (geminate consonant sound) จะซ้ำพยัญชนะตัวข้างหน้าที่ตามด้วยโซกูอง (っ) สำหรับพยัญชนะที่เป็นทวิอักษร (digraph) ในเฮปเบิร์น (sh, ch, ts) จะซ้ำแค่พยัญชนะตัวแรกเท่านั้น ยกเว้น ch จะแทนด้วย tch[14][15]
- 結果(けっか): kekka – ผลลัพธ์
- さっさと: sassato – อย่างรวดเร็ว
- ずっと: zutto – ตลอด
- 切符(きっぷ): kippu – ตั๋ว
- 雑誌(ざっし): zasshi – นิตยสาร
- 一緒(いっしょ): issho – ด้วยกัน
- こっち: kotchi (ไม่ใช้ kocchi) – ทางนี้
- 抹茶(まっちゃ): matcha (ไม่ใช่ maccha) – มัตจะ
- 三つ(みっつ): mittsu – สาม
ตารางการถอดเป็นอักษรโรมัน
แก้โกจูอง | โยอง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
あ ア a | い イ i | う ウ u | え エ e | お オ o | |||
か カ ka | き キ ki | く ク ku | け ケ ke | こ コ ko | きゃ キャ kya | きゅ キュ kyu | きょ キョ kyo |
さ サ sa | し シ shi | す ス su | せ セ se | そ ソ so | しゃ シャ sha | しゅ シュ shu | しょ ショ sho |
た タ ta | ち チ chi | つ ツ tsu | て テ te | と ト to | ちゃ チャ cha | ちゅ チュ chu | ちょ チョ cho |
な ナ na | に ニ ni | ぬ ヌ nu | ね ネ ne | の ノ no | にゃ ニャ nya | にゅ ニュ nyu | にょ ニョ nyo |
は ハ ha | ひ ヒ hi | ふ フ fu | へ ヘ he | ほ ホ ho | ひゃ ヒャ hya | ひゅ ヒュ hyu | ひょ ヒョ hyo |
ま マ ma | み ミ mi | む ム mu | め メ me | も モ mo | みゃ ミャ mya | みゅ ミュ myu | みょ ミョ myo |
や ヤ ya | ゆ ユ yu | よ ヨ yo | |||||
ら ラ ra | り リ ri | る ル ru | れ レ re | ろ ロ ro | りゃ リャ rya | りゅ リュ ryu | りょ リョ ryo |
わ ワ wa | ゐ ヰ i † | ゑ ヱ e † | を ヲ o ‡ | ||||
ん ン n /n' | |||||||
が ガ ga | ぎ ギ gi | ぐ グ gu | げ ゲ ge | ご ゴ go | ぎゃ ギャ gya | ぎゅ ギュ gyu | ぎょ ギョ gyo |
ざ ザ za | じ ジ ji | ず ズ zu | ぜ ゼ ze | ぞ ゾ zo | じゃ ジャ ja | じゅ ジュ ju | じょ ジョ jo |
だ ダ da | ぢ ヂ ji | づ ヅ zu | で デ de | ど ド do | ぢゃ ヂャ ja | ぢゅ ヂュ ju | ぢょ ヂョ jo |
ば バ ba | び ビ bi | ぶ ブ bu | べ ベ be | ぼ ボ bo | びゃ ビ�� bya | びゅ ビュ byu | びょ ビョ byo |
ぱ パ pa | ぴ ピ pi | ぷ プ pu | ぺ ペ pe | ぽ ポ po | ぴゃ ピャ pya | ぴゅ ピュ pyu | ぴょ ピョ pyo |
- แต่ละช่องประกอบด้วย ฮิรางานะ คาตากานะ และการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น ตามลำดับ
- † — อักษรสีแดง เป็นตัวอักษรในอดีตและไม่มีการใช้ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันแล้ว[17][18] ในการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์นปัจจุบัน ไม่พบหลักเกณฑ์การถอดอย่างชัดเจน[15]
- ‡ — อักษรสีน้ำเงิน มักไม่พบเห็นในหน้าที่อื่นนอกจากการทำหน้าที่เป็นคำช่วยในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน[19] การถอดเป็นอักษรโรมันเป็นไปตามกฎด้านบน
คาตากานะเสียงควบกล้ำ
แก้การผสมเหล่านี้มักใช้เพื่อแทนเสียงในคำภาษาอื่น
ทวิอักษรที่มีพื้นหลังสีส้ม เป็นทวิอักษรที่มีการใช้โดยทั่วไปในคำยืมหรือสถานที่หรือชื่อต่างประเทศ ทวิอักษรที่มีพื้นหลังสีน้ำเงิน ถูกใช้เพื่อการถอดอักษรของเสียงต่างชาติให้ถูกต้องที่สุด ซึ่งทั้งสองนี้กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีภายใต้คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นผู้เสนอ[20] คาตานากะควบกล้ำที่มีพื้นหลังสีเบจ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน[21] และ สถาบันมาตรฐานอังกฤษ เป็นผู้เสนอให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้ได้[22] ทวิอักษรที่มีพื้นหลังสีม่วง ปรากฏอยู่ในการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮียวจุน-ชิกิ ค.ศ. 1974 ของเฮปเบิร์น[16]
イィ yi | イェ ye | |||
ウァ wa* | ウィ wi | ウゥ wu* | ウェ we | ウォ wo |
ウュ wyu | ||||
ヴァ va | ヴィ vi | ヴ vu⁑ | ヴェ ve | ヴォ vo |
ヴャ vya | ヴュ vyu | ヴィェ vye | ヴョ vyo | |
キェ kye | ||||
ギェ gye | ||||
クァ kwa | クィ kwi | クェ kwe | クォ kwo | |
クヮ kwa | ||||
グァ gwa | グィ gwi | グェ gwe | グォ gwo | |
グヮ gwa | ||||
シェ she | ||||
ジェ je | ||||
スィ si | ||||
ズィ zi | ||||
チェ che | ||||
ツァ tsa | ツィ tsi | ツェ tse | ツォ tso | |
ツュ tsyu | ||||
ティ ti | トゥ tu | |||
テュ tyu | ||||
ディ di | ドゥ du | |||
デュ dyu | ||||
ニェ nye | ||||
ヒェ hye | ||||
ビェ bye | ||||
ピェ pye | ||||
ファ fa | フィ fi | フェ fe | フォ fo | |
フャ fya | フュ fyu | フィェ fye | フョ fyo | |
ホゥ hu | ||||
ミェ mye | ||||
リェ rye | ||||
ラ゚ la | リ゚ li | ル゚ lu | レ゚ le | ロ゚ lo |
ヷ va⁂ | ヸ vi⁂ | ヹ ve⁂ | ヺ vo⁂ |
- * — การใช้ ウ ทั้งสองกรณีนี้เพื่อแทนเสียง w พบเห็นได้ยากในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน เว้นแต่จะเป็นสแลงอินเทอร์เน็ตและใช้เพื่อการถอดเสียงละติน [w] ให้เป็นคาตากานะ เช่น ミネルウァ (Mineruwa "มิเนอร์วา", จากละติน MINERVA [mɪˈnɛrwa]); ウゥルカーヌス (Wurukānusu "วัลแคน", จากละติน VVLCANVS, Vulcānus [wʊlˈkaːnʊs]) เสียงภาษาต่างประเทศจำพวก wa (เช่น watt หรือ white ในภาษาอังกฤษ) มักถอดเสียงเป็น ワ (wa) ขณะที่ เสียงจำพวก wu (เช่น wood หรือ woman ในภาษาอังกฤษ) ถอดเสียงเป็น ウ (u) หรือ ウー (ū)
- ⁑ — ヴ มีรูปฮิรางานะที่พบเห็นได้ยากคือ ゔ เขียนเป็น vu ในระบบการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น
- ⁂ — อักษรสีเขียว ไม่มีการใช้หรือใช้น้อยมากในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันแล้ว[17][18]
อ้างอิง
แก้- ↑ Sant, John Van; Mauch, Peter; Sugita, Yoneyuki (January 29, 2007). Historical Dictionary of United States-Japan Relations. Scarecrow Press. p. 104. ISBN 978-0-8108-6462-7.
- ↑ Seeley, Christopher (April 1, 2000). A History of Writing in Japan. University of Hawaii Press. pp. 139–140. ISBN 978-0-8248-2217-0.
- ↑ Nishiyama, Kunio; Kishimoto, Hideki; Aldridge, Edith, บ.ก. (December 15, 2018). Topics in Theoretical Asian Linguistics: Studies in Honor of John B. Whitman. John Benjamins Publishing Company. p. 292. ISBN 978-90-272-6329-2.
- ↑ Hadamitzky, Wolfgang; Spahn, Mark (October 2005). "Romanization systems". Wolfgang Hadamitzky: Japan-related Textbooks, Dictionaries, and Reference Works. สืบค้นเมื่อ August 10, 2017.
- ↑ 和英語林集成第三版 [Digital 'Japanese English Forest Collection']. Meiji Gakuin University Library (ภาษาญี่ปุ่น). Meiji Gakuin University. March 2010 [2006]. สืบค้นเมื่อ August 10, 2017.
- ↑ "明治学院大学図書館 - 『和英語林集成』デジタルアーカイブス". Meijigakuin.ac.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2013. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
- ↑ Kudo, Yoko (January 28, 2011). "Modified Hepburn Romanization System in Japanese Language Cataloging: Where to Look, What to Follow" (pdf). Cataloging & Classification Quarterly. 49 (2): 97–120. doi:10.1080/01639374.2011.536751. S2CID 62560768.
- ↑ "UHM Library : Japan Collection Online Resources". Hawaii.edu. October 6, 2005. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
- ↑ "鉄道掲示基準規程". Homepage1.nifty.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2012. สืบค้นเมื่อ July 13, 2012.
- ↑ 道路標識のローマ字(ヘボン式) の綴り方 [How to spell Roman letters (Hepburn style) of road signs]. Kictec (ภาษาญี่ปุ่น). June 14, 2012. สืบค้นเมื่อ August 10, 2017.
- ↑ "ヘボン式ローマ字綴方表". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ May 16, 2022.
- ↑ James Curtis Hepburn (1872). A Japanese-English And English-Japanese Dictionary (2nd ed.). American Presbyterian mission press. pp. 286–290. สืบค้นเมื่อ December 16, 2013.
- ↑ Hepburn, J. C. (James Curtis) (December 10, 1872). "Japanese-English and English-Japanese dictionary". Shanghai, American Presbyterian mission press – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 James Curtis Hepburn (1886). A Japanese-English And English-Japanese Dictionary (Third ed.). Z. P Maruyama & Co. สืบค้นเมื่อ April 12, 2011.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary (Fourth ed.). Kenkyūsha. 1974.
- ↑ 16.0 16.1 "標準式ローマ字つづり―引用". สืบค้นเมื่อ February 27, 2016.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง]
- ↑ 17.0 17.1 Cabinet of Japan (November 16, 1946). 昭和21年内閣告示第33号 「現代かなづかい」 [Japanese Cabinet Order No.33 in 1946 - Modern kana usage] (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2001. สืบค้นเมื่อ May 25, 2011.
- ↑ 18.0 18.1 Cabinet of Japan (July 1, 1986). 昭和61年内閣告示第1号 「現代仮名遣い」 [Japanese Cabinet Order No.1 in 1986 - Modern kana usage] (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2011. สืบค้นเมื่อ May 25, 2011.
- ↑ Fujino Katsuji (1909). ローマ字手引き [RÔMAJI TEBIKI] (ภาษาญี่ปุ่น). Rômaji-Hirome-kai.
- ↑ Cabinet of Japan. "平成3年6月28日内閣告示第2号:外来語の表記" [Japanese cabinet order No.2 (June 28, 1991):The notation of loanword]. Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2019. สืบค้นเมื่อ May 25, 2011.
- ↑ "米国規格(ANSI Z39.11-1972)―要約". สืบค้นเมื่อ February 27, 2016.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง]
- ↑ "英国規格(BS 4812 : 1972)―要約". สืบค้นเมื่อ February 27, 2016.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง]