กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน

กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1871–1919) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กองทัพบกเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Heer[1]) เป็นกองทัพบกของจักรวรรดิเยอรมันระหว่างปีค.ศ. 1871 ถึง 1918 เป็นกองทัพหลักที่มีบทบาทสำคัญในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

กองทัพบกเยอรมัน
Deutsches Heer
ธงพระยศไกเซอร์
ปลดประจำการค.ศ. 1919
ประเทศ เยอรมนี
ขึ้นต่อไกเซอร์เยอรมัน
กำลังรบ13,500,000 นาย
(สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
สีหน่วย
ปฏิบัติการสำคัญสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สงครามกลางเมืองซามัว
Abushiri Revolt
สงครามกลางเมืองซามัวครั้งที่ 2
กบฏนักมวย
สงครามเฮเรโร
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1
จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3
จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2
ผบ. สำคัญจอมพล ฟ็อน ม็อลท์เคอ
จอมพล ฟ็อน ชไตน์เม็ทซ์
จอมพล ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
พลเอกอาวุโส ฟ็อน เซคท์

ประวัติ

แก้

เมื่อราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นแกนนำจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ สนธิสัญญาได้กำหนดกองกำลังของสมาพันธ์เป็นสองเหล่าทัพชื่อว่า กองทัพสมาพันธรัฐ (Bundesheer) และ กองทัพเรือสมาพันธรัฐ (Bundesmarine) รัฐต่างๆต้องส่งมอบอำนาจทางทหารรวมถึงยุทธปัจจัยต่างๆให้แก่กองทัพปรัสเซียในยามศึกสงคราม เมื่อสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียปะทุขึ้นในปีค.ศ. 1870 นอกจากรัฐร่วมสมาพันธ์จะต้องเข้าร่วมสงครามด้วยแล้ว ยังได้ดึงเอารัฐอื่นนอกสมาพันธ์เข้ามาร่วมสงครามด้วย นั่นได้แก่ บาวาเรีย, เวือร์ทเทิมแบร์ค และบาเดิน

ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมันถูกร่างขึ้นในปีค.ศ. 1871 ก็ได้สถาปนากองทัพบกที่ชื่อว่า ไรชส์แฮร์ (Reichsheer) ขึ้นมา รัฐอื่นในจักรวรรดิต้องส่งมอบอำนาจบัญชากองทหารของตนให้แก่กองทัพปรัสเซีย มีเพียงทหารของบาวาเรีย, ซัคเซิน และเวือร์ทเทิมแบร์ค เท่านั้นที่มีสถานะเป็นกึ่งอิสระ รัฐทั้งสี่แห่งอย่างปรัสเซีย, บาวาเรีย, ซัคเซิน และเวือร์ทเทิมแบร์ค ต่างมีเสนาบดีการสงครามเป็นของตน อย่างไรก็ตาม หลังปีค.ศ. 1871 คำว่าไรชส์แฮร์ก็ไม่ได้รับความนิยมในเอกสารราชการ แต่ไปนิยมใช้คำว่า กองทัพบกเยอรมัน (Deutsches Heer) แทน

กองกำลังหลัก

แก้

ประกอบด้วยทหารราบ ทหารม้าซึ่งสมัยนั้นประกอบด้วย รถถังรุ่น A7Vเยอรมัน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารราบของจักรวรรดิเป็นทหารหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นทหารปรัสเซียหรือเยอรมัน โดยตรงด้านเยอรมันซึ่งฝ่ายมหาอำนาจกลางจะส่งทหารราบไปช่วยจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีป้องชายแดนจากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่าง อิตาลีและ เซอร์เบีย ฝ่ายมหาอำนาจกลาง มีกำลังพลน้อยกว่า นายกรัฐมนตรีอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์คถูกจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2ทรงไล่ออกจากราชการ ทำให้ทหารฝ่ายมหาอำนาจเสียขวัญและใจ ทหารราบจะให้ รถถัง เข้าโจมตีก่อนเพื่อป้องกันกระสุนจากปืนทุกๆกระบอก


  1. "Militair-Strafgesetzbuch vom 20. Juni 1872" in Gesetz-Sammlung für das Deutsche Reich, 1867 bis 1883, incl. Vol. 1. Berlin, 1884. p. 408. (ในภาษาเยอรมัน)