กล้องโทรทรรศน์วิลเลียม เฮอร์เชล
กล้องโทรทรรศน์วิลเลียม เฮอร์เชล (สเปน: Telescopio William Herschel, อังกฤษ: William Herschel Telescope; WHT) เริ่มมีความคิดก่อสร้างขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เมื่อเริ่มมีการออกแบบหอดูดาวอังโกล-ออสเตรเลียน สมาคมดาราศาสตร์อังกฤษเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีกล้องโทรทรรศน์สำหรับการเปรียบเทียบกำลังในเขตซีกโลกเหนือ การวางแผนก่อสร้างเริ่มในปี 1974 แต่เมื่อถึงปี 1979 โครงการก็เกือบถูกยกเลิกไปเนื่องจากงบประมาณที่บานปลายไปมาก มีการออกแบบใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง และกลุ่มนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้วย 20% ทำให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อได้ในปี 1981 ปีนั้นเป็นปีเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี การค้นพบดาวยูเรนัสของวิลเลียม เฮอร์เชล กล้องโทรทรรศน์นี้จึงได้ชื่อว่า "วิลเลียม เฮอร์เชล" เพื่อเป็นเกียรติ กล้องนี้เป็นสมาชิกหนึ่งในบรรดากลุ่มกล้องโทรทรรศน์ไอแซก นิวตัน ด้วย
ที่ตั้ง | หอดูดาวโรเกเดโลสมูชาโชส เกาะลาปัลมา แคว้นกานาเรียส |
---|---|
องค์กร | กลุ่มกล้องโทรทรรศน์ไอแซก นิวตัน |
ความยาวคลื่น | คลื่นที่ตามองเห็น / อินฟราเรด |
สร้างเมื่อ | เสร็จสมบูรณ์ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1987 |
ชนิดของกล้อง | สะท้อนแสงแบบกัสแกร็ง-แนสมิธ |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 4.2 ม. |
พื้นที่สังเกตการณ์ | 13.8 ม.2 |
ฐานตั้งกล้อง | ระบบขอบฟ้า |
เว็บไซต์ | WHT Homepage |
การก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์นี้เริ่มในปี ค.ศ. 1983 กล้องถูกส่งไปลาปัลมาในปี 1985 และเปิดรับแสงแรกเมื่อปี 1987 ติดตั้งฐานตั้งระบบขอบฟ้า และมีการปรับตั้งกระจกอยู่เสมอเพื่อให้ค่าความละเอียดสูงสุดตามทฤษฎีไม่เกิน 0.2 พิลิปดา
กล้องโทรทรรศน์วิลเลียม เฮอร์เชล ต้องรองรับงานวิจัยค่อนข้างมาก โดยปกติคำร้องขอใช้กล้องจะได้รับตอบเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น การค้นพบที่สำคัญผ่านกล้องโทรทรรศน์วิลเลียม เฮอร์เชล เช่น การพบฟองอากาศร้อนของแก๊สที่กำลังขยายตัวบริเวณศูนย์กลางของดาราจักรของเรา เป็นหลักฐานแสดงถึงการมี��ยู่ของหลุมดำมวลยวดยิ่ง นอกจากนี้ยังมีการค้นพบแสงวาบรังสีแกมมาเป็นครั้งแรก และล่าสุดคือการค้นพบดาว Wolf-Rayet ที่มีลมดาวฤกษ์ความเร็วสูงที่สุดเท่าที่เคยพบ