กลุ่มภาษาเซมิติก
กลุ่มภาษาเซมิติก (อังกฤษ: Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอามารา (27 ล้านคน) ภาษาทือกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน)
กลุ่มภาษาเซมิติก | |
---|---|
ภูมิภาค: | เอเชียตะวันตก แอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา คอเคซัส มอลตา |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | แอโฟรเอชีแอติก
|
ภาษาดั้งเดิม: | ภาษาเซมิติกดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-2 / 5: | sem |
กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรก ๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล
ประวัติ
แก้จุดกำเนิด
แก้กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก โดยเป็นสาขาเดียวที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนสาขาอื่นอยู่ในทวีปแอฟริกา จากเหตุผลนี้จึงเชื่อว่าบรรพบุรุษของผู้พูดภาษาเซมิติกดั้งเดิมเป็นกลุ่มชนที่ออกจากแอฟริกามาสู่ตะวันออกกลาง อาจจะเป็นผู้มาจากทะเลทรายสะฮารา[1][2] แต่ก็มีทฤษฎีว่าผู้พูดภาษาแอโฟรเอชีแอติกดั้งเดิมอยู่ในตะวันออกกลางและผู้พูดภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มเดียวที่เหลืออยู่
ผู้พูดภาษาเซมิติกดั้งเดิมคาดว่าเป็นผู้ที่มาถึงคาบสมุทรอาระเบียเมื่อราว 3,457 ปีก่อนพุทธศักราช จากนั้นภาษาลูกหลานในกลุ่มเซมิติกได้แพร่กระจายออกไป หลักฐานการเขียนเริ่มพบเมื่อราว 2,957 ปีก่อนพุทธศักราช เมื่อผู้พูดภาษาอัคคาเดียและภาษาอโมไรต์เข้าสู่เมโสโปเตเมียและอาจจะเคยอยู่ในสถานที่ เช่น เอบลาในซีเรีย
1,500 ปีก่อนพุทธศักราช
แก้เมื่อราว 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออกเริ่มแพร่หลายในเมโสโปเตเมีย ในขณะที่กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกใช้พูดตั้งแต่บริเวณจากซีเรียถึงเยเมน ภาษาอาระเบียใต้อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาเซมิติกใต้แต่หลักฐานมีน้อย ภาษาอัคคาเดียกลายเป็นภาษาเขียนสำคัญในดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์โดยใช้อักษรรูปลิ่มที่พัฒนามาจากอักษรที่ใช้เขียนภาษาสุเมเรีย กลุ่มชนที่พูดภาษาเอ็บลาไอต์หายไป โดยมีกลุ่มชนที่พูดภาษาอโมไรต์ขึ้นมาแทน
หลักฐานในช่วงนี้มิไม่มากนัก ที่พอมีบ้างคือตัวอักษร อักษรคานาอันไนต์เป็นอักษรชนิดแรกของกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกที่ใช้เมื่อราว 957 ปีก่อนพุทธศักราช และอักษรยูการิติกที่ใช้ในทางเหนือของซีเรียในอีก 200 ปีต่อมา ส่วนภาษาอัคคาเดียพัฒนาต่อมาเป็นสำเนียงบาบิโลเนียและอัสซีเรีย
500 ปีก่อนพุทธศักราช
แก้มีอักษรที่ใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ทั้งอักษรคานาอันไนต์ อักษรแอราเมอิก อักษรอาระเบียใต้และอักษรกีเอซรุ่นแรก ๆ ระหว่างช่วงนี้ มีการใช้อักษรยูการิติกที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะในกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ ชาวฟินิเชียนำภาษาคานาอันไนต์ไปใช้ทั้งเขตอาณานิคมในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาทางศาสนาของชาวยิว ในสมัยจักรวรรดิอัสซีเรีย ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษากลางในตะวันออกกลางในขณะที่ภาษาอัคคาเดีย ภาษาฮีบรู และอื่น ๆ กลายเป็นภาษาตายหรือใช้เป็นภาษาเขียนเท่านั้น ในขณะเดียวกันอักษรกีเอซเริ่มใช้บันทึกกลุ่มภาษาเซมิติกในเอธิโอเปียในช่วงนี้
พุทธศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา
แก้ภาษาซีรีแอกซึ่งเป็นลูกหลานของภาษาแอราเมอิกใช้ในลิแวนต์ตอนเหนือและเมโสโปเตเมีย กลายเป็นภาษาเขียนของชาวคริสต์ในพุทธศตวรรษที่ 8-10จนถึงยุคสมัยของศาสนาอิสลาม
ในยุคของศาสนาอิสลามราวพุทธศตวรรษที่ 12 ภาษาอาหรับเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาแอราเมอิกและแพร่หลายไปถึงสเปนและเอเชียกลาง กลายเป็นภาษาเขียนที่สำคัญในสมัยกาหลิบ และกลายเป็นภาษาสำคัญในตะวันออกกลางและอียิปต์ เมื่ออาณาจักรนูเบียล่มสลาย ภาษาอาหรับได้แพร่หลายไปยังอียิปต์ภาคใต้จนถึงมอริตาเนีย
กลุ่มภาษาเซมิติกยังคงมีความหลากหลายในเอธิโอเปียและเอริเทรีย โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาคูชิติกมาก ภาษาสำคัญในบริเวณนี้คือภาษาอามาราและภาษาทือกรึญญา จากการแพร่ขยายของเอธิโอเปียในสมัยราชวงศ์โซโลโมนิก ภาษาอามาราได้แพร่หลายไปทั่วเอธิโอเปียและเข้าไปแทนที่ภาษากีเอซที่ปัจจุบันยังเป็นภาษาทางศาสนาของชาวคริสต์ในบริเวณนี้
สถานะปัจจุบัน
แก้ภาษาอาหรับมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่เป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่มอริตาเนียไปถึงโอมานและจากอิรักไปถึงซูดาน และยังใช้เป็นภาษาทางศาสนาของชาวมุสลิมที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ด้วย ภาษาอาหรับที่เป็นภาษาพูดมีหลากหลายสำเนียงแต่ที่เป็นภาษาเขียนมีแบบเดียว ภาษามอลตาซึ่งเป็นลูกหลานของภาษาอาหรับสำเนียงแอฟริกาเหนือเป็นภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรโรมัน นอกจากภาษาอาหรับที่เป็นภาษาหลักในตะวันออกกลางแล้ว ยังพบกลุ่มภาษาเซมิติกอื่น ๆ อีก ภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่ตายไปเป็นเวลานานและใช้เป็นภาษาทางศาสนาของชาวยิวเท่านั้น กลายมาเป็นภาษาพูดอีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ 24 โดยขบวนการไซออนนิสต์เป็นผู้ฟื้นฟูภาษานี้ขึ้นมาใหม่และกลายเป็นภาษาหลักของประเทศอิสราเอล
กลุ่มชนชาติส่วนน้อยขนาดเล็กหลายกลุ่มเช่นชาวคริสต์อัสซีเรียยังคงใช้สำเนียงของภาษาแอราเมอิกโดยเฉพาะภาษาแอราเมอิกใหม่ที่มาจากภาษาซีรีแอก ในเขตภูเขาของอิรักภาคเหนือ ตุรกีตะวันออก และซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ภาษาซีรีแอกที่เป็นลูกหลานของภาษาแอราเมอิกโบราณใช้เป็นภาษาทางศาสนาของชาวคริสต์ในซีเรียและอิรัก
ในเยเมนและโอมานซึ่งอยู่ทางใต้ของคาบสมุทรอาระเบียยังมีชนเผ่าพูดภาษาอาระเบียใต้สมัยใหม่เช่นภาษามาห์รีและภาษาโซโกตรีซึ่งแตกต่างจากภาษาอาหรับที่ใช้พูดในบริเวณนั้นอย่างชัดเจน และอาจจะมาจากภาษาที่เขียนในจารึกอักษรอาระเบียใต้หรือลูกหลานของภาษาเหล่านั้น
ในเอธิโอเปียและเอริเทรีย มีผู้พูดกลุ่มภาษาเซมิติกจำนวนหนึ่งคือภาษาอามาราและภาษาทือกรึญญาในเอธิโอเปีย และภาษาติเกรและภาษาทือกรึญญาในเอริเทรีย ทั้งภาษาอามาราและภาษาทือกรึญญาเป็นภาษาราชการของเอธิโอเปียและเอริเทรีย ในขณะที่ภาษาติเกรมีผู้พูดในเอริเทรียเหนือและดินแดนต่ำตอนกลางรวมถึงภาคตะวันออกของซูดาน มีผู้พูดมากกว่า 1 ล้านคน มีผู้พูดภาษากูเรกในเขตภูเขาทางภาคใต้ตอนกลางของเอธิโอเปีย ภาษากีเอซยังคงเป็นภาษาทางศาสนาของชาวคริสต์ในเอธิโอเปียและเอริเทรีย
ไวยากรณ์
แก้กลุ่มภาษาเซมิติกมีไวยากรณ์ร่วมกันหลายอย่าง แม้จะมีส่วนที่ผันแปรกันไปบ้าง แม้ในภาษาเดียวกันเอง เช่น ภาษาอาหรับในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 กับภาษาอาหรับในปัจจุบัน
การเรียงคำ
แก้การเรียงลำดับคำในภาษาเซมิติกดั้งเดิมเป็นกริยา-ประธาน-กรรม สิ่งของ-เจ้าของ และนาม-คุณศัพท์ ในภาษาอาหรับคลาสสิกและสมัยใหม่จะใช้การเรียงตำแบบนี้มาก นอกจากนั้นยังพบการเรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม ดังที่พบในภาษาฮีบรูและภาษามอลตา กลุ่มภาษาเซมิติกในเอธิโอเปียสมัยใหม่เรียงประโยคแบบ ประธาน-กรรม-กริยา เจ้าของ-สิ่งของ และคุณศัพท์-นาม ซึ่งอาจจะมาจากอิทธิพลของกลุ่มภาษาคูชิติก กลุ่มภาษาเซมิติกที่เก่าที่สุด เช่น ภาษากีเอซ เป็นแบบกริยา-ประธาน-กรรม สิ่งของ-เจ้าของ และนาม-คุณศัพท์
การกของนามและคุณศัพท์
แก้ระบบการกสามแบบของภาษาเซมิติกดั้งเดิม (ประธาน กรรมตรงและเจ้าของ) โดยใช้การลงท้ายการกที่ต่างไป ยังคงมีอยู่ในภาษาอาหรับในอัลกุรอ่าน ภาษาอัคคาเดีย และภาษายูการิติก ลักษระนี้หายไปในภาษาเซมิติกสมัยใหม่ ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่คงมีการลงท้ายการกเฉพาะในการเขียนและการออกอากาศ การลงท้ายการกด้วย -n ยังคงไว้ในภาษาเซมิติกในเอธิโอเปีย นามและคุณศัพท์ในกลุ่มภาษาเซมิติกมีการกำหนดเป็นสถานะ สถานะชี้เฉพาะกำหนดโดย nunation
จำนวนของนามและคุณศัพท์
แก้กลุ่มภาษาเซมิติกส่วนใหญ่มี 3 จำนวนคือเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ ทวิพจน์ยังใช้อยู่ในภาษาอาหรับบางสำเนียงเช่นชื่อประเทศบาห์เรน (bahr "ทะเล" + -ayn "สอง") และในภาษาฮีบรู เช่น šana หมายถึง 1 ปี šnatayim หมายถึง 2 ปี และ šanim หมายถึงหลายปี และในภาษามอลตา sena หมายถึง 1 ปี sentejn หมายถึง 2 ปี และ snin หมายถึงหลายปี การทำให้เป็นพหูพจน์โดยการแทรกเสียงสระลงไป เช่น sadd เขื่อน 1 แห่ง sudūd เขื่อนหลายแห่ง พบในภาษาอาหรับและภาษาเอธิโอเปีย รวมทั้งภาษามอลตา จึงน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเซมิติกดั้งเดิม
มาลาและกาล
แก้ระบบมาลาของกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกและตะวันออกต่างกันชัดเจน ภาษาอัคคาเดียรักษาลักษณะซึ่งพบโดยทั่วไปในกลุ่มภาษาแอโฟรเอชีแอติก ภาษาเซมิติกตะวันตกดั้งเดิมมี 2 มาลา คือสมบูรณ์สำหรับการกระทำที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ใช้กับการกระทำที่เกิดไม่สมบูรณ์ ในกรณีพิเศษของภาษาแอราเมอิกใหม่มีการรวมคำกริยาซึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาอิหร่าน
รากศัพท์พยัญชนะสามตัว
แก้กลุ่มภาษาเซมิติกทั้งหมดมีลักษณะพิเศษของรากศัพท์ที่ประกอบด้วยพยัญชนะสามตัว (มีที่มีพยัญชนะ 2 หรือ 4 ตัวด้วย) สำหรับนาม คุณศัพท์ และกริยาซึ่งสร้างศัพท์ได้หลายทาง เช่น โดยแทรกเสียงสระ ซ้ำพยัญชนะ เติมอุปสรรค ปัจจัย หรืออาคม
ตัวอย่างเช่น รากศัพท์ k-t-b, (หมายถึงการเขียน) ในภาษาอาหรับ:
- kataba كتب "he wrote" (masculine)
- katabat كتبت "she wrote" (feminine)
- kutiba كتب "it was written" (masculine)
- kutibat كتبت "it was written" (feminine)
- kitāb- كتاب "book" (the hyphen shows end of stem before various case endings)
- kutub- كتب "books" (plural)
- kutayyib- كتيب "booklet" (diminutive)
- kitābat- كتابة "writing"
- kātib- كاتب "writer" (masculine)
- kātibah- كاتبة "writer" (feminine)
- kātibūn(a) كاتبون "writers" (masculine)
- kātibāt- كاتبات "writers" (feminine)
- kuttāb- كتاب "writers" (broken plural)
- katabat- كتبة "writers" (broken plural)
- maktab- مكتب "desk" or "office"
- maktabat- مكتبة "library" or "bookshop"
- maktūb- مكتوب "written" (participle) or "postal letter" (noun)
และรากศัพท์เดียวกันในภาษาฮีบรู (k-t-ḇ):
- kataḇti כתבתי "I wrote"
- kataḇta כתבת "you (m) wrote"
- kataḇ כתב "he wrote" or "reporter" (m)
- katteḇet כתבת "reporter" (f)
- kattaḇa כתבה "article" (plural katavot כתבות)
- miḵtaḇ מכתב "postal letter" (plural miḵtaḇim מכתבים)
- miḵtaḇa מכתבה "writing desk" (plural miḵtaḇot מכתבות)
- ktoḇet כתובת "address" (plural ktoḇot כתובות)
- ktaḇ כתב "handwriting"
- katuḇ כתוב "written" (f ktuḇa כתובה)
- hiḵtiḇ הכתיב "he dictated" (f hiḵtiḇa הכתיבה)
- hitkatteḇ התכתב "he corresponded (f hitkatḇa התכתבה)
- niḵtaḇ נכתב "it was written" (m)
- niḵteḇa נכתבה "it was written" (f)
- ktiḇ כתיב "spelling" (m)
- taḵtiḇ תכתיב "prescript" (m)
- meḵuttaḇ מכותב "a person on one's mailing list" (meḵutteḇet מכותבת f)
- ktubba כתובה "ketubah (a Jewish marriage contract)" (f) (note: b here, not ḇ)
ในภาษามอลตา ซึ่งรากศัพท์พยัญชนะจะเรียกว่า mamma:
- jiena ktibt "I wrote"
- inti ktibt "you wrote" (m or f)
- huwa kiteb "he wrote"
- hija kitbet "she wrote"
- aħna ktibna "we wrote"
- intkom ktibtu "you (pl) wrote"
- huma kitbu "they wrote"
- huwa miktub "it is written"
- kittieb "writer"
- kittieba "writers"
- kitba "writing"
- ktib "writing"
- ktieb "book"
- kotba "books"
- ktejjeb "booklet"
ในภาษาทือกรึญญาและภาษาอามารา รากศัพท์นี้ปรากฏเฉพาะคำนาม kitab หมายถึง amulet และกริยา to vaccinate ภาษาที่เป็นลูกหลานในเอธิโอเปียมีรากศัพท์ที่ต่างไปสำหรับการเขียน คำกริยาในภาษาในตระกูลแอฟโฟรเอเชียติกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มภาษาเซมิติกมีลักษณะเดียวกันนี้ แต่มักเป็นพยัญชนะ 2 ตัวมากกว่า
คำศัพท์ทั่วไป
แก้เพราะกลุ่มภาษาเซมิติกมีจุดกำเนิดร่วมกัน จึงมักมีศัพท์และรากศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน เช่น
English | Proto-Semitic | ภาษาอัคคาเดีย | ภาษาอาหรับ | ภาษาแอราเมอิก | ภาษาฮีบรู | ภาษากีเอซ | ภาษาเมห์รี |
---|---|---|---|---|---|---|---|
พ่อ | *ʼab- | ab- | ʼab- | ʼab-ā | ʼāḇ | ʼab | ḥa-yb |
หัวใจ | *lib(a)b- | libb- | lubb- | lebb-ā | lēḇ(āḇ) | libb | ḥa-wbēb |
บ้าน | bayt- | bītu, bētu | bayt- | beyt-ā | báyiṯ, bêṯ | bet | beyt, bêt |
peace | *šalām- | šalām- | salām- | shlām-ā | šālôm | salām | səlōm |
tongue | *lišān-/*lašān- | lišān- | lisān- | leššān-ā | lāšôn | lissān | əwšēn |
น้ำ | *may-/*māy- | mû (root *mā-/*māy-) | māʼ-/māy | mayy-ā | máyim | māy | ḥə-mō |
บางครั้ง รากศัพท์มีความหมายต่างไปในภาษาหนึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มภาษาเซมิติกอื่น ๆ ตัวอย่างเช่นรากศัพท์ b-y-ḍ ในภาษาอาหรับหมายถึงขาวและไข่ ในภาษามอลตา bajda หมายถึงขาวและไข่เช่นเดียวกัน แต่ในภาษาฮีบรูหมายถึงขาวเท่านั้น รากศัพท์ l-b-n ในภาษาอาหรับหมายถึงนม แต่ภาษาฮีบรูหมายถึงสีขาว รากศัพท์ l-ḥ-m ภาษาอาหรับหมายถึงเนื้อ แต่หมายถึงขนมปังในภาษาฮีบรู และวัวในกลุ่มภาษาเซมิติกในเอธิโอเปีย ความหมายดั้งเดิมของรากศัพท์นี้อาจหมายถึงอาหาร คำว่า medina (ราก: m-d-n) ภาษาอาหรับหมายถึงเมือง แต่ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่หมายถึงรัฐ ในบางครั้งไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างรากศัพท์ เช่น คำว่า ความรู้ ในภาษาฮีบรูใช้รากศัพท์ y-d-ʿ แต่ในภาษาอาหรับใช้ ʿ-r-f และ ʿ-l-m กลุ่มภาษาเซมิติกในเอธิโอเปีย ใช้ ʿ-w-q และ f-l-ṭ
การจัดจำแนก
แก้การจัดจำแนกต่อไปนี้เป็นไปตามวิธีของ Robert Hetzron เมื่อ พ.ศ. 2519 และมีการปรับปรุงโดย John Huehnergard และ Rodgers ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดจำแนกอยู่ เช่น อาจจัดภาษาอาหรับอยู่ในกลุ่มเซมิติกใต้ บางส่วนแยกกลุ่มภาษาอาระเบียใต้ออกเป็นสาขาที่สามร่วมกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออกและตะวันตก มากกว่าจะตั้งเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ นอกจากนั้นยังไม่มีเส้นแบ่งที่แน่นอนระหว่างภาษาเอกเทศกับสำเนียง ดังที่พบในภาษาอาหรับ ภาษาแอราเมอิกและภาษากูเรก
การจัดกลุ่มภายในกลุ่มภาษาเซมิติกก่อน พ.ศ. 2513 จัดให้ภาษาอาหรับอยู่ในกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ และยังไม่มีการค้นพบภาษาเอ็บลาไอต์ในช่วงนั้น
กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออก
แก้- ภาษาอัคคาเดีย เป็นภาษาตาย
- ภาษาเอ็บลาไอต์ เป็นภาษาตาย
กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก
แก้- กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง
- กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ
- ภาษาอโมไรต์ -ตายแล้ว
- ภาษายูการิติก - ตายแล้ว
- ภาษาคานาอันไนต์ - ตายแล้ว
- ภาษาอัมโมไนต์ - ตายแล้ว
- ภาษามัวไบต์ - ตายแล้ว
- ภาษาอีโดไมต์ - ตายแล้ว
- ภาษาฮีบรู
- ภาษาฮีบรูไบเบิล ใช้โดยนักวิชาการเพื่อเรียกภาษาฮีบรูที่ใช้ในคัมภีร์โตราห์ ปัจจุบันเหลือรอดในรูปภาษาฮีบรูสมัยใหม่
- ภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้ในการอ่านคัมภีร์ทัลมุดและงานเขียนแรบไบอื่น ๆ อาจเป็นภาษาพูดในยุคกลาง
- ภาษาฮีบรูยุคกลาง พัฒนามาเป็นภาษาฮีบรูสมัยใหม่
- ภาษามิซราฮี ใช้พูดในอิสราเอล เยเมน อิรัก เปอร์โตริโกและนิวยอร์ก
- ภาษาฮีบรูเตยมานี ใช้พูดในหมู่ชาวยิวในเยเมน
- ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี การออกเสียงภาษาฮีบรูสมัยใหม่ยึดตามสำเนียงนี้
- ภาษาฮีบรูอาซเกนาซี ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาฮีบรูซามาริทัน ใช้พูดในโอลอน เทลอาวีฟ และนาบลัสในเขตปกครองตนเองของปาเลสไตน์
- ภาษาฮีบรูสมัยใหม่หรือภาษาฮีบรูอิสราเอล
- ภาษาฟินิเชีย - ตายแล้ว
- ภาษาปูนิก - ตายแล้ว
- ภาษาแอราเมอิก
- ภาษานาบาทาเอียน - ตายแล้ว
- ภาษาแอราเมอิกตะวันตกยุคกลาง
- ภาษาแอราเมอิกปาเลสไตน์ยุคกลางของชาวยิว - ตายแล้ว
- ภาษาแอราเมอิกซามาริทัน- ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาแอราเมอิกปาเลสไตน์ของชาวคริสต์ - ตายแล้ว
- ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตก - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาแอราเมอิกตะวันออก- ตายแล้ว
- ภาษาแอราเมอิกไบเบิล
- ภาษาอราเมฮอิกาตรัน - ตายแล้ว
- ภาษาซีรีแอก - ยังมีสำเนียงเหลืออยู่
- ภาษาแอราเมอิกบาบิโลเนียยุคกลางของชาวยิว - ตายแล้ว
- ภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดีย - ยังมีสำเนียงเหลืออยู่
- ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาเซนายา - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษากอย ซันจัต ซูรัต - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาเฮอร์เตวิน - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาตูโรโย - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษามลาโซ- ตายแล้ว
- ภาษามันดาอิก - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาแอราเมอิกของชาวยิว - ยังมีผู้พูดเหลืออยู่
- ภาษาอาหรับ
- ภาษาอาหรับเหนือโบราณ - ตายแล้ว
- ภาษาอาหรับมาตรฐาน
- ภาษาฟุซฮา เป็นภาษาเขียน
- ภาษาอาหรับคลาสสิก เป็นภาษาที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอ่านและวรรณคดีของศาสนาอิสลาม
- ภาษาอาหรับยุคกลาง ใช้เรียกภาษาอาหรับยุคหลังคลาสสิกและก่อนภาษาอาหรับสมัยใหม่ ไม่ใช้เป็นภาษาพูด
- ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ เป็นภาษาเขียนยุคใหม่ใช้ในสื่อที่เป็นทางการและการเขียนในโลกอาหรับ ต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิกและภาษาอาหรับยุคกลางโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น
- ภาษาฟุซฮา เป็นภาษาเขียน
- สำเนียงต่าง ๆ ของภาษาอาหรับที่ใช้เป็นภาษาพูด
- สำเนียงของภาษาอาหรับตะวันออก
- สำเนียงของภาษาอาหรับคาบสมุทร ได้แก่
- ภาษาอาหรับโดฟารี ใช้ในโอมาน เยเมน ภาษาอาหรับฮาดรามี ใช้ในเยเมน ภาษาอาหรับฮิญาซีใช้ในซาอุดีอาระเบีย ภาษาอาหรับนัจญ์ดี ใช้ในซาอุดีอาระเบีย ภาษาอาหรับโอมาน ภาษาอาหรับซานาอานี ใช้ในเยเมน ภาษาอาหรับตาอิซซี-อเดนน์ ใช้ในเยเมน ภาษาอาหรับของชาวยิวในเยเมน
- สำเนียงภาษาอาหรับเบดูอิน/เบดาวี ได้แก่ ภาษาอาหรับเบดาวีในอียิปต์ตะวันออก ภาษาอาหรับเบดาวีในคาบสมุทร ใช้พูดในคาบสมุทรอาหรับ
- สำเนียงในเอเชียกลาง ได้แก่ ภาษาอาหรับเอเชียกลาง ภาษาอาหรับคูเซสถาน ภาษาอาหรับซิรวาน (ตายแล้ว)
- ภาษาอาหรับอียิปต์ ใช้พูดในไคโรและที่ลุ่มปากแม่น้ำไนล์
- ภาษาอาหรับไซดี ใช้พูดในอียิปต์ตอนบน
- สำเนียงอ่าว รวมทั้งที่ใช้พูดในอิหร่าน ภาษาอาหรับบาห์เรน ในบาห์เรน ภาษาอาหรับอ่าว ใช้พูดในประเทศริมอ่าวเปอร์เซีย ภาษาอาหรับซิฮีฮี ใช้พูดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- สำเนียงภาษาอาหรับในบริเวณลิแวนต์ ได้แก่
- ภาษาอาหรับมาโรไนต์ ในไซปรัส
- ภาษาที่ใช้พูดในบริเวณลิแวนต์เหนือ คือ เลบานอน ซีเรีย ได้แก่ ภาษาอาหรับเลบานอน
- ภาษาที่ใช้พูดในบริเวณลิแวนต์ใต้ คือ จอร์แดน ปาเลสไตน์ เวสต์แบงก์ และอิสราเอล ได้แก่ ภาษาอาหรับปาเลสไตน์
- ภาษาอาหรับอิรัก ใช้พูดในอิรัก ได้แก่
- ภาษาอาหรับซูดาน
- สำเนียงของภาษาอาหรับมักเรบ
- ภาษาอาหรับแอลจีเรีย
- ภาษาอาหรับสะฮารา
- ภาษาอาหรับชูวา ในชาด
- ภาษาอาหรับฮัสซานียะห์ ในมอริตาเนียและบริเวณทะเลทรายสะฮารา
- ภาษาอาหรับลิเบีย รวมทั้งภาษาอาหรับตริโปลีของชาวยิว สำเนียงในลิเบีย
- ภาษาอาหรับอันดาลูซี เป็นสำเนียงที่ใช้ในคาบสมุทรไอบีเรีย เป็นภาษาที่ตายแล้ว
- ภาษาอาหรับซิซิลี เป็นภาษาที่ตายแล้ว มีภาษามอลตาที่เป็นลูกหลานของภาษานี้แต่ถือเป็นภาษาเอกเทศ
- ภาษาอาหรับโมร็อกโก รวมภาษาอาหรับโมร็อกโกของชาวยิว
- ภาษาอาหรับตูนิเซีย รวมภาษาอาหรับตูนิเซียของชาวยิว
ในกรณีของภาษาอาหรับสำเนียงของชาวยิวที่มีคำยืมจากภาษาฮีบรูมาก จะจัดรวมไว้ในภาษาอาหรับคลาสสิกที่เขียนด้วยอักษรฮีบรู โดยใช้ศัพท์ว่าภาษาอาหรับของชาวยิว
กลุ่มภาษาเซมิติกใต้
แก้- กลุ่มภาษาเซมิติกใต้ตะวันตก
- กลุ่มภาษาอาระเบียใต้โบราณ เป็นภาษาที่ตายแล้วทั้งหมด เคยเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของภาษาอาระเบียใต้สมัยใหม่และกลุ่มภาษาเซมิติกในเอธิโอเปียได้แก่ ภาษาซาบาเอียน ภาษาไมนวน ภาษากวาตาบาอิก ภาษาฮาดราเมาติก
- กลุ่มภาษาเอธิโอเปีย
- กลุ่มภาษาเอธิโอเปียเหนือ ได้แก่
- ภาษากีเอซ เป็นภาษาตาย ใช้เป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอดอกซ์เอธิโอเปียและนิกายออร์ธอดอกซ์เอริเทรีย
- ภาษาทีกรินยา ภาษาประจำชาติของเอริเทรีย
- ภาษาติเกร
- ภาษาดะห์ลิก เพิ่งพบใหม่
- กลุ่มภาษาเอธิโอเปียใต้
- กลุ่มตัดผ่าน ได้แก่
- กลุ่มภาษาอามารา-อาร์กอบบา ได้แก่ ภาษาอามารา ภาษาประจำชาติของเอธิโอเปีย และภาษาอาร์กอบบา
- กลุ่มภาษาอาราริ-กูเรกตะวันออก ได้แก่ ภาษาอาราริ กลุ่มภาษากูเรกตะวันออก (ภาษาเซลติ ภาษาซาว ภาษาอุลบาเร ภาษาโวลาเน ภาษาอินเนกอร์)
- กลุ่มนอก
- กลุ่มเหนือ ได้แก่ ภาษากาฟัต (ตายแล้ว) ภาษาโซดโด ภาษากอกกอต
- กลุ่มของภาษาเมสเมส ภาษามูเฮอร์ กลุ่มภาษากูเรกตะวันตก (ภาษามัสกัน) กลุ่มภาษากูเรกตะวันตกตอนกลาง (ภาษาเอซา ภาษาซาฮา ภาษากูรา ภาษากูเมอร์) กลุ่มภาษากูเรกตะวันตกรอบนอก (ภาษาเวเยโต ภาษาเอนเนมอร์ ภาษาเอนเดเกน)
- กลุ่มตัดผ่าน ได้แก่
- กลุ่มภาษาเอธิโอเปียเหนือ ได้แก่
- กลุ่มภาษาเซมิติกใต้ตะวันออก ภาษาเหล่านี้ใช้พูดโดยชนกลุ่มน้อยในคาบสมุทรอาระเบียในเยเมนและโอมาน ได้แก่ ภาษาบาทารี ภาษาฮาร์ซูซี ภาษาออบยอต ภาษาจิบบาลี ภาษาเมห์รี ภาษาโซโกตรี
ภาษาเมห์รีมีบรรพบุรุษใกล้เคียงกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออก มากกว่ากลุ่มภาษาเซมิติกใต้ ทุกวันนี้ ภาษาเมห์รีถูกจัดให้อยู่ระหว่างกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ตะวันออก หรือเป็นกลุ่มอิสระ
อ้างอิง
แก้- ↑ The Origins of Afroasiatic – Ehret et al. 306 (5702): 1680c – Science
- ↑ McCall, Daniel F. (1998). "The Afroasiatic Language Phylum: African in Origin, or Asian?". Current Anthropology. 39 (1): 139–44. doi:10.1086/204702.
- Patrick R. Bennett. Comparative Semitic Linguistics: A Manual. Eisenbrauns 1998. ISBN 1-57506-021-3.
- Gotthelf Bergsträsser, Introduction to the Semitic Languages: Text Specimens and Grammatical Sketches. Translated by Peter T. Daniels. Winona Lake, Ind. : Eisenbrauns 1995. ISBN 0-931464-10-2.
- Giovanni Garbini. Le lingue semitiche: studi di storia linguistica. Istituto Orientale: Napoli 1984.
- Giovanni Garbini & Olivier Durand. Introduzione alle lingue semitiche. Paideia: Brescia 1995.
- Robert Hetzron (ed.) The Semitic Languages. Routledge: London 1997. ISBN 0-415-05767-1. (For family tree, see p. 7).
- Edward Lipinski. Semitic Languages: Outlines of a Comparative Grammar. 2nd ed., Orientalia Lovanensia Analecta: Leuven 2001. ISBN 90-429-0815-7
- Sabatino Moscati. An introduction to the comparative grammar of the Semitic languages: phonology and morphology. Harrassowitz: Wiesbaden 1969.
- Edward Ullendorff, The Semitic languages of Ethiopia: a comparative phonology. London, Taylor's (Foreign) Press 1955.
- William Wright & William Robertson Smith. Lectures on the comparative grammar of the Semitic languages. Cambridge University Press 1890. [2002 edition: ISBN 1-931956-12-X]
- Arafa Hussein Mustafa. "Analytical study of phrases and sentences in epic texts of Ugarit." (German title: Untersuchungen zu Satztypen in den epischen Texten von Ugarit). PhD-Thesis. Martin-Luther-University Halle-Wittenberg, Germany: 1974.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Chart of the Semitic Family Tree American Heritage Dictionary (4th ed.)
- Semitic genealogical tree (as well as the Afroasiatic one), presented by Alexander Militarev at his talk “Genealogical classification of Afro-Asiatic languages according to the latest data” (at the conference on the 70th anniversary of Vladislav Illich-Svitych, Moscow, 2004; short annotations of the talks given there(รัสเซีย))
- "Semitic" in SIL's Ethnologue
- Ancient snake spell in Egyptian pyramid may be oldest Semitic inscription