กระโถนพระฤๅษี

สปีชีส์ของพืช
กระโถนพระฤๅษี
ดอกของกระโถนพระฤๅษี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Rafflesiaceae
สกุล: Sapria
สปีชีส์: S.  himalayana
ชื่อทวินาม
Sapria himalayana
Griff.[1]
ชื่อพ้อง

Richthofenia siamensis Hosseus[2]

กระโถนพระฤๅษี[3] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sapria himalayana) เป็นพืชดอกจำพวกกาฝากหรือพืชเบียนหายาก เป็นญาติใกล้ชิดกับพืชสกุลบัวผุด พบในทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย[2][4] กระโถนพระฤๅษีเป็นการแสดงออกให้เห็นอย่างสุดโต่งของการอิงอาศัย ทุกอย่างจะขึ้นกับพืชเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นน้ำ, สารอาหาร และ ผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์แสงที่มันจะดูดมาด้วยระบบรากพิเศษที่เรียกว่ารากเบียน (haustoria) [4] รากเบียนนี้จะเจาะเข้าไปที่ไซเล็มและโฟลเอ็มของพืชเจ้าบ้าน

การกระจายพันธุ์

แก้

กระโถนพระฤๅษีถูกพบในอุทยานแห่งชาตินัมทาฟา[4][5] ในตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และยังมีประวัติว่าพบในบริเวณนี้อีก เช่น หุบเขามิศมี (Mishmi) [6] หุบเขาอะกา (Aka) [7] ในอรุณาจัลประเทศ, และในรัฐอัสสัม, รัฐมณีปุระ และรัฐเมฆาลัย,[8] แต่ไม่มีการพบในบริเวณเหล่านี้มานานแล้ว[4] ในประเทศไทยพบในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย, อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, อุทยานแห่งชาติดอยภูคา, ภูสอยดาว, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว[9] และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน[10] และยังพบกระโถนพระฤๅษีในประเทศภูฏาน, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน, ประเทศพม่า, และประเทศเวียดนามด้วย พบในป่าไม่ผลัดใบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 ถึง 1,450 ม.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

ดอกของกระโถนพระฤๅษีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. มีเพศเดียวและดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกต้นกัน มี 10 กลีบ กลีบหนาอ้วน เรียงเป็น 2 ชั้นกลีบชั้นนอกใหญ่กว่ากลีบชั้นใน มีสีแดงเลือดหมูปกคลุมด้วยจุดสีเหลือง[4] กลีบลักษณะตั้งขึ้นส่วนปล่ายโค้งแอ่นออกด้านนอกคล้ายระฆังหงาย มีช่องเปิดตรงกราง ปลายฐานรูปแคปซูลแผ่ออกเป็นจานคล้ายแอ่งกระทะ เส้าเกสรอยู่บนแคปซูลใต้แผ่นจาน ในดอกเพศผู้แคปซูลจะผอมและเรียวกว่าในดอกเพศเมีย และมีลักษณะนูนตรงกลางจานขณะที่ดอกเพศเมียมีลักษณะเว้น ดอกปรากฏอยู่เหนือดิน ดอกบานใน 2-3 วัน มีกลิ่นเน่าเหม็น ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนติดผลช่วงฤดูหนาว หลังจากบานแล้วดอกจะแตกออกมีสีเข้มขึ้นและค่อยๆเน่าเปื่อยอย่างช้าๆ ผลหนาและมีกลีบเลี้ยงด้านบน เมล็ดมีขนาดเท่าผลองุ่นมีสีน้ำตาลดำ[4]

พืชสกุลกระโถนฤๅษีมีรากเบียนและพืชที่มันอิงอาศัยนั้นเป็นไม้เลื้อยเขตร้อน[11] เช่น องุ่น และ พืชสกุลเถาวัลย์น้ำ (Tetrastigma)[2] ดอกจะแทงขึ้นมาสั้นๆ, ตั้งขึ้น และไม่แตกกิ่งก้าน มันอาจถูกผสมเกสรโดยแมลงวันและเมล็ดถูกกระจายพันธุ์โดยสัตว์จำพวกฟันแทะ[11] แต่ยังไม่มีการยืนยัน[4]

นอกจากนี้กระโถนพระฤๅษียังมีรูปแบบอีกหนึ่งรูปแบบคือกระโถนพระฤๅษีจุดขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sapria himalayana Griffith f. albovinosa Bänziger&Hansen) ซึ่งต่างจากกระโถนพระฤๅษีตรงกลีบมีสีแดงแบบไวน์แดง และมีจุดสีขาวกระจายทั่วกลีบ เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Griffith (1844) Proc. Linn. Soc. Lond., 1: 217
  2. 2.0 2.1 2.2 "Sapria", Flora of China 5: 271. 2003. PDF
  3. สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Adhikari, D., Arunachalam, A., Majumder, M., Sarmah, R. & Khan, M.L. (2003) "A rare root parasitic plant (Sapria himalayana Griffith.) in Namdapha National Park, northeastern India", Current Science 85 (12), p. 1669. PDF
  5. "Threatened Plants of Arunachal Pradesh", National Wildlife Database. Wildlife Institute of India, Dehradun. PDF[ลิงก์เสีย]
  6. Griffith, W. (1847). Journals of Travels in Assam, Burma, Bhutan, Afghanistan and the neighbouring countries, Calcutta
  7. Bor, N.L. (1938) Indian For. Rec., 1, i–ix, pp. 103–221.
  8. Chauhan, A.S., Singh, K.P., & Singh, D.K. (1996) A Contribution to the Flora of Namdapha, Arunachal Pradesh (ed. Hajra, P.K.), Botanical Survey of India
  9. ครอบครัวบัวผุด ราชินีแห่งกาฝาก,นิตยสารสารคดี ปีที่25 ฉบับที่ 292 หน้า 122-158
  10. National Park Bulletin, October–November 2005. Wildlife and Park Conservation Department, Government of Thailand. PDF
  11. 11.0 11.1 Elliott, S. (1992) "Status, Ecology and Conservation of Sapria himalayana Griff. (Rafflesiaceae) in Thailand", Journal of Wildlife in Thailand, 2 (1) pp. 44–52 LINK เก็บถาวร 2009-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน