กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (อังกฤษ: Ministry of Digital Economy and Society) หรือ กระทรวงดีอีเอส เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Ministry of Digital Economy and Society | |
เครื่องหมายราชการ ตราพระพุธ[1] | |
ตราสัญลักษณ์แบบกึ่งทางการ[2] | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 กันยายน พ.ศ. 2559[3] |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ฝั่งเหนือ ชั้น 6-9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 13°53′9.13″N 100°34′33.38″E / 13.8858694°N 100.5759389°E |
งบประมาณต่อปี | 9,597,487,500 บาท (พ.ศ. 2568)[4] |
รัฐมนตรี | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ต้นสังกัดกระทรวง | รัฐบาลไทย |
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกระทรวง |
ประวัติ
แก้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เดิมชื่อว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[5] จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ
ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดตั้ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ส่งผลให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องสิ้นสุดลง และจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นแทน กระทรวงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 ใช้อักษรย่อ ดศ.
ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 โดยมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทน (เปลี่ยนชื่อกระทรวง)
ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ[6] จึงเท่ากับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปลัดคนแรกของกระทรวงได้แก่ นางทรงพร โกมลสุรเดช[7] ดำรงตำแหน่ง 1 เดือน 20 วันก่อน ไปได้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[8]
ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2560 แต่งตั้ง วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยให้มีผลในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ในวันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิด ศูนย์ป้องกันข่าวปลอม ขึ้นในกระทรวง หรือที่รู้จักใน ศูนย์เฟคนิวส์[9]
หน่วยงานในสังกัด
แก้ส่วนราชการ
แก้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีหน่วยงานระดับกรมในสังกัด 5 หน่วยงาน ได้แก่
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมอุตุนิยมวิทยา
- สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รัฐวิสาหกิจ
แก้- บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
- บริษัท ไปรษณีย์ไทย ดิสทริบิวชั่น จำกัด
องค์การมหาชน
แก้- สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล[10]
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)
นิติบุคคลที่กำกับดูแล
แก้หน่วยงานในอดีต
แก้โครงการ
แก้- โครงการไซเบอร์คลีน เป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงไอซีที ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) (บางแห่ง) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ โทรคมนาคมแห่งชาติ)[13] ในการให้บล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และร่วมกับเว็บมาสเตอร์ในการรับแจ้ง โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยกันยุติสิ่งไม่เหมาะสมบนเว็บไซต์ แต่ทั้งนี้เนื่องจากความร่วมมือในการบล็อกเว็บไซต์นั้นทำได้เฉพาะหากเข้าผ่านผู้ให้บริการเพียงบางรายเท่านั้น ทำให้เป็นการปิดกั้นข่าวสารแก่บางกลุ่ม ซึ่งได้รับการร้องเรียนว่าน่าจะเป็นการละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเป็นการปิดกั้นโดยเกิดความไม่เท่าเทียมกัน ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยและขัดรัฐธรรมนูญ
- โครงการเครือข่ายยุติธรรม (ดี เอส ไอ ไซเบอร์ฟอร์ซ - DSI Cyberforce) เป็นโครงการความร่วมมือของ ดี เอส ไอ (DSI) ภายใต้สำนักคดีเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสืบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขยายเครือข่ายสอดส่อง ป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต และสกัดกั้นภัยคุกคาม รวมทั้งอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียน นักศึกษา, บุคคลทั่วไป และอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน สอดส่อง แจ้งภัย และเป็นศูนย์กลางในการต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ภาคประชาชน เว็บไซต์โครงการเครือข่ายยุติธรรม เก็บถาวร 2006-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 เว็บไซต์วิดีโอ ยูทูบ ได้ถูกบล็อกภายหลังจากที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวว่าได้ถูกปฏิเสธการนำภาพตัดต่อที่หมิ่นพระบรมฉายาลักษณ์ออกจากระบบ ที่อัปโหลดไว้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550[14]
- โครงการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center Thailand) เป็นโครงการที่จะมีการติดตาม ตรวจสอบ ข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์และระบบอินเทอร์เน็ต พร้อมวิเคราะห์แนวโน้ม และบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อมูล ผลิตข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งจัดส่งข้อมูลต่อหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเรื่องประกอบการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ และข้อสำคัญขั้นตอนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชน และสาธารณชน จะผ่านกลไกภาคสื่อสารมวลชน อาทิ เช่น สำนักข่าวไทย สมาคมนักข่าว หรือสื่อหน่วยงานอื่น ๆ เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข่าวปลอมที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างเน้นย้ำว่าข่าวปลอมที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนโดยตรง เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติ เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม ข่าวที่สร้างความแตกแยกในสังคม ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ และสิ่งที่สำคัญเรายึด code-of-principles ดังนี้ (1) ความเที่ยงธรรมและความปราศจากอคติในการคัดเลือกข่าว (2) ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิเสรีภาพของการนำเสนอข่าว (3) การขัดกันด้านผลประโยชน์ และผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง (4) ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายที่ถูกพาดพิงและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเท่าเทียมกัน (5) สามารถอธิบายกระบวนการการพิสูจน์ การตรวจสอบ แหล่งที่มาของบทความและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ (6) มีความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้น ๆ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ และโปร่งใส และสุดท้าย (7) เป็นหน่วยงานที่อิสระ ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ[15]
- ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC ) หรือ AOC 1441 เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาภัย online สำหรับประชาชน จัดตั้งขึ้นเพื่อให้มีการบูรณาการในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ให้บริการ one stop service แก่ประชาชน ช่วยดำเนินการ ระงับ/อายัดบัญชี ได้ทันที รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยออนไลน์ ให้บริการตลอด 24 ชม. เป้าหมายของศูนย์ (1) ระงับ/อายัดบัญชีของคนร้าย ให้ผู้เสียหาย/ผู้ถูกหลอกลวงออนไลน์ ทันที (2) ติดตามสถานะ การแก้ไขปัญหาให้ผู้เสียหายทุกขั้นตอน ได้ทันที (3) เร่งการคืนเงินให้ผู้เสียหาย (4) เพิ่มประสิทธิภาพการจับกุม ดำเนินคดีและการขยายผลคดี โดย การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยงาน บูรณาการข้อมูล และร่วมทำงานทันทีทุกหน่วยงานเกี่ยวข้อง เมื่อได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย มีระบบ การติดตามสถานการณ์ สั่งการ ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม โจรออนไลน์ อย่างบูรณาการและทันเวลา ต้องทำงานแข่งกับเวลา โดยมี War-room ภายใต้ AOC และ ใช้เทคโนโลยี พัฒนา Intelligent Assistant (IA) และ Intelligence based platform ทำให้เกิด รวบรวมเชื่อมโยงข้อมูล เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้งานในการป้องกัน ปราบปราม โดย platform นี้จะมีการใช้และการวิเคราะห์ ทั้งข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัย และ ใช้เทคโนโลยี AI ใช้ Data scientists เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ คาดการณ์[16]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ย้ายมาจากกระทรวงคมนาคม จากการปฏิรูประบบราชการ แต่เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้แปรสภาพเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ ในชื่อ สำนักงานคณะกรรมกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2547 และในปี พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนสถานะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จนถึงปัจจุบัน
- ↑ ได้ถูกโอนย้ายไปสังกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2559 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559
- ↑ ถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 ตาม พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖๒ ที่กำหนดให้ยุบเลิกสำนักงานเมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและให้โอนกิจการ เงินและทรัพย์สิน สิทธิ หนี้และงบประมาณของสำนักงานไปเป็นของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ [12]
- ↑ 4.0 4.1 ควบรวมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 291). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 10ง วันที่ 11 มกราคม 2560 หน้า 7-8
- ↑ ปานฉัตร สินสุข (2024-07-04). "'กระทรวงดีอี' ประกาศรีแบรนด์ดิ้งเปิดตัวโลโก้ใหม่พลิกโฉมสู่ดิจิทัล". กรุงเทพธุรกิจ.
- ↑ พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 80 ก หน้า 1 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก วันที่ 2 ตุลาคม 2545
- ↑ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2559 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ "ได้ฤกษ์เปิดพ.ย.นี้ เน้นชี้ทำความเข้าใจแจงปชช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
- ↑ องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะ
- ↑ "พระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ หมวด ๕ การกำกับดูแลของรัฐ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
- ↑ พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๑๐ ก หน้า ๑ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐
- ↑ "การปิดกั้นเนื้อหา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-28.
- ↑ YouTube disappears from Thai Internet[ลิงก์เสีย] ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)
- ↑ "กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดตัวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center)" (Press release). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. 2019-11-01.
- ↑ "รมว.ดีอี Kick off ศูนย์ AOC 1441 แก้ปัญหาหลอกลวงออนไลน์ แบบ One Stop Service สำหรับประชาชน" (Press release). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. 2019-11-01.