กรรณิกา ธรรมเกษร

กรรณิกา ธรรมเกษร (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2490) ชื่อเล่น แอ้ เป็นผู้ประกาศข่าว นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร

กรรณิกา ธรรมเกษร
ชื่อเกิดกรรณิกา ธรรมเกษร
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพผู้ประกาศข่าว พิธีกร นักแสดง นักการเมือง นักพูด
ปีที่แสดงพ.ศ. 2512 - ปัจจุบัน
โทรทัศน์ทองคำพ.ศ. 2530 - ผู้ดำเนินรายการดีเด่นหญิง (รายการ ทีวีวาที) [1]
พ.ศ. 2556 -รางวัลเกียรติยศคนทีวี

ประวัติ

แก้

กรรณิกา ธรรมเกษร เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายประภาส และนางดาวรุ่ง คุณพ่อและคุณแม่รับราชการ จบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย, โรงเรียนเทเวศร์วิทยาลัย และ แผนกวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรรณิกาสมรสกับอดีตสามีซึ่งเป็นนักบินพาณิชย์ มีบุตร 2 คน หนึ่งในนั้นคือกัปตัน นายแพทย์กรพรหม แสงอร่าม ภายหลังประกอบพิธีหมั้นกับชาวเยอรมนี แต่ปัจจุบันแยกทางกันแล้ว[2]

การทำงาน

แก้

กรรณิกาหัดเรียนรำไทยที่ช่อง 4 บางขุนพรหม ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ กับครูสัมพันธ์ พันธุ์มณี ก่อนจะได้รำออกทีวี เมื่ออายุ 12 ปี

ต่อมาเริ่มงานเป็นผู้ประกาศสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ขณะยังเป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นมาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ และผู้ประกาศข่าวไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งแต่เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อเนื่องมานานหลายปี[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งเล่นละครโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 และเป็นนักโต้วาที ก่อนจะมาร่วมงานกับ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ที่บริษัท แปซิฟิก อินเตอร์คอมมิวนิเคชัน จำกัด และเป็นผู้ประกาศข่าวทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เมื่อ พ.ศ. 2530 ในช่วงที่ ดร.สมเกียรติ ปรับรูปแบบการนำเสนอข่าวในรูปแบบใหม่ และเป็นผู้จัดรายการโต้วาทีในนามบริษัท ภาษร โปรดักชั่น จำกัดทางโทรทัศน์ชื่อทีวีวาที ทางช่อง 9 โดยสร้างนักพูดที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น เสนาลิง, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นต้น

กรรณิกามีเอกลักษณ์ในการอ่านข่าวทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.คือเมื่อกล่าวจบการรายงานข่าว เธอจะแสดงภาษามือสำหรับผู้พิการทางหู ซึ่งทำให้ได้รับรางวัล “เพื่อคนพิการ” จากสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2532

งานการเมือง

แก้

กรรณิกาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในนามพรรคไทยรักไทย ในพื้นที่เขต 4 พญาไท เมื่อ พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้ง แต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกถอนในภายหลัง และลาออกจากพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2548 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก

ผลงานละคร

แก้
  • แม่หญิง (2511)
  • ฝันร้าย (2512)
  • ริมฝั่งแม่ระมิงค์ (2512) ช่อง 4
  • อีสา (2517) ช่อง 4 รับบท ม.ร.ว.โสภาพรรณวดี
  • ผู้ชนะสิบทิศ (2519) ช่อง 9 รับบท อเทตยา
  • นานา(โรค)จิตตัง (2520) ช่อง 3
  • ดรรชนีนาง (2520) ช่อง 9 รับบท ดรรชนี
  • พล นิกร กิมหงวน (2520) ช่อง 9 รับบทประไพ
  • ทัดดาวบุษยา (2520) ช่อง 9 รับบท ทัดดาวบุษยา
  • ศิวาราตรี (2520) ช่อง 9 รับบท ดุสิตา
  • เธอจ๋ารักฉันไหม (2521) ช่อง 3
  • คุ้มผาคำ (2521) ช่อง 9 รับบท เมทินี กรวิก
  • ลูกทาส (2522) ช่อง 3 รับบท บุญเจิม
  • อิเหนา (2523) ช่อง 3
  • จิตไม่ว่าง (2524) ช่อง 3

ภาพยนตร์

แก้
  • ขวัญเรียม (2544) รับบท คุณนายทองคำ

ผลงานพิธีกร

แก้
  • พิธีกรรายการแม่บ้านที่รัก ทางไทยทีวีสีช่อง 3 (2522 - 2530)
  • พิธีกรรายการทีวีวาที ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (2526 - 2543)
  • พิธีกรรายการกฎแห่งกรรม ทาง ททบ.5
  • พิธีกรรายการโต้คารมมัธยมศึกษา ทางไทยทีวีสีช่อง 3
  • พิธีกรรายการสภากาแฟ
  • ผลิตรายการ ซูเปอร์จิ๋ว ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ปัจจุบัน ผลิตโดย บริษัท ซูเปอร์จิ๋วจำกัด
  • พืธีกรรายการ กรรณิกาเซย์ เสน่ห์ทอล์ค ร่วมกับ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ์ ทางช่อง เอ็มวีทีวี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. [ย้อนอดีต] ผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 1 ถึง 4
  2. "ไทยโพสต์ 22 สิงหาคม 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  • กรรณิกา ธรรมเกษร, เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ. จะมืดกี่ด้านก็ผ่านได้. กรุงเทพฯ : ณ เพชรสำนักพิมพ์, 2551. 228 หน้า. ISBN 978-9741-645-12-1