กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (อังกฤษ: Department of Cultural Promotion) สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นองค์กรส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสม มีความภาคภูมิใจ และสืบทอดวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเองและชุมชน สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งอยู่ที่ ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร บริเวณที่ตั้งเดียวกับ กระทรวงวัฒนธรรม และ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
Department of Cultural Promotion
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง29 สิงหาคม พ.ศ. 2501; 66 ปีก่อน (2501-08-29)
กรมก่อนหน้า
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 14 ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคลากร378 คน (พ.ศ. 2564)[1]
งบประมาณต่อปี1,437,721,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ลิปิการ์ กำลังชัย, รักษาการอธิบดี
  • วราพรรณ ชัยชนะศิริ, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงวัฒนธรรม
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ประวัติ

แก้
 
ตราสัญลักษณ์เดิมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เดิมคือสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2501 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็น กองวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 217 ให้กองวัฒนธรรม โอนไปสังกัดกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 กระทั่งในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวัฒนธรรมไทยขึ้นคณะหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง รักษา ส่งเสริมเผยแพร่ และปลูกฝังวัฒนธรรมของชาติให้แก่ประชาชนและเยาวชน แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการอย่างไรก็เปลี่ยนรัฐบาล

จนในรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2522 จึงได้ถือกำเนิดสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 จึงได้โอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการโอนภารกิจของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากเดิมเป็น "กรมส่งเสริมวัฒนธรรม"[3]

บทบาทและอำนาจหน้าที่

แก้
  • ศึกษา วิจัย และเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรม
  • พัฒนา ส่งเสริม คุณภาพทางวัฒนธรรมของชาติ
  • เป็นศูนย์กลางในการศึกษา รวบรวม เผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ และกิจกรรมทางวัฒนธรรม
  • ส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้คุณค่าทางวัฒนธรรม
  • สนับสนุน ส่งเสริม และประสานการดำเนินงานวัฒนธรรม
  • จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติงานส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาทางวัฒนธรรม
  • ระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานวัฒนธรรม
  • ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

แก้

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2557[4] ให้แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

สำนักงานเลขานุการกรม

แก้
  • กลุ่มช่วยอำนวยการและบริหารงานทั่วไป
  • กลุ่มบริหารงานบุคคล
  • กลุ่มการคลัง
  • กลุ่มพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะ
  • กลุ่มแผนงาน
  • กลุ่มวิเทศสัมพันธ์
  • กลุ่มนิติการ
  • กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • กลุ่มแผนงานและงบประมาณ
  • กลุ่มประชาสัมพันธ์
  • กลุ่มวิเทศสัมพันธ์
  • กลุ่มติดตามและประเมินผล

สถาบันวัฒนธรรมศึกษา

แก้
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มสืบสานวัฒนธรรม
  • กลุ่มบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
  • กลุ่มเผยแพร่และถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มค่านิยมและความเป็นไทย
  • กลุ่มนิทรรศการ
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนา
  • กลุ่มศิลปกรรม
  • กลุ่มยกย่องเชิดชูเกียรติทางวัฒนธรรม
  • ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
    • ฝ่ายบริหารทั่วไป
    • กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์และอาคารสถานที่
    • กลุ่มเสริมสร้างสุนทรียะทางวัฒนธรรม
    • กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดง
    • กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการแสดง
  • หออัครศิลปิน
    • ฝ่ายบริหารทั่วไป
    • กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์และอาคารสถานที่
    • กลุ่มวิชาการและนิทรรศการ
    • กลุ่มกิจกรรม

กองกิจการเครือข่ายทางวัฒนธรรม

แก้
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายสภาวัฒนธรรมส่วนภูมิภาคและสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายสภาวัฒนธรรม กทม.และสภาวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ
  • กลุ่มสนับสนุนกิจการพิเศษ
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มพัฒนาบุคลากรทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายท้องถิ่นและชุมชน
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายสถานศึกษาและองค์กรเอกชชน

สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์

แก้
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มตรวจพิจารณาภาพยนตร์
  • กลุ่มตรวจพิจารณาวีดิทัศน์
  • กลุ่มทะเบียนและการอนุญาตประกอบกิจการ
  • กลุ่มตรวจและส่งเสริมสถานประกอบกิจการ 1
  • กลุ่มตรวจและส่งเสริมส���านประกอบกิจการ 2
  • กลุ่มพัฒนาการประกอบกิจการ
  • กลุ่มตรวจของกลางและใบอนุญาต
  • กลุ่มคลังข้อมูลภาพยนตร์และวีดิทัศน์

กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม

แก้
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มศิลปินแห่งชาติ
  • กลุ่มบริหารกองทุนและระดมทุน

อ้างอิง

แก้
  1. กระทรวงวัฒนธรรม, รายงานประจำปี 2564 กระทรวงวัฒนธรรม, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน 58ก วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/089/40.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

หนังสือและบทความ

แก้

เว็บไซต์

แก้