กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (อังกฤษ: Department of Royal Rainmaking and Agricultural Aviation) เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจหลักในการปฏิบัติการสร้างฝนเทียม บริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศ และสนับสนุนด้านการบินในด้านการเกษตรแก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีวิสัยทัศน์ว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นองค์กรชั้นนำในระดับโลกด้านการดัดแปรสภาพอากาศตามศาสตร์ฝนหลวงพระราชทาน ภายในปี 2580
Department of Royal Rainmaking and Agricultural Aviation | |
ตราสัญลักษณ์ | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 25 มกราคม พ.ศ. 2556 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 2345 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
บุคลากร | 618 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 2,379,039,800 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
ประวัติ
แก้พระราชทานแนวคิดในการทำฝนเทียม
แก้อันเนื่องมาจากการเสด็จพระราชดำเนินไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในปี พ.ศ. 2498 ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความแห้งแล้ง ทั้งที่บนท้องฟ้ามีเมฆเป็นจำนวนมาก แต่กลับไม่ตกลงมาเป็นฝน หลังจากเสด็จกลับมายังกรุงเทพมหานคร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล เข้าเฝ้า และพระราชทานแนวความคิดดังกล่าวเพื่อให้ลองไปศึกษาถึงแนวความคิดดังกล่าว รวมถึงได้ลงมือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเอกสารด้านวิชาการต่าง ๆ ประมวลกับข้อมูลที่ทรงบันทึกจากการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ที่ประสบปัญหา เพื่อนำมาทำการทดลอง และโปรดเกล้าให้นำเอกสารที่ทรงศึกษาทบทวนพระราชทานแด่ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้ศึกษาจากเอกสารเหล่านั้นด้วย[3]
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2512 ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ ได้กราบบังคมทูลแนวคิดและความเป็นไปได้ที่จะทำการศึกษาทดลองจริง ๆ บนท้องฟ้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับสนองพระราชประสงค์ในการปฏิบัติการทดลองจริงในท้องฟ้าครั้งแรก ระหว่างวันที่ 19 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 จากสนามบินหนองตะกู วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่องเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และได้เริ่มต้นทดลองศึกษาค้นคว้าในการทำฝนเทียมช่วยเหลือประชาชนตั้งแต่นั้น และได้มีมติคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2517 ให้เรียกโครงการฝนเทียมอย่างเป็นทางราชการว่า โครงการฝนหลวง
สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง
แก้จากความต้องการของประชาชนที่ได้ถวายฎีกาขอรับการสนับสนุนฝนหลวงมากขึ้น ทำให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 ตั้งสำนักปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น (Royal Rainmaking Research and Development Institute, RRRDI) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจหลักในการบรรเทาภัยแล้งด้วยการทำให้เกิดฝนตามธรรมชาติสำหรับการอุปโภคบริโภค เติมน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินการวิจัยควบคู่กันไป เริ่มต้นมีหน่วยปฏิบัติการ 2 หน่วย ไม่มีที่ทำการ และใช้เจ้าหน้าที่จากกองเกษตรวิศวกรรมในการปฏิบัติงาน โดยในปี พ.ศ. 2520 มีหน่วยปฏิบัติการ 4 ทีม ในหนึ่งทีมมีเครื่องบินเล็ก 3 - 4 ลำ มีนักบินและช่างประจำเครื่องลำละ 3 คน และมีนักวิทยาศาสตร์ 6 คน ในการปฏิบัติการทุกครั้งจะมีนักวิทยาศาสตร์ติดตามไปครั้งละ 1 คน
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
แก้หลังจากปฏิบัติการทำฝนหลวงมาอย่างยาวนาน รวมถึงภารกิจและความรับผิดชอบของหน่วยที่สูงขึ้น จึงได้มีการรวม 2 หน่วยงานที่ปฏิบัติงานร่วมกันเข้าด้วยกัน คือ กองการบินเกษตร และ สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง โดยในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร (Bureau of the Royal Rainmaking and Agricultural Aviation, BRRAA) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปลี่ยนจาก กองการบินเกษตร เป็น ส่วนการบิน และเปลี่ยน สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง เป็น ส่วนฝนหลวง มีภารกิจครอบคลุมการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการบินด้านการเกษตรรวมถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ประจำลุ่มน้ำ 8 ศูนย์ มีพื้นที่ครอบคลุมทั้ง 25 ลุ่มน้ำหลักในประเทศไทย
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
แก้จากภารกิจที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อภารกิจที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการขยายขอบเขตของภารกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนำ และแผนการจัดการน้ำแบบบูรณาการของประเทศในขณะนั้น สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2556[4] และแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2556 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 และ กฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2556
หน่วยงานในสังกัด
แก้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร แบ่งโครงสร้างหน่วยงานภายในตาม กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2556 ดังนี้[5]
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองบริหารการบินเกษตร
- กองปฏิบัติการฝนหลวง
- กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กองส่งเสริมและเผยแพร่โครงการพระราชดำริ[6]
ศูนย์ปฏิบัติการส่วนภูมิภาค
แก้สนามบินฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์
ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง
แก้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงมีที่ตั้งกระจายอยู่ครอบคลุมทุกภูมิภาค แบ่งเป็น 7 ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการทั้ง 77 จังหวัด ประกอบไปด้วย[7]
- ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบไปด้วย เชียงราย เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง และลำพูน
- ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบไปด้วย กำแพงเพชร พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก น่าน แพร่ และเพชรบูรณ์
- ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 14 จังหวัดภาคกลาง ประกอบไปด้วย กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม ลพบุรี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี สิงห์บุรี อยุธยา อ่างทอง และอุทัยธานี
- ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบไปด้วย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม บึงกาฬ มุกดาหาร เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี
- ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบไปด้วย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคตะวันออก ประกอบไปด้วย จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว
- ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัดภาคใต้และภาคกลางบางส่วน ประกอบไปด้วย กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา พัทลุงภูเก็ต ระนอง สตูล ราชบุรี สงขลา ตรัง ยะลา สมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน
แก้เป็นสถานที่เริ่มต้นทดลองการปฏิบัติการทำฝนหลวงในยุคเริ่มต้นของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในบริเวณสนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ระหว่างที่ทรงแปรพระราชฐานมาประทับที่วังไกลกังวล โดยกรมการบินพาณิชย์ได้จัดอาคารท่าอากาศยานขณะนั้นให้เป็นสถานที่ทรงงานจนเป็นที่เรียกกันว่า ศาลาที่ประทับ และใช้เป็นสถานที่ในการสาธิตการทำฝนหลวงแก่นักเรียนโรงเรียนไกลกังวลและถ่ายทอดผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในปี พ.ศ. 2544 จึงถือว่าเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโครงการฝนหลวง[8]
ปัจจุบันได้มีจัดพื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นหอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อจัดแสดงความเป็นมาของฝนหลวง ขั้นตอนการทำฝนหลวง และห้องที่ประทับทรงงานของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร พระบิดาแห่งฝนหลวง[9]
สนามบินฝนหลวง
แก้ปัจจุบันกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีสนามบินหลักในการปฏิบัติการจำนวน 2 แห่งด้วยกัน คือ[10]
- สนามบินจังหวัดนครสวรรค์ อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
- สนามบินคลองหลวง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
สถานีเรดาร์
แก้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปัจจุบันมีระบบเรดาร์ตรวจจับกลุ่มฝนกระจายอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 11 สถานี รัศมีการตรวจจับจากสถานี 240 กิโลเมตร สำหรับใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง ทั้งการตรวจวัดกลุ่มฝน กลุ่มเมฆ การเข้ายับยั้งการเกิดลูกเห็บ รวมไปถึงการเตือนภัยให้อากาศยานในการออกปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ[11]
สถานีเรดาร์แบบประจำที่
แก้ชนิด S Band ความถี่ 2.8 GHz เหมาะสำหรับติดตั้งประจำที่เนื่องจากมีขนาดใหญ่ มีจำนวน 6 สถานี ประกอบด้วย
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงอมก๋อย ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงตาคลี ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงพิมาย ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงพนม ต.พนม อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงร้องกวาง ต.ทุ่งศรี อ.ร้องกวาง จ.แพร่
สถานีเรดาร์แบบเคลื่อนที่
แก้ชนิด C Band ความถี่ 5.6 GHz จำนวน 5 สถานี สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความเหมาะสม เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าชนิด S Band ปัจจุบันประจำการสนับสนุนตามภูมิภาค ดังนี้
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงอินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงหบุรี
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงบ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงราษีไศล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงปะทิว อ.ปะทิว จ.ชุมพร
- สถานีเรดาร์ฝนหลวงสิงหนคร อ.สิงหนคร จ.สงขลา
อากาศยาน
แก้อากาศยานปีกตรึง
แก้Pilatus Aircraft (Porter) | PC-6 / B2H2 | สวิตเซอร์แลนด์ | 3 | [12] | |
Beechcraft | Super King Air 350 | สหรัฐ | 3 | ||
Construcciones Aeronáuticas SA (CASA) | CN 235-200 | ยุโรป | 2 | ||
C212 / NC212i | 15 | C212-100 จำนวน 4 เครื่อง
C212-200 จำนวน 1 เครื่อง C212-300 จำนวน 5 เครื่อง C212-400 จำนวน 3 เครื่อง[12] NC-212i จำนวน 2 เครื่อง[13] | |||
Cessna Aircraft | Cessna208 / 208B | สหรัฐ | 12 | 208 จำนวน 8 เครื่อง
208B จำนวน 2 เครื่อง 208 BEX จำนวน 3 เครื่อง |
อากาศยานปีกหมุน
แก้Bell helicopter | Bell412(Epi) | สหรัฐ | 1 | ||
Bell407 / 407GX | 3 | 407 จำนวน 1 เครื่อง
407GXP จำนวน 2 เครื่อง[14] | |||
Bell206B | 3 | ||||
Eurocopter | AS350(B2) | ยุโรป | 1 |
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานประจำปี 2566 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2021-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (moac.go.th)
- ↑ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2556. "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ โครงสร้างหน่วยงาน. "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง. "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ "ยินดีต้อนรับสู่ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน". huahin.royalrain.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
- ↑ หอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง. "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ สนามบินฝนหลวง. "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ สถานีเรดาร์. "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ 12.0 12.1 Fixed-wing aircraft. "Department of Royal Rainmaking and Agricultural Aviation". www.royalrain.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร รับมอบเครื่องบินขนาดกลางยี่ห้อ NC212i รุ่น 212i. "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.royalrain.go.th.
- ↑ Rotorcraft (Helicopter). "Department of Royal Rainmaking and Agricultural Aviation". www.royalrain.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เว็บไซต์
- กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เฟซบุ๊ก
- ใต้ปีกฝนหลวง ยูทูบ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°51′00″N 100°34′40″E / 13.85004462952969°N 100.5776890577147°E