การทัพพม่า (ค.ศ. 1944)
การสู้รบในการทัพพม่า ใน ค.ศ. 1944 ถือว่าเป็นการสู้รบที่รุนแรงที่สุดในเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นตามแนวชายแดนระหว่างพม่า อินเดีย และจีน และเกี่ยงข้องกับกองทัพเครือจักรภพอังกฤษ จีน และสหรัฐ ในการปะทะกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองทัพแห่งชาติอินเดีย กองทัพบกเครือจักรภพอังกฤษส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร บริติชอินเดีย และแอฟริกา
การทัพพม่า ค.ศ. 1944 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
เครื่องบินขนทางส่งทางอากศ ซี-47 ได้ทำการทิ้งเสบียงด้วยร่มชูชีพให้กับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น เหตุการณ์ปกติในช่วงการสู้รบในพม่าและอินเดีย ในช่วง ค.ศ. 1944 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
29,324 นาย (เครือจักรภพอังกฤษ) | 71,289 นาย (ญี่ปุ่น)[4] |
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ฟันฝ่าความยากลำบากทางด้านโลจิสติกส์และการจัดตั้งกองกำลังซึ่งทำให้ความพยายามในช่วงแรกของพวกเขาแทบเป็นอัมพาต และพวกเขากำลังเตรียมพร้อมที่จะบุกครองพม่าภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นตามจุดที่กระจัดกระจายต่าง ๆ หลายแห่ง ญี่ปุ่นได้ขัดขวางพวกเขาด้วยการเปิดฉากเข้ารุกรานอินเดีย และการรุกครั้งนี้ได้มีขอบเขตที่กว้างขวางกว่าที่ตั้งใจไว้แต่แรก ในช่วงสิ้นปี ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเข้ายึดดินแดนที่สำคัญไว้ได้เฉพาะในเขตเดียวเท่านั้น นั่นคือทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของพม่า แต่การโจมตีอินเดียของญี่ปุ่นได้ประสบความพ่ายแพ้และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากมาย สิ่งนี้ได้ทำให้ความพยายามของญี่ปุ่นในการปกป้องพม่าจากการรุกครั้งใหม่ของฝ่ายสัมพันธมิตรในปีถัดไปแทบเป็นอัมพาต
อ้างอิง
- ↑ Whelpton, John (2005). A History of Nepal (4th ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 67. ISBN 978-0-52180026-6.
- ↑ Singh, S. B. (1992). "Nepal and the World Warii". Proceedings of the Indian History Congress. 53: 580–585. JSTOR 44142873.
- ↑ The Burma Boy, Al Jazeera Documentary, Barnaby Phillips follows the life of one of the forgotten heroes of World War II, Al Jazeera Correspondent Last Modified: 22 July 2012 07:21,
- ↑ not counting casualties fighting against Chinese / American forces