อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์
รองศาสตราจารย์ อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
การศึกษา
แก้รองศาสตราจารย์ อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างยนต์ จากโรงเรียนช่างกลปทุมวัน เมื่อปี พ.ศ. 2516 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2518 และระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ต่อจากนั้นจึงได้สอบชิงทุนรัฐบาลระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
การทำงาน
แก้หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกแล้ว ได้กลับมารับราชการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2539 เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541 ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2540 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้จัดการโครงการเงินกู้ธนาคารโลก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอีกตำแหน่งหนึ่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี
ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจักตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้น 9 แห่งทั่วประเทศไทย รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และในปีเดียวกันจึงได้ผ่านการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์เป็นคนแรก[1]
ในปี 2564 เขาได้รับการเสนอชื่อจากวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน[2] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2548
- ↑ เปิดประวัติ 'รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์' หลัง ส.ว.เห็นชอบแต่งตั้งให้นั่ง 'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' คนใหม่
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน (จำนวน ๒ ราย ๑. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ๒. นายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑๖๓, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖