วรรณี คราประยูร

คุณหญิงวรรณี คราประยูร หรือเดิม วรรณี "หนุนภักดี" (2 มกราคม พ.ศ. 2480 - 21 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นภริยาของพลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของไทย และเป็นน้องสาวของพลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วรรณี คราประยูร
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน
ถัดไปหม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มกราคม พ.ศ. 2480
เสียชีวิต21 กันยายน พ.ศ. 2564 (84 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสสุจินดา คราประยูร
บุตรเจิดวุธ คราประยูร
เจนวิทย์ คราประยูร
บุพการี
  • ฉัตร หนุนภักดี (บิดา)
  • ประยงค์ หนุนภักดี (มารดา)
เป็นที่รู้จักจากคู่สมรสของนายกรัฐมนตรีไทย

ประวัติ

แก้

คุณหญิงวรรณี เป็นบุตรคนที่สี่จากทั้งหมดเจ็ดคนของพลตำรวจโทฉัตร หนุนภักดี กับประยงค์ (สกุลเดิม: วิชิตกลชัย) มีพี่น้อง ได้แก่ ประยงค์ฉัตร ผุดผาด, พยอม เศรษฐบุตร, พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี, ต้อย หนุนภักดี, ณรงค์ศักดิ์ หนุนภักดี และอัครฉัตร หนุนภักดี ตามลำดับ[1] โดยเฉพาะพี่ชายคือพลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[2] และเป็นญาติกับพลเอก ชัยณรงค์ หนุนภักดี ลูกพี่น้องคนหนึ่งซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3][4] และพลเอก ทวีศักดิ์ หนุนภักดี อดีตผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหาร[5] เธอยังเป็นอาของ พลเอกทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ในวัยเยาว์ครอบครัวต้องย้ายไปตามจังหวัดต่าง ๆ เพราะติดตามบิดาที่รับราชการ[6]

คุณหญิงวรรณี สมรสกับพลเอก สุจินดา คราประยูร มีบุตรชายด้วยกันสองคน ต่อมาเธอเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสมาคมแม่บ้านทหารบก[7]

คุณหญิงวรรณี คราประยูร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 02.45 น. สิริอายุ 84 ปี[8]

วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ​โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ฯให้บรรจุศพพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศแปดเหลี่ยม ต่อมา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน​ พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ​โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ฯ ให้ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พลตรีหญิง หม่อมหลวง ลดาวัลย์ กมลาศน์ เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุกองทัพบก วัดโสมนัสราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ฉัตร หนุนภักดี ป.ม., ต.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 19 ธันวาคม 2517. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน ศ.ส. การพิมพ์. 2554. p. 1.
  2. "'ในหลวง' พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ 'พล.อ.อิสระพงศ์' 'บิ๊กตู่-ครม.เพื่อนจปร.5' ร่วมอาลัย". มติชนออนไลน์. 22 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2017.
  3. "'พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี' อดีต ผบ.ทบ. ถึงแก่ 'อนิจกรรม'". มติชนออนไลน์. 17 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ปรัชญา นงนุช (23 กุมภาพันธ์ 2560). "เปิดใจ 'องคมนตรีต๊อก' ถึง 'บิ๊กตุ๋ย' รักเหมือนพ่อ ย้อนรอย 'จปร.5 – 7' พฤษภาทมิฬ 2535". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "ปิดฉาก "บิ๊กตุ๋ย" ทหารเอก จปร. 5". คมชัดลึก. 17 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. "พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี ถึงแก่อนิจกรรม วัย 84 ปี รพ.พระมงกุฎฯ". ไทยรัฐออนไลน์. 17 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "รายนามที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมแม่บ้านทหารบก". สมาคมแม่บ้านทหารบก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. สิ้น ‘คุณหญิงวรรณี คราประยูร’ ภริยา ‘บิ๊กสุ’ อดีตนายกฯ – น้องสาว ‘บิ๊กตุ๋ย’ อดีต ผบ.ทบ.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
ก่อนหน้า วรรณี คราประยูร ถัดไป
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน   คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
  หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน