พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ)
พระราชวิเทศปัญญาคุณ (นามเดิม: ดร.พระมหาเหลา ประชาราษฎร์) น.ธ.เอก, ป.ธ.4, พม., พธ.บ., M.A. (London), Ph.D.(Birmingham) (7 สิงหาคม พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน) พระธรรมทูตไทยรูปแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศอังกฤษ รองประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักร, เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร รูปปัจจุบัน
พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ) | |
---|---|
ชื่ออื่น | ดร.พระมหาเหลา |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | B.A.(MCU), M.A. (London), Ph.D.(Birmingham) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร หมู่บ้านคิงส์บรอมลีย์ เมืองลิชฟีลด์ เทศมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ ตอนกลางของสหราชอาณาจักร |
อุปสมบท | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 |
พรรษา | 51 |
ตำแหน่ง | รองประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักร |
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2503 บรรพชาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และอุปสมบทเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 หลังจากสำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต ท่านได้เดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ต่อมาท่านได้ออกเผยแพร่พระพุทธศาสนา และทำการก่อตั้งวัดไทยขึ้นในประเทศอังกฤษหลายวัด จนมีผลงานการเผยแพร่เป็นที่ยอมรับจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในปัจจุบัน
ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระสงฆ์นักเผยแพร่ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ จึงทำให้ท่านได้รับถวายรางวัลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มากมาย และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดที่มอบถวายแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อศาสนาพุทธในประเทศไทย[1]
ประ���ัติ
แก้พระราชวิเทศปัญญาคุณ เกิดที่บ้านหนองรัง อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2503 เมื่ออายุได้ 14 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมีพระธรรมรัตนกร (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ. 2519 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านสอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2526 และสำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2529
ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ท่านได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน และต่อมาได้เป็นผู้ช่วยพระธรรมทูต และเป็นพระธรรมทูตสายประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2533 โดยได้อยู่ช่วยงานพระพุทธศาสนา เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพุทธปทีป ในปี พ.ศ. 2536 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2537 ท่านได้เดินทางไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร แอสตัน เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เพื่อขยายผลการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ และต่อมาท่านได้รับการยอมรับจากชาวอังกฤษ ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุศาสนาจารย์ ฝ่ายพระพุทธศาสนา ประจำมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ในปี พ.ศ. 2541 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านได้ย้ายวัดจากแอสตัน เบอร์มิงแฮม ออกมาตั้งวัดใหม่ที่หมู่บ้านคิงส์บรอมลีย์ เทศมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านในชนบท มีบรรยากาศสัปปายะ เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม
ปัจจุบันท่านทำการขยายผลการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังเมืองต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษ โดยมีวัดในสาขาวัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลีย์ สหราชอาณาจักร จำนวน 2 แห่ง ในปัจจุบันคือ วัดมหาธาตุ เคมบริดจ์ และวัดมหาธาตุ พลิมัท[2]
การศึกษา
แก้- พ.ศ. 2519 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2526 เปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2529 ปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2529 ประโยคครูพิเศษมัธยม พ.ม.
- พ.ศ. 2538 MS School of Oriental an African Studies (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2547 Ph.D. University of Birmingham ประเทศอังกฤษ
เกียรติคุณที่ได้รับ
แก้รางวัลพระราชทานจากพระบรมวงศานุวงศ์
แก้- พ.ศ. 2548 - รางวัลพระราชทาน "รางวัลเสาเสมาธรรมจักร" รางวัลพระราชทานแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[3]
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นที่พระครูสัญญาบัตร เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ที่ พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ
- พ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปัญญาพุทธิวิเทศ[4]
- พ.ศ. 2559 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิเทศปัญญาคุณ วิบูลศาสนกิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราช[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ คณะกรรมการฯ. (2554). อนุสรณ์ วัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลี่ สหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
- ↑ คณะกรรมการฯ. (2554). อนุสรณ์ วัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลี่ สหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
- ↑ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ประกาศคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี 2556 เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา [1][ลิงก์เสีย][2][ลิงก์เสีย]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 11-6-2017
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ในต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๖ ข, ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ในต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๓, ตอน ๔๓ ข, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
52°44′53″N 1°48′15″E / 52.748026°N 1.804261°E
ก่อนหน้า | พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน) |
ยังคงดำรงตำแหน่ง |