ผักชีลาว

สปีชีส์ของพืช

ผักชีลาว เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) ตัวอย่างพืชที่อยู่ในวงศ์นี้ ได้แก่ แคร์รอต, ขึ้นฉ่าย, ผักชี ฯลฯ

ผักชีลาว
ภาพวาดพืชในคริสต์ศตวรรษที่ 19[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับผักชี
วงศ์: วงศ์ผักชี
วงศ์ย่อย: Apioideae
เผ่า: Apieae

L.
สกุล: Anethum

L.
สปีชีส์: Anethum graveolens
ชื่อทวินาม
Anethum graveolens
L.
ชื่อพ้อง[2]
ชื่อพ้อง
  • Anethum arvense Salisb.
  • Angelica graveolens (L.) Steud.
  • Ferula graveolens (L.) Spreng.
  • Pastinaca anethum Spreng.
  • Peucedanum anethum Jess.
  • Peucedanum graveolens (L.) Hiern
  • Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz
  • Selinum anethum Roth
  • Selinum graveolens (L.) Vest

ลักษณะ

แก้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ผักชีลาวเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชี ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนกมีสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม ผลแก่เป็นรูปไข่แบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้านำไปใช้เป็นเครื่องเทศจะเก้บได้ก้ต่อเมื่อดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่จะพบในรูปของการทานสดเป็นผักมากกว่า ซึ่งควรเก็บก่อนที่จะออกดอก ผักชีลาวมีสองชนิด คือ ชนิดที่มาจากยุโรป (Dill) และชนิดที่มีกำเนิดในเอเชียเขตร้อน (Indian Dill) ในประเทศไทยมีการปลูกเพื่อใช้ทานเป็นผักมากกว่าปลูกเพื่อใช้ผลมาทำเครื่องเทศเพราะมีคุณภาพน้อยกว่าประเทศอินเดีย[3]

  • การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์
  • ระยะเวลาปลูก : มีระยะเวลาในการปลูกประมาณ 60 วัน ก็สามารถนำมาประกอบอาหารหรือกินสด ๆ ก็ได้

การเตรียมดินในการปลูก :มีการฟื้นดิน ตากแดดให้แห้งเพื่อทำลายเชื้อโรคและวัชพืชที่อยู่ในดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นก็ทำการ พรวนดิน เก็บเศษวัชพืชต่างๆ และนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วมาใส่คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทั้งนี้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าพบว่าดินเป็นกรด ควรนำปูนขาวมาคลุกกับดินเพื่อปรับสภาพของดินให้เหมาะในการเพาะปลูก

วิธีปลูก

แก้

วิธีปลูกมี 2 วิธี ได้แก่

  • วิธีที่ 1 เตรียมเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในการปลูก แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลง
  • วิธีที่ 2 วัดระยะห่างของหลุมประมาณ 15 x 15 เซนติเมตร ใช้ไม้ขีดเป็นตารางให้เท่า ๆ กัน ใช้ไม้หรือนิ้วจิ้ม แล้วหยอดเมล็ดลงตามตารางที่ขีดไว้ เสร็จแล้วจึงใช้ดินกลบแล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำ

สารสำคัญที่พบ :ผลผักชีลาวมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งปริมาณน้ำมันที่ได้ขึ้นอยู่กับแหล่งเพาะปลูกและฤดูกาลที่เก็บเกี่ยว นอกจากนี้แล้วยังประกอบด้วย สารดิลลาโนไซด์ สารประเภทกรดฟีโนลิค โปรตีน ไขมัน เป็นต้น

คุณประโยชน์

แก้

น้ำมันผักชีลาว (Dill seed oil) ได้จากการนำผลแก่แห้งไปกลั่นด้วยไอน้ำ สารสำคัญที่พบคือ คารืโวน ดี-ไลโมนีน และอัลฟ่า-เฟลเลนดรีน สารอื่นที่มีปริมาณรองลงมาคือ ไดไฮโดรคาร์โวน ยูจีนอล ไพนีน และอะนีโทล เป็นต้น

สรรพคุณทางยา :นำผลแก่แห้งของผักชีลาวบดให้เป็นผง ชงกับน้ำดื่มวันละ 4-5 แก้ว แก้อาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมหรือใช้ต้นสดของผักชีลาวผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน ส่วนน้ำมันมักใช้ผสมในยาย่อยอาหาร ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ประโยชน์ทางอาหาร :ใบสดและใบแห้งใช้โรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อดับกลิ่นคาว ใบใส่แกงอ่อมแกงหน่อไม้ห่อหมกแกล้มแกงเนื้อน้ำพริกปลาร้าผักใส่ไข่ยอดใบรับประทานกับลาบเมล็ด และใบช่วยชูรสเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหยใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมล็ดแห้งที่แก่เต็มที่ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราวและขับลมในท้อง เมล็ดก่อนนำมาประกอบอาหารควรบดก่อน โดยนิยมโรยบนสลัดผักและมันฝรั่งบดเพื่อเพิ่มรสชาติ นอกจากนี้น้ำมันผักชีลาวยังใช้แต่งกลิ่นผักดอง น้ำซอส สตู ขนมหวาน เครื่องดื่มและเหล้า

ผักชีลาวเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Prof. Dr. Otto Wilhelm Thomé Flora von Deutschland, Österreich und der Schweiz Volume 3 (1888), Gera, Germany, page 142, Gattung 477, Tafel 378, available from BioDiversity Heritage Library and BioLib.de(1885)
  2. "The Plant List, Anethum graveolens L."
  3. "ผักชีลาว".
  4. ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้