ประทัด (ดอกไม้ไฟ)
บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับวัตถุระเบิด แม้มีวัตถุประสงค์นำเสนอข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริง กระนั้น ผู้อ่านก็มิควรปฏิบัติตามหรือนำไปปฏิบัติซึ่งข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวัตถุระเบิด |
ประทัด (อังกฤษ: firecracker) เป็นวัตถุระเบิดเพื่อให้เกิดเสียงดัง มักใช้ในงานเทศกาลต่าง ๆ
ลักษณะ
แก้ประทัดส่วนใหญ่เป็นก้อนดินปืนและสารอื่น ๆ ซึ่งถูกทำให้แข็งและห่อด้วยกระดาษสี มักมีสีสันสดใสและมีปลายชนวนอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ประทัดส่วนใหญ่เป็นลูกเดี่ยว แต่ประทัดจีนซึ่งใช้ในงานเทศกาล มักถูกมัดรวมกันเป็นแผง
ส่วนประกอบ
แก้- เปลือกนอกมักทำจากกระดาษแข็งหรือพลาสติก
- เนื้อในมักทำจาก ดินปืน, ดินประสิว หรือ ดินดำ
- ของเหลวสำหรับจุดชนวนหรือวัตถุใดก็ได้ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับสารข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อทำให้ประทัดมีเสียงดัง
ประวัติ
แก้ประทัดนั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวจีนเมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยหลังจากที่มีการค้นพบดินปืนแล้ว จึงได้นำมาใส่ในปล้องไผ่เมื่อให้ความร้อนจึงเกิดระเบิดเป็นเสียงดังรุนแรง เมื่อปี ค.ศ. 500 ชาวจีนเริ่มนำประทัดมาใช้ในงานเทศกาลกันอย่างจริงจัง เพราะเสียงดังของประทัดทำให้ผู้คนหวาดกลัวก็น่าจะไล่ภูตผีปีศาจให้หวาดกลัวได้เช่นกัน ด้วยการนี้จึงพัฒนามาเป็นประเพณีการจุดประทัดในปัจจุบัน จนกระทั่ง ค.ศ. 600 ชาวจีนได้พัฒนาประทัดให้มีอำนาจการทำลายล้างสูงมากยิ่งขึ้นและพัฒนามาเป็นธนูไฟและประทัดลูกหนูรวมถึงระเบิดในที่สุด ในปี ค.ศ. 1200 มาร์โค โปโล นักสำรวจชาวยุโรป ได้นำเทคนิคการประดิษฐ์ดินปืนรวมถึงประทัดมาเผยแพร่สู่ทวีปยุโรปในที่สุด
รูปแบบ
แก้- ประทัดจิ๋ว หรือ กระเทียม เป็นประทัดขนาดเล็กที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ทำจากดินปืนผสมก้อนกรวดห่อด้วยกระดาษหรือพลาสติกแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เกิน 2 ซม. ไม่มีชนวน การระเบิดเกิดจากการเขวี้ยงลงพื้นหรือให้กระทบกับวัตถุ ตัวกรวดจะเสียดสีกับดินประสิวและเกิดการระเบิดขึ้น
- ประทัดหนู เป็นประทัดขนาดเล็กถูกคิดค้นขึ้นโดยชาวจีนเพื่อใช้ข่มขู่ศัตรูรวมถึงทำให้ม้าพยศ ปัจจุบันประทัดหนูเป็นประทัดขนาดเล็ก เมื่อถูกจุดจะวิ่งวนไปมาพร้อมกับพ่นประกายไฟออกมาบนพื้น ตัวประทัดมักทำจากกระดาษแข็ง ก้นของประทัดมักจะทำให้กลมหรือมนเพื่อให้เคลื่อนที่ได้สะดวก และมีปลายชนวนยื่นออกมาจากด้านหนึ่ง คนไทยมักเรียกว่า ผีเสื้อ
- ประทัดจีน เป็นประทัดอีกตัวที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ประทัดจีนมักใช้ในงานเทศกาลตรุษจีนรวมถึงเทศกาลงานมงคลต่าง ๆ ตัวประทัด 1 ลูก มีขนาดประมาณ 5 ซม. หรือใหญ่กว่าตัวประทัดทำจากกระดาษสี (ส่วนมากเป็นสีแดง) ภายในบรรจุดินปืนหรื��ดินประสิวและมีชนวนทำจากกระดาษไผ่ยื่นออกมา จากนั้นจึงนำมามัดเป็นแผงหรือม้วนให้มีประทัดมากกว่า 100 ลูกขึ้นไป การจุดสามารถวางจุดบนพื้นหรือจะแขวนไว้จุดก็ได้ เมื่อจุดแล้วตัวประทัดจะระเบิดต่อ ๆ กันไปเกิดเสียงดังต่อเนื่อง ชาวจีนเชื่อกันว่าจะเป็นการขับไล่ภูตผีปีศาจและนำสิริมงคลมาให้
- ประทัดยักษ์ เป็นประทัดขนาดใหญ่ถือว่าเป็นอาวุธอันตรายมีขนาดใหญ่เกิน 10 ซม. ขึ้นไปอาจห่อกระดาษหรือใส่ในท่อพีวีซี มีลักษณะคล้ายไดนาไมต์แต่อานุภาพน้อยกว่า มีอันตรายต่อใบหูรวมถึงโสตประสาทและอาจอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันมักเป็นอาวุธหรือนำมาใช้ก่อความวุ่นวาย
การใช้งาน
แก้- ใช้ขอความช่วยเหลือ ประทัดสามารถใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือได้โดยที่เสียงของประทัดจะทำให้ผู้คนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ยินและสามารถเข้าช่วยเหลือได้ แต่เนื่องจากการ ใช้สัญญาณควันและอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ผลดีและปลอดภัยกว่า ประทัดจึงไม่ค่อยได้ใช้ในการนี้เท่าไหร่
- จุดเพื่อไล่สัตว์จำพวกนก ประทัดนั้นมีเสียงดังมากจึงเหมาะที่จะใช้ไล่นกที่มาทำลายพืชผลทางการเกษตรหรืออื่น ๆ ประทัดจะใช้ได้ผลดีในกรณีที่นกมาเป็นกลุ่มหรือฝูงใหญ่ ๆ เท่านั้นเพราะนกจะตกใจเสียงประทัดและบินหนีไปพร้อม ๆ กัน
- ใช้ในงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน เพราะมีความเชื่อกันว่าจะทำให้เกิดโชคลาภและขับไล่สิ่งชั่วร้าย
ความอันตรายของประทัดและการใช้ให้ถูกวิธี
แก้ควรแขวนหรือวางในที่ที่เหมาะสมแล้วจุดชนวน เมื่อจุดแล้วควรถอยห่างประมาณ 5 เมตร
อ้างอิง
แก้- Anna Claybourne (2554). The Story of Inventions. ปาเจรา สำนักพิมพ์. ISBN 978-611-7033-09-4.