บุญทรง เตริยาภิรมย์
บุญทรง เตริยาภิรมย์ (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย รวมถึงเป็นคนสนิทของเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตแกนนำกลุ่มวังบัวบาน
บุญทรง เตริยาภิรมย์ | |
---|---|
บุญทรง ใน พ.ศ. 2555 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | กิตติรัตน์ ณ ระนอง |
ถัดไป | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | มั่น พัธโนทัย พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ |
ถัดไป | ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2527–2529) มวลชน (2529–2541) ราษฏร (2541–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) |
คู่สมรส | ปอยใจระพี เตริยาภิรมย์ |
สถานะทางคดี | พักโทษ |
บทลงโทษ | จำคุก 48 ปี ได้รับการลดโทษเหลือจำคุก 10 ปี |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางคลองเปรม[1] |
ประวัติ
แก้บุญทรง เตริยาภิรมย์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 มีชื่อเล่นว่า "เป็กซ์" เกิดที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร[2] เกิดและโตที่ ตำบลป่าตัน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชึยงใหม่ เป็นบุ��รของนายทรวง กับนางสุมาลี เตริยาภิรมย์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต เมื่อปี พ.ศ. 2525 และประกาศนียบัตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ด้านชีวิตครอบครัว บุญทรงสมรสกับ นางปอยใจระพี เตริยาภิรมย์ (ชื่อเดิม ปอยใจ สันติพนารักษ์) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ สฤษฎิ์วงษ์ เตริยาภิรมย์ เดชนัฐวิทย์ เตริยาภิรมย์ และกฤษฎิ์ชนัต เตริยาภิรมย์
การทำงาน
แก้บุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นนักธุรกิจด้านอุตสาหกรรม เคยเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่[3] ในระหว่างปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2543 ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย โดยชนะนางบุศรา โพธิสุข จากพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ จากพรรคความหวังใหม่[4] ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย โดยที่นายบุญทรง เป็นสมาชิกกลุ่มวังบัวบานที่มีความสนิทสนมกับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์[5] อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 4 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[6] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[7] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาถูกปรับออกจากตำแหน่ง[8]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
แก้บุญทรง เตริยาภิรมย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีนโยบายสำคัญคือ โครงการรับจำนำข้าว จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 7[9]
ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาถูกปรับออกจากตำแหน่ง[10]
คดีระบายข้าวจีทูจี
แก้ผลจากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทำให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ชี้มูลความผิดเขา พร้อมกับนายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกรวม 21 ราย เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558 กรณีการทุจริตต่อหน้าที่ในการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ในโครงการรับจำนำข้าว[11]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาคดี หมายเลขดำที่ อม. 25/2558 คดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ให้จำคุกนายบุญทรง 42 ปี[12] ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพักโทษ โดยเขาได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564 เหลือโทษ 16 ปี และได้รับพระราชทานอภัยโทษอีกครั้งในวันพ่อแห่งชาติ พ.ศ. 2564 เหลือโทษจำคุก 10 ปี และจะพ้นโทษในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2571[13] ต่อมา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567 กรมราชทัณฑ์ มีคำสั่งพักโทษ และได้ปล่อยตัวนายบุญทรงออกจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แต่ยังอยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติเป็นเวลา 3 ปี 5 เดือน และต้องติดกำไลอีเอ็ม [14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2549 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2517 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชทัณฑ์ย้าย ‘บุญทรง-ภูมิ’ เข้าคุกคลองเปรม เผยทั้งคู่ป่วยโรคผู้สูงวัย
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ ระลึกชาติ "เจ๊แดง-บุญทรง" คู่กรรม(การเมือง)
- ↑ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่
- ↑ โปรดเกล้าฯครม.ปู พท.ป่วน 'อภิวันท์'ซึมโดนหัก
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ มติปปช.เอกฉันท์ฟันบุญทรงร่วมกับพวกทุจริต
- ↑ ศาลตัดสิน จำคุก บุญทรง 42 ปี สั่งชดใช้ค่าเสียหายคดีข้าวจีทูจี 1.6 หมื่นล้านบาท
- ↑ "บุญทรง เตริยาภิรมย์" ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษ
- ↑ ด่วน! กรมราชทัณฑ์ พักโทษ ปล่อยตัว “บุญทรง เตริยาภิรมย์” หลังถูกจำคุกคดีจำนำข้าว ปี 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า | บุญทรง เตริยาภิรมย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
กิตติรัตน์ ณ ระนอง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม.60) (18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556) |
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล |