ชาญชัย ปทุมารักษ์
ชาญชัย ปทุมารักษ์ (11 เมษายน พ.ศ. 2479 – 6 เมษายน พ.ศ. 2555) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม 9 สมัย
ชาญชัย ปทุมารักษ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 เมษายน พ.ศ. 2479 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
เสียชีวิต | 6 เมษายน พ.ศ. 2555 (75 ปี) |
คู่สมรส | ผจงจิตต์ ปทุมารักษ์ |
ประวัติ
แก้ชาญชัย ปทุมารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของนายบุญ กับนางหมุยเฮียง ปทุมารักษ์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางผจงจิตต์ ปทุมารักษ์ มีบุตร-ธิดา 4 คน
งานการเมือง
แก้ชาญชัยเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนครปฐม ระหว่างปี 2518 ถึง 2526 ก่อนที่จะลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 9 ครั้ง
ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ชาญชัย ปทุมารักษ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 9 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรร���ชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคไทยรักไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้ชาญชัย ปทุมารักษ์ เสียชีวิตด้วยเนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555 สิริอายุรวม 75 ปี [3] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ กก.บริหารพรรค 111 คน เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในวันนี้ ดังนี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอน ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๓ จากเว็บไชต์ thaiscouts