รางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม

รางวัลเพลงสำหรับอัลบั้มเพลงป็อปที่มีคุณภาพ
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)

รางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม (อังกฤษ: Grammy Award for Best Pop Vocal Album) เป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี เป็นพิธีที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1958 และเดิมเรียกว่ารางวัลแกรมโมโฟน[1] เป็นรางวัลสำหรับศิลปินบันทึกเสียงอัลบั้มเพลงป็อปที่มีเสียงร้องคุณภาพ รางวัลในหลายประเภทจัดเป็นประจำทุกปีโดยสถาบันบันทึกเสียงของสหรัฐอเมริกาเพื่อ "ยกย่องความสำเร็จทางศิลปะ ความสามารถทางเทคนิค และความเป็นเลิศโดยรวมในอุตสาหกรรมการบันทึกเสียง โดยไม่คำนึงถึงยอดขายอัลบั้มหรืออันดับชาร์ต"[2]

รางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม
อัลบั้ม Midnights โดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ เป็นอัลบั้มที่ได้รับรางวัลล่าสุด
รางวัลสำหรับอัลบั้มเพลงป็อปที่มีเสียงร้องคุณภาพ
ประเทศสหรัฐ
จัดโดยสถาบันบันทึกเสียง
รางวัลแรก1968
ผู้รับรางวัลเทย์เลอร์ สวิฟต์Midnights (2024)
รางวัลมากที่สุด
เสนอชื่อมากที่สุด
เว็บไซต์grammy.com

เกียรติยศนี้ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี ค.ศ. 1968 ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 10 ในฐานะอัลบั้มร่วมสมัยยอดเยี่ยมของเดอะบีเทิลส์ ในซาร์เจินต์เปปเปอส์โลนลีฮาตส์คลับแบนด์ สาขานี้ถูกยกเลิกจนถึงปี ค.ศ. 1995 ซึ่งมีชื่อใหม่ว่า อัลบั้มป็อปยอดเยี่ยม (Best Pop Album) ในปี ค.ศ. 2001 หมวดนี้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ อัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม (Best Pop Vocal Album) ตามคำอธิบายหมวดหมู่สำหรับรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 52 รางวัลนี้มอบให้กับศิลปินที่แสดง "อัลบั้มที่มีเวลาเล่นอย่างน้อย 51% ของเพลงป็อปที่บันทึกใหม่"[3]

รางวัลจะตกเป็นของศิลปิน โปรดิวเซอร์ และวิศวกร/มิกเซอร์ หากพวกเขาทำงานมากกว่า 50% ของเวลาในการเล่นในอัลบั้ม โปรดิวเซอร์หรือวิศวกร/มิกเซอร์ที่ทำงานน้อยกว่า 50% ของเวลาในการเล่น รวมถึงวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ จะไม่ได้รับรางวัล แต่สามารถยื่นขอใบรับรองผู้ชนะได้[4]

อะเดล, เคลลี คลาร์กสัน และเทย์เลอร์ สวิฟต์ เป็นผู้ชนะรางวัลนี้ถึงสองครั้ง และคลาร์กสันเป็นคนแรกที่ชนะสองครั้ง และคลาร์กสัน, สวิฟต์ และอารีอานา กรานเด ยังเป็นศิลปินที่มีการเสนอชื่อเข้าชิงมากที่สุดจำนวน 5 ครั้ง ทิมเบอร์เลกได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสามครั้งสำหรับอัลบั้มเดี่ยว และอีกสองครั้งในฐานะสมาชิกของเอ็นซิงก์

ผู้รับ

แก้
 
อัลบั้ม Falling into You ของเซลีน ดิออน เป็นผู้ชนะในปี ค.ศ. 1997 ยังได้รับรางวัลอัลบั้มแห่งปีอีกด้วย[5]
 
อัลบั้ม Two Against Nature ของสตีลลีแดนผู้ชนะในปี ค.ศ. 2001 ยังได้รับรางวัลอัลบั้มแห่งปีอีกด้วย[5]
 
อัลบั้ม Come Away with Me อัลบั้มเปิดตัวของนอราห์ โจนส์ได้รับรางวัลนี้และอัลบั้มแห่งปีในปี ค.ศ. 2003[5]
 
อัลบั้ม Genius Loves Company ของเรย์ ชาลส์ได้รับรางวัลนี้และอัลบั้มแห่งปีในปี ค.ศ. 2005[5]
 
จัสติน ทิมเบอร์เลก ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 5 ครั้ง เสมอกับเคลลี คลาร์กสันและอารีอานา กรานเด สำหรับการเสนอชื่อเข้าชิงมากที่สุด อัลบั้ม Justified ของเขา ได้รับรางวัลในปี ค.ศ. 2004.
 
เคลลี คลาร์กสัน ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงมากที่สุดถึง 5 ครั้งด้วยกัน และเป็นศิลปินคนแรกที่ชนะรางวัลนี้สองครั้งใน Breakaway ชนะในปี ค.ศ. 2006; Stronger ชนะในปี ค.ศ. 2013.
 
อะเดล ได้รับรางวัลนี้สองครั้ง: สำหรับ 21 ในปี ค.ศ. 2012 และสำหรับ 25 ในปี ค.ศ. 2017 ทั้งสองอัลบั้มยังได้รับรางวัลอัลบั้มแห่งปี[5]
 
เทย์เลอร์ สวิฟต์ ได้รับรางวัลนี้สองครั้ง: 1989 ในปี 2016 และอัลบั้ม Midnights ในปี 2024[5]
ปี[I] ผู้ชนะ[6] ผลงาน ผู้ได้รับการเสนอชื่อ อ้างอิง
1968 เดอะบีเทิลส์ Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band
  • ดิแอสโซเซียลชัน – Insight Out
  • วิคกี คาร์ – It Must Be Him
  • เดอะไฟฟ์ดีเมนชัน – Up, Up and Away
  • บ็อบบี เจนทรี – Ode to Billie Joe
[7]
1995 บอนนีย์ เรตต์ Longing in Their Hearts
[8]
1996 โจนี มิตเชลล์ Turbulent Indigo [9]
1997 เซลีน ดิออน Falling into You
[10]
1998 เจมส์ เทย์เลอร์ Hourglass [11]
1999 มาดอนนา Ray of Light
[12]
2000 สติง Brand New Day [13]
2001 สตีลลี แดน
  • วอลเตอร์ เบ็คเกอร์ และโดนัลด์ ฟาเกน, โปรดิวเซอร์; ฟิล เบอร์เน็ตต์, โรเจอร์ นิโคลส์, เดฟ รัสเซลล์ และเอลเลียต ไชเนอร์, วิศวกร/มิกเซอร์
Two Against Nature
[14]
2002 ชาเด Lovers Rock [15]
2003 นอราห์ โจนส์
  • อาริฟ มาร์ดิน และเจย์ นิวแลนด์, โปรดิวเซอร์; S. Husky Höskulds และเจย์ นิวแลนด์, วิศวกร/มิกเซอร์
Come Away with Me [16]
2004 จัสติน ทิมเบอร์เลก Justified
[17]
2005 เรย์ ชาลส์ และศิลปินต่าง ๆ
  • จอห์น อาร์. เบิร์ก, โปรดิวเซอร์; อัล ชมิตต์, วิศวกร/มิกเซอร์
Genius Loves Company
[18]
2006 เคลลี คลาร์กสัน
  • ไคลฟ์ เดวิส, โปรดิวเซอร์; เซอร์บัน เกเนีย, วิศวกร/มิกเซอร์
Breakaway
[19]
2007 จอห์น เมเยอร์
  • สตีฟ จอร์แดน, โปรดิวเซอร์; ไมเคิล เอช. เบราเออร์, โจ เฟอร์ลา และชาด ฟรานสโกเวียก, วิศวกร/���ิกเซอร์
Continuum [20]
2008 เอมี ไวน์เฮาส์ Back to Black [21]
2009 ดัฟฟี Rockferry [22]
2010 แบล็กอายด์พีส์
  • ดีแลน เดรสโดว์ และพาเดรียก เคริน, วิศวกร/มิกเซอร์
The E.N.D.
[23]
2011 เลดีกากา
  • เลดีกากา และเรดวัน, โปรดิวเซอร์; โรเบิร์ต ออร์ตัน, เรดวัน และเดฟ รัสเซลล์, วิศวกร/มิกเซอร์
The Fame Monster [24]
2012 อะเดล 21 [25]
2013 เคลลี คลาร์กสัน
  • เซอร์บัน เกเนีย และจอห์น แฮนส์, วิศวกร/มิกเซอร์
Stronger [26]
2014 บรูโน มาส์
  • ฟิลิป ลอว์เรนซ์, อารี เลวีน และบรูโน มาส์, โปรดิวเซอร์; อารี เลวีน และแมนนี มาร์โรคิน, วิศวกร/มิกเซอร์
Unorthodox Jukebox
[26]
2015 แซม สมิธ
  • จิมมี เนปส์, โปรดิวเซอร์; สตีฟ ฟิตซ์มอริส, วิศวกร/มิกเซอร์
In the Lonely Hour [27]
2016 เทย์เลอร์ สวิฟต์ 1989 [28]
2017 อะเดล
  • ทอม เอล์มเฮิร์สต์, วิศวกร/มิกเซอร์
25 [29]
2018 เอ็ด ชีแรน
  • เอ็ด ชีแรน, โปรดิวเซอร์; โจ รูเบล, คริส สกลาฟานี และมาร์ก "สไปก์" สแลนต์, วิศวกร/มิกเซอร์
÷ [30]
2019 อารีอานา กรานเด Sweetener [31]
2020 บิลลี ไอลิช When We All Fall Asleep, Where Do We Go? [32]
2021 ดัว ลีปา Future Nostalgia [33]
2022 โอลิเวีย โรดริโก Sour [34]
2023 แฮร์รี สไตลส์ Harry's House [35]
2024 เทย์เลอร์ สวิฟต์ Midnights [36]
2025 TBA
  • TBA

^[I] แต่ละปีเชื่อมโยงกับบทความเกี่ยวกับรางวัลแกรมมี่ที่จัดขึ้นในปีนั้น

ศิลปินที่ได้รับรางวัลมากที่สุด

แก้
2 รางวัล

ศิลปินที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงมากที่สุด

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Grammy Awards at a Glance". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  2. "Overview". National Academy of Recording Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ March 16, 2011.
  3. "52nd OEP Category Description Guide" (PDF). National Academy of Recording Arts and Sciences. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 27, 2009. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  4. "AWARDS, CERTIFICATES, AND GRAMMY TICKETS" (PDF). Grammy.com. สืบค้นเมื่อ March 21, 2022.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Winners Album Of The Year". Grammy.com. The Recording Academy. สืบค้นเมื่อ December 28, 2017.
  6. "GRAMMY Awards Winners & Nominees for Best Pop Vocal Album". Grammy Awards. Recording Academy. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
  7. "1967 Grammy Awards Finalists". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 80 (7): 10. February 17, 1968. สืบค้นเมื่อ February 19, 2011.
  8. "The 37th Grammy Nominations". Los Angeles Times. January 6, 1995. p. 2. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  9. "List of Grammy nominees". CNN. January 4, 1996. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  10. Kot, Greg (January 8, 1997). "Pumpkins A Smash With 7 Grammy Nominations". Chicago Tribune. Tribune Company. p. 4. คลังข้อ��ูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-26. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  11. "Complete list of Grammy nominations". USA Today. Gannett Company. March 5, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 1999. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  12. Sullivan, James (January 6, 1999). "Women Dominate Grammys / Lauryn Hill leads with 10 nominations". San Francisco Chronicle. Hearst Corporation. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  13. "42nd Annual Grammy Awards nominations". CNN. January 4, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2012. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  14. "43rd Grammy Awards". CNN. February 21, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2008. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  15. "Complete List Of Grammy Nominees". CBS News. January 4, 2002. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  16. "Complete list of Grammy nominees; ceremony set for Feb. 23". San Francisco Chronicle. Hearst Corporation. January 8, 2003. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-21. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  17. "They're All Contenders". The New York Times. December 5, 2003. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  18. "Grammy Award nominees in top categories". USA Today. Gannett Company. February 7, 2005. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  19. "The Complete List of Grammy Nominations". The New York Times. December 8, 2005. p. 1. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  20. "49th Annual Grammy Grammy Nominees". CBS News. December 7, 2006. สื���ค้นเมื่อ March 16, 2011.
  21. "50th annual Grammy Awards nominations". Variety. Reed Business Information. December 6, 2007. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  22. "Grammy Awards: List of Winners". The New York Times. January 31, 2010. สืบค้นเมื่อ March 16, 2011.
  23. "Nominees And Winners". National Academy of Recording Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2010. สืบค้นเมื่อ March 16, 2011.
  24. "Grammy Awards 2011: Winners and nominees for 53rd Grammy Awards". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 11, 2016.
  25. "Grammy Awards 2012: full list of winners". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ March 6, 2017.
  26. 26.0 26.1 "Maroon 5, fun. among early Grammy nominees". Associated Press. December 5, 2012.
  27. "57th Grammy Nominees". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 5, 2014.
  28. "58th Grammy Nominees". Grammys. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2012. สืบค้นเมื่อ December 7, 2015.
  29. "59th Grammy Nominees". Grammys. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2012. สืบค้นเมื่อ December 6, 2016.
  30. "60th Grammy Nominees". Grammy.com. สืบค้นเมื่อ 28 November 2017.
  31. "61st Grammy Nominees". สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  32. "2020 GRAMMY Awards: Complete Winners & Nominations Lists". สืบค้นเมื่อ 7 June 2020.
  33. Shafer, Ellise (March 14, 2021). "Grammys 2021 Winners List". Variety. สืบค้นเมื่อ March 14, 2021.
  34. "Olivia Rodrigo Wins Best Pop Vocal Album for Sour at 2022 Grammys". Pitchfork (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
  35. "2023 GRAMMY Nominations: See The Complete Nominees List". www.grammy.com. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  36. McClellan, Jennifer; Ruggieri, Melissa (November 10, 2023). "SZA leads Grammy nominees, Miley could get 1st win and Taylor Swift is poised to make history". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 10, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้