คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Medicine, Kasetsart University) เป็นคณะวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการจัดการเรียนการสอน วิจัย เพื่อการผลิตแพทย์ และให้บริการทางการแพทย์ แก่ประชาชนในบริบทของเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม (Agro-Medicine and Bio-Innovation) โดยดำเนินการเริ่มแรก ณ วิทยาเขตบางเขน และใช้ทรัพยากรจากทุกภาคส่วน ทุก��ิทยาเขตในการสนับสนุนการดำเนินงาน ปัจจุบันหลักสูตรผ่านการรับรองจากแพทยสภาและอยู่ระหว่างรับนิสิตรุ่นแรก [1]

คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Medicine,
Kasetsart University
ชื่อย่อพศ./MD.
คติพจน์สถาบันการแพทย์ชั้นนำด้านเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม สร้างสรรค์ศาสตร์การแพทย์แห่งแผ่นดินสู่สากล
สถาปนา1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
คณบดีรองศาสตราจารย์ พลเอก นายแพทย์ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ (รักษาการแทน)
ที่อยู่
สำนักงานชั่วคราว ชั้น 6 - 7 อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกษตรกลางบางเขน เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
สี  สีเขียวใบนนทรี
มาสคอต
งูพันคบเพลิง
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โรงพยาบาลสกลนคร
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
เว็บไซต์medicine.ku.ac.th
Facebook
Goo.gl/Maps

ประวัติ

 
หม่อมหลวงชูชาติ กำภู

ปี พ.ศ. 2509 สมัยหม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนคับแคบ ไม่สามารถจะได้ จึงได้ดำริที่จะหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ที่มีดินดีเหมาะต่อการเกษตรและมีโครงการชลประทานผ่านเตรียมไว้ ก่อนราคาที่ดินจะมีราคาสูงขึ้น[2] ซึ่งต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 รัฐบาลในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดตั้งวิทยาเขตกำแพงแสน[2] โดยมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น ได้มีนโยบายที่จะนำอาคารเรียนที่มีอยู่ในวิทยาเขตบางเขนภายหลังที่ได้ย้ายคณะวิชาด้านการเกษตรไปเปิดที่วิทยาเขตกำแพงแสนแล้วนำมาใช้เป็นอาคารเรียนด้านการแพทย์ แต่ได้มีคัดต้านจากประชาคมชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นโยบายนี้จึงได้ยุติไป ทำได้เพียงนำหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จากคณะเกษตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศึกษาเกษตร คณะศึกษาศาสตร์ และบางภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ คือภาควิชาวิศวกรรมอาหาร ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน และภาควิชาวิศวกรรมเกษตรไปดำเนิน ณ วิทยาเขตกำแพงแสน จึงทำให้นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในช่วงนี้ ต้องยุติไป

ปี พ.ศ. 2539 สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทางจังหวัดสุพรรณบุรีได้ทำโครงการนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยภายหลังได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเจ้าของเรื่อง โดยจะเป็นวิทยาเขตด้านการแพทย์ หนึ่งในหลักสูตรที่จะเปิดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตสุพรรณบุรีนั้นคือหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลังจากที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยวางแผนเปิดรับนิสิตตั้งแต่ พ.ศ. 2541 โดยมีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา และสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว และปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ซึ่งต่อมาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้ย้ายไปจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาที่วิทยาเขตกำแพงแสน และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ภายหลังได้ยุติการดำเนินการและจึงไปดำเนินการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ณ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร โดยที่ได้มีการจัดทำหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศสุพรรณบุรีไว้ คือ ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ (คุณวุฒิทางเวิทยาศาสตร์การแพทย์, เทคนิคการแพทย์) และสาขารังสีเทคนิค (คุณวุฒิวิทยาศาสตร์การแพทย์, รังสีเทคนิค) [3] เนื่องจากประสบปัญหาด้านงบประมาณ ไม่ได้รับงานประมาณ สำหรับการเปิดสอนหลักสูตรด้านการแพทย์ ณ วิทยาเขตสุพรรณบุรีจึงไม่สามารถเปิดสอนได้

ปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลในขณะนั้นได้มีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มในโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน โดยมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เพิ่มเติมเพื่อลดการขาดแคลนของแพทย์ในประเทศไทย โดยมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, มหาวิทยาลัยบูรพา และมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมอยู่ด้วย

ปี พ.ศ. 2548 สมัยรองศาสตราจารย์ ด.ร. วิโรจน์ อิ่มพิทักษ์ อธิการบดีในขณะนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) ปี 2536 ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า[4] [5]แต่เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเป็นอุปสรรค์ในการจัดตั้งหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 3/2552 ได้เห็นชอบให้ยุบสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552 และได้มีประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ให้ยุบสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552 [6]

ปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีประกาศโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ตามคำสั่งมหาวิ���ยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร (มก.ฉกส.) ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557 และคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแพทย์ศาสตรบัญฑิต ตามคำสั่ง เรือง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

 ปี พ.ศ. 2563 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 12 /2563 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการทบทวนการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ หรือวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามที่ผู้แทนคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ก.บ.ม.) เสนอ (โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์) มอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ ดำเนินการ) ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่การรับใช้สังคมและประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายขีดความสามารถโดยให้การศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการด้านการสาธารณสุขและการแพทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างยั่งยืนบนฐานความเข้มแข็งทางวิชาการและองค์ความรู้ที่สั่งสมมานานกว่า 80 ปี

 ปี พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ (รองศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์) เป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้หน้าที่ดำเนินการทั้งมิติด้านวิชาการและด้านบริหารแก่มหาวิทยาลัย ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่อธิการบดีมอบหมาย ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และคณะกรรมการดังกล่าวได้เสนอให้มหาวิทยาลัยออกประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2564 เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมี พลเอก นายแพทย์ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลตรีหญิง แพทย์หญิงจันทราภา ศรีสวัสดิ์ และ ศาสตราจารย์ (คลินิก) พลตรี นายแพทย์อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์) และคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ ( รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วีระศักดิ์ ฟุ้งเฟื่อง รองศาสตราจารย์ ดร. อิงอร กิมกง รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ ต.เทียนประเสริฐ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุธารัตน์ โชติกประคัลภ์) คณะสัตวแพทยศาสตร์ (รองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ พัวพลเทพ) คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ (ดร.อนามิกา กฤติยากรรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนัท ศรีเจริญ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล ประเสริฐสินเจริญ) คณะสิ่งแวดล้อม (ดร. ภาคภูมิ ชูมณี) คณะเกษตร ( ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร พ่วงพงษ์) คณะสังคมศาสตร์ (ดร.เอื้ออนุช ถนอมวงษ์) คณะอุตสาหกรรมเกษตร (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์) และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสพรรณบรุี (ดร. ชัญญา อินทร์ประสิทธิ์ และ ดร. อาทิตยา หิตการุญ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีอัตลักษณ์ด้าน "เวชศาสตร์การเกษตร และชีวนวัตกรรม (Agro-medicine and Bio-innovation)" นับเป็นหลักสูตรแรกของประเทศ และในระดับภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ คณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตได้พิจารณาเลือกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี และโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จ.สกลนคร เป็นโรงพยาบาลสมทบหลักเพื่อผลิตแพทย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเชิญบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย (นำโดย นายแพทย์ศิรยุสม์ วรามิตร และแพทย์หญิงชลธิศ นาคา)

ปี พ.ศ. 2565 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565 มีมติเห็นชอบในการจัดตั้ง “โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์” [7] และในคราวการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติอนุมัติหลักสูตร “แพทยศาสตรบัณฑิต” และมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้เห็นชอบในการเสนอสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พิจารณาการจัดตั้ง “คณะแพทยศาสตร์” และโอนสถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปพร้อมกัน [8]

สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 มีมติอนุมัติจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน วิจัย เพื่อการผลิตแพทย์ และให้บริการทางการแพทย์ แก่ประชาชนในบริบทของ เวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม (Agro-Medicine and Bio-Innovation)[9] ดังประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดต้ังส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 [10] ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 305 ง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ปี พ.ศ. 2566 ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5/2566 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ได้มีมติอนุมัติการกำหนดสีประจำคณะแพทยศาสตร์ คือ สีเขียวใบนนทรี สื่อความหมายถึง ความเจริญงอกงามด้านการแพทย์ ดุจดั่งการผลิแตกใบของต้นนนทรีทรงปลูก ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานไว้ให้ ดังประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 179 ง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 [11] และที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567 [12]

หน่วยงาน

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะประกอบไปด้วยหน่วยงาน ภาควิชา ประกอบด้วย 8 ภาควิชา ชั้นปรีคลินิก 17 ภาควิชา ชั้นคลินิก รวมทั้งหมด 25 ภาควิชา และหน่วยงานวิจัย พัฒนา และสนับสนุนอีก 3 ศูนย์ 1 สำนักงาน และ 1 โรงพยาบาล [13] โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หน่วยงานภายในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาควิชาชั้นปรีคลินิก ภาควิชาชั้นคลินิก หน่วยงานวิจัย พัฒนา และสนับสนุน
  • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
  • ภาควิชาจุลชีวิทยา
  • ภาควิชาปรสิตวิทยา
  • ภาควิชาพยาธิวิทยา
  • ภาควิชาพยาธิคลินิก
  • ภาควิชาสรีรวิทยา
  • ภาควิชาชีวเคมีและพันธุวิศวกรรม
  • ภาควิชาเภสัชวิทยา
  • ภาควิชาเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม
  • ภาควิชาการแพทย์แผนไทย
  • ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
  • ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
  • ภาควิชาจักษุวิทยา
  • ภาควิชานิติเวชศาสตร์
  • ภาควิชารังสีวิทยา
  • ภาควิชาวิสัญญีวิทยา
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • ภาควิชาศัลยศาสตร์
  • ภาควิชาออร์โธปิดิคส์
  • ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • ภาควิชาโสต นาสิ ลาริงซ์
  • ภาควิชาอายุรศาสตร์


  • ศูนย์วิจัยทางการแพทย์
    • สำนักงานวิจัยทางการแพทย์
    • งานระบาดวิทยาและสถิติ
    • งานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
    • ศูนย์วิจัยคลินิก
  • ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ
    • งานแพทย์ศาสตร์ศึกษา
    • งานประกันคุณภาพ
    • งานประเมินผล
    • งานวิทยบริการ
    • งานเวชนิทัศน์
    • งานห้องปฏิบัติการ
  • ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ
    • งานโปรแกรมการบริหารจัดการ
    • งานโปรแกรมการเรียนการสอน
    • งานระบบสารสนเทศ
  • สำนักงานเลขานุการ
    • งานบริหารและธุรการ
    • งานทรัพยากรบุคคล
    • งานคลังและพัสดุ
    • งานอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ

หลักสูตร

หลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) [14]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พ.ด.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)

  • หลักสูตรในอนาคต
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
  • หลักสูตรในอนาคต
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
  • หลักสูตรในอนาคต

รายนามประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์/รักษาการแทนคณบดี/คณบดีคณะแพทยศาสตร์

รายนามประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้ง/รักษาการแทนคณบดี/คณบดีคณะแพทยศาสตร์
ลำดับ ตำแหน่งทางวิชาการ รายนาม การศึกษา ชื่อตำแหน่งบริหาร ระยะเวลา หมายเหตุ
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์ Doctor of Philosophy (Biomaterial Sciences), The University of Tokyo, Japan ประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งฯ 17 ก.พ. 2564 - 31 ต.ค. 2565 (รองอธิการบดี)
2. รองศาสตราจารย์ พลเอกนายแพทย์ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ [19] พ.บ. (เกียรตินิยม) ม.มหิดล, Certificate of Interventional Cadiology, University of Alabama at Birmingham, USA รักษาการแทนคณบดี 1 พ.ย. 2565 - ปัจจุบัน
3.
4.

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สถาบันร่วมผลิตแพทย์ และความร่วมมือ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ระหว่างเสนอหลักสูตรให้แพทยสภาอนุมัติหลักสูตร และวางแผนเปิดรับนิสิตในปีการศึกษา พ.ศ. 2567 [20] โดยมีความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.) ในการเป็นสถาบันผลิตแพทย์พี่เลี้ยง [21] และเตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระครบรอบ 80 ปี พร้อมกันนี้ได้เตรียมการผลิตแพทย์ร่วมกับศูนย์การแพทย์ศาสตร์ศึกษา 2 ศูนย์ คือศูนย์การแพทยศาสตร์ศึกษาโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชและโรงพยาบาลสกลนคร[22] [23] [24] [25] และมีรายละเอียดความร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือ ดังต่อไปนี้

โรงพยาบาลหลัก ที่ตั้ง สังกัด
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ ที่ตั้ง สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร, จังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อำเภอเมืองสุพรรณบุรี, จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
สถาบันผลิตแพทย์พี่เลี้ยง ที่ตั้ง สังกัด
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร กรมแพทย์ทหารบก
ความร่วมมือร่วมจัดการเรียนการสอนรายวิชาเฉพาะหมวด ที่ตั้ง สังกัด
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร กรมแพทย์ทหารบก
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข
สถานฝึกปฏิบัติเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน ที่ตั้ง สังกัด
โรงพยาบาลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงสาธารณสุข
สถาบันวิชาการในความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนในประเทศ สังกัด ที่ตั้ง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
สถาบันวิชาการในความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ที่ตั้ง
คณะและบัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยฮกไกโด (Faculty and Graduate School of Health Sciences, Hokkaido University)   ซัปโปโระ   ญี่ปุ่น
สถาบันนวัตกรรมสังคมแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยนาโงยะ (Institute of Innovation for Future Society, Nagoya University)   นาโงยะ   ญี่ปุ่น
Kyoto University   เกียวโต   ญี่ปุ่น
Newcastle University   นิวคาสเซิลอะพอนไทน์, ไทน์และเวียร์   สหราชอาณาจักร
The University of Edinburgh  เอดินบะระ,   สกอตแลนด์   สหราชอาณาจักร
University of Helsinki  เฮลซิงกิ   ฟินแลนด์
University of Pisa  ปิซา   อิตาลี
University of Wisconsin-Madison   แมดิสัน,   รัฐวิสคอนซิน   สหรัฐอเมริกา
James Cook University เมืองทาวน์สวิลล์,   รัฐควีนส์แลนด์   เครือรัฐออสเตรเลีย
University of New South Wales นครซิดนีย์   รัฐนิวเซาท์เวลส์   เครือรัฐออสเตรเลีย
องค์กรคู่ความร่วมมือ ที่ตั้ง ประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี   ประเทศไทย
กรมแพทย์ทหารอากาศ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร   ประเทศไทย
โรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) กรุงเทพมหานคร   ประเทศไทย
Ghent University (Belgium)   ประเทศเบลเยี่ยม
UNIVERSITÉ DE MONTPELLIER   ประเทศฝรั่งเศส
Sheba Medical Center   ประเทศอิสราเอล
PREZODE
The Pennsylvania State University Pennsylvania State   สหรัฐอเมริกา

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการประชุมคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้พิจารณาปรับสถานพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง [26] และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วางแผนการก่อสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขนาด 400 เตียง ณ บริเวณหอพักนิสิตเดิม ซึ่งมึความพร้อมเชื่อมต่อการขนส่งระบบรางกับรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟทางไกล ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มีการจัดกิจกรรมโครงเดิน-วิ่ง 80 ปี เพื่อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566 [27] [28] [29] [30]

โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 อนุมัติจัดตั้ง โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [31] บนพื้นที่ส่วนกลางบางเขน ตามที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์) ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ (รองศาสตราจาร์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์) นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม กล่าวคือ โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะแรกเป็นการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระยะที่สองเป็นการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ (รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ รองศาสตราจารย์ พลเอก นพ. ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ รักษาการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และนางสุชีรา จรรยามั่น ผู้อำนวยการกองบริหารยุทธศาสตร์) เข้านำเสนอข้อมูลต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ และคณะ ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และที่ประชุม ครม. ลงมติอนุมัติโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ระยะแรก พ.ศ. 2567-2572) จำนวน 8,863,934,300 บาท อันประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [32] โดยเป็นงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง และบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในระยะที่สองตั้งแต่ พ.ศ. 2572 เป็นต้นไป จะเป็นในส่วนของคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ และที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ได้มีมติอนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท ของโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามการดำเนินงานวิธีการทางงบประมาณแผ่นดิน

ดูเพิ่ม

13°50′57″N 100°33′49″E / 13.8490444°N 100.56370°E / 13.8490444; 100.56370

อ้างอิง

  1. แพทยสภา, ประกาศแพทยสภา เรื่อง แพทยสภาให้การรับรองคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ 2567 ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2566 สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566
  2. 2.0 2.1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติมหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2013-02-24
  3. การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพ หนังสือ สำนักงาน กพ. ที่นร 1004.3/ว6 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพ หน้า มก.-16 เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566
  4. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  5. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักงาน โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548 เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  6. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ให้ยุบสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552 เก็บถาวร 2022-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  7. โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  8. สรุปนโยบายและมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 10/2565 วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565 เรียกดูวันที่ 2022-12-16
  9. สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  10. ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 เล่มที่ 139 ตอนที่ 305 ง พิเศษ หน้าที่ 35 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 305 ง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565
  11. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ประกาศเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 179 ง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
  12. แพทยสภา, ประกาศแพทยสภา เรื่อง แพทยสภาให้การรับรองคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรใหม่ 2567 ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2566
  13. การจัดตั้งคณะแพทย์และโรงพยาบาลเกษตรศาสตร์การจัดตั้งคณะแพทย์และโรงพยาบาลเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  14. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกาศเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ ๒๒ พ.ค. ๒๕๖๖ เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง หน้า ๔๕ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  15. สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฐานข้อมูลหลักสูตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ลิงก์เสีย] คณะแพทยศาสตร์[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2022-11-11
  16. แพทยสภา, ประกาศแพทยสภา เรื่อง แพทยสภาให้การรับรองคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ 2567 ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2566 สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566
  17. ประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) 15 กันยายน 2566 เรื่องเพิ่มสาขาวิชาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 21 คน ในปีการศึกษา 2567 ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566
  18. คณะ/วิทยาลัย วิทยาเขตบางเขนที่เปิดสอน เรียกดูวันที่ 2022-11-10
  19. คำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 2703/2565, แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ,8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
  20. สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไฟเขียวตั้งคณะแพทย์ รับนิสิตรุ่นแรกปี 67เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  21. ข่าวดี! หลักสูตรใหม่ "แพทยศาสตร์" ม.เกษตรศาสตร์ อยู่ในช่วงรอแพทยสภารับรอง คาดรับรุ่นแรกปี 67 เรียกดูวันที่ 2022-11-08
  22. ไทยรัฐ ออนไลน์, มก.จับมือ สธ.ตั้งศูนย์แพทย์สุพรรณบุรี-สกลนคร, 31 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  23. สยามรัฐ, มก. MOU สธ. พัฒนาศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ณ โรงพยาบาลหลัก ผลิตแพทย์ให้ประเทศไทย, 29 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  24. มติชน, ม.เกษตรฯ จับมือ สธ.พัฒนาศูนย์แพทย์ศึกษาชั้นคลินิก ที่ รพ.หลัก เล็งรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกปี’67 วันที่ 2 มิถุนายน 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  25. เดลินิวส์ ออนไลน์ ครบร��บ 4 ปี ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชเดินหน้าดูแลปชช., 10 สิงหาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  26. การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2565
  27. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ "สุวัจน์" เปิด "เดิน-วิ่ง 80 ปี มก." รวมพลังสร้างคณะแพทย์-โรงพยาบาล ม.เกษตรฯ, กรุงเทพมหานคร, 15 มกราคม 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566
  28. สยามรัฐออนไลน์ พร้อมกันทั่วประเทศ!! เดิน-วิ่ง เฉลิมฉลอง 80 ปี มก. KU RUN เพื่อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, 15 มกราคม 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566
  29. มติชนออนไลน์ ‘สุวัจน์’ เปิด เดิน-วิ่ง 80 ปี มก.รวมพลังสร้างคณะแพทย์-โรงพยาบาลม.เกษตรฯ พร้อมกันทั่วประเทศ, กรุงเทพมหานคร, 15 มกราคม 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566
  30. เดลี่นิวส์๋ออนไลน์ โครงการเดิน-วิ่ง 80’KU RUN สมทบทุนสร้างรพ.-คณะแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566
  31. สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65, สำนักงานสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, 2565. เรียกดูเมื่อวันที่ 2022-12-15
  32. ฐานเศรษฐกิจ-ธุรกิจ ประจำวันที่ 24 มกราคม 2566 ครม.จัดเต็มทิ้งทวนงบกว่า 3 แสนล้านบาท หลังสารพัดหน่วยงานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปี 2567 รวมทั้งขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีโครงการใหญ่วงเงินเกินพันล้านบาทเข้ามาขอความเห็นชอบ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566