ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.9.5
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
ถึงแม้ไคเซอร์วิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงเพิ่มความแข็งแกร่งให้เยอรมนีในฐานะมหาอำนาจด้วยการสร้าง[[กองทัพเรือน้ำลึก]] และส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ แต่พระองค์มักมีแถลงการณ์อย่างไม่รอบคอบ และดำเนินนโยบายต่างประกาศอย่างเอาแน่เอานอนไม่ได้ ทำให้นานาประเทศเริ่มมองพระองค์เป็นศัตรู หลายคนมองว่านโยบายการต่างประเทศของพระองค์ เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิเยอรมัน อย่างในปี 1914 เยอรมนีให้การรับประการว่าจะสนับสนุนทางทหารต่อ[[จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี]]ในช่วง[[วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม|วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม]] ซึ่งผลักให้ยุโรปเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม พระองค์ไม่ใช่ผู้มีความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำในยามสงคราม พระองค์ยกให้กิจการการทหารและการสงครามทั้งหมด อยู่ในการตัดสินใจของ[[คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)|คณะเสนาธิการใหญ่]] การมอบหมายอำนาจอย่างกว้างขวางนี้ส่งผลให้เกิดระบอบ[[เผด็จการทหาร]]โดยพฤตินัยซึ่งครอบงำนโยบายระดับชาติในช่วงที่เหลือของสงคราม แม้ว่าเยอรมนีได้รับชัยชนะเหนือรัสเซียและได้รับดินแดนพอสมควรในยุโรปตะวันออก แต่เยอรมนีก็ถูกบังคับให้สละดินแดนที่ได้มาทั้งหมดหลังความปราชัยย่อยยับใน[[แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)|แนวรบด้านตะวันตก]]ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1918
 
พระองค์สูญเสียแรงสนับสนุนทั้งจากกองทัพและราษฎร นายกรัฐมนตรี[[เจ้าชายมัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน|มัคซีมีลีอาน ฟอน บาเดิน]] โน้มน้าวให้พระองค์สละราชสมบัติ แต่พระองค์บ่ายเบี่ยง จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน 1918 ก็เกิด[[การปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919|การปฏิวัติเยอรมัน]] ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีออกประกาศการสละราชสมบัติโดยไม่รอการลงพระนาม พระองค์จึงเสด็จลี้ภัยสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์
 
== พระราชประวัติ ==